02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: กษมา พลดงนอก

ชื่อเรื่อง/Title: การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดยรูปแบบสถานฟื้นฟูในเวลากลางวัน.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 93.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ รายงานขององค์การอนามัยโลกพบร้อยละ 10.4 ของผู้ที่มารับบริการที่สถานพยาบาลปฐมภูมิ ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ขณะที่การวินิจฉัยและรักษามีน้อยกว่าความเป็นจริงมาก ความชุกของโรคซึมเศร้าในโรงพยาบาลชุมชน จึงมีความสำคัญที่บอกถึงสถานการณ์ในประเทศไทย การดูแลผู้ที่เจ็บป่วยทางจิต นับว่าเป็นภาระอันใหญ่หลวง สำหรับครอบครัวและชุมชน เมื่อต้องกลับมาใช้ชีวิตร่วมกัน เนื่องจากคนในครอบครัว และชุมชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแล อีกทั้งยังมีผลต่อทัศนคติของคนในสังคมให้เป็นไปในทางลบ ดังนั้นการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาจึงเป็นพลังสำคัญในการส่งเสริมและป้องกัน สุขภาพจิตชุมชนด้วยตนเอง การใช้รูปแบบเวทีชาวบ้าน เป็นเทคนิคหนึ่งในการทำงานเพื่อส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน โดยการใช้สื่อวีดีทัศน์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยจิตเวชมีศักยภาพ และการนำสื่อบุคคลที่เป็นผู้มีประสบการณ์ตรงมาร่วมเสวนา ตลอดถึงการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม ทำให้ชุมชนเกิดทัศนคติที่ดี มีแรงจูงใจในการดูแลผู้ป่วยและเกิดกลุ่มดูแลกันเองของคนในชุมชน. วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ เคส-คอนโทรล ศึกษาผู้ที่มารับบริการในสถานบริการ สาธารณสุข ในเขตตรวจราชการที่ 3 ระหว่าง 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2550 กลุ่มที่ศึกษาเป็นผู้ที่ทำร้ายตนเองแต่ไม่เสียชีวิต จำนวน 43 คน (33.6%) และกลุ่มควบคุม เป็นผู้ป่วยทั่วไป จำนวน 85 คน (66.4%) คิดเป็น 128 ราย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ระบาดวิทยาผู้ทำร้ายตนเอง ปี พ.ศ. 2550 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าความเสี่ยงสัมพันธ์ (Odds ratio) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบลอจิสติก. การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยรูปแบบสถานฟื้นฟูในเวลากลางวัน 2) เพื่อศึกษาผลดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนในพื้นที่ดำเนินการ ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม – 1 ตุลาคม 2550. วิธีดำเนินการศึกษา 1) สำรวจผู้มีปัญหาสุขภาพจิต คัดเลือกตำบลที่เข้าร่วมโครงการ 2) ค้นหาปัญหาโดยใช้กระบวนการ AIC และสำรวจความต้องการของชุมชนเพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพในเวลากลางวันที่เหมาะสมกับวิกฤติชีวิตในชุมชน 3) พัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดย 3.1) วางแผนการอบรม แนวทางการดำเนินงาน จัดตารางกิจกรรม 3.2) ประสานงานกับเครือข่ายโดยชี้แจงวัตถุประสงค์ให้แกนนำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อให้ความร่วมมือ 3.3) ประสานงานองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อจัดหาสถานที่ในการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชน 3.4) จัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขโดยการให้ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวช และการดูแลรักษารวมทั้งแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน 3.5) คัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อเป็นผู้ดูแลและดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชน 3.6) ดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชตามตารางกิจกรรม 3.7) ประชุมเพื่อประเมินผลการเข้าร่วมโครงการ. ผลของการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบของสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน คือ สถานฟื้นฟูในเวลากลางวัน โดยมีผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมและอาชีพแบบไปเช้า-เย็นกลับ โดยมี อาสาสมัครสาธารณสุขที่ผ่านการอบรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชนโดยผลัดเปลี่ยนเวรกันมาดูแลวันละ 2 คนละ 2 วัน โดยมีพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นผู้วางระบบและออกแบบกิจกรรม และปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมและฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ สัปดาห์ละ 2 วัน รวมทั้งประสานงานบำบัดรักษากับหน่วยงานหลักคือโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายคือแกนนำในชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน 2.). ผลการดำเนินงาน พบว่าผู้ป่วยจิตเวชเข้าร่วมโครงการ 8 คนประกอบด้วย ผู้ป่วย โรคจิตเภท 7 คน โรคปัญญาอ่อน 1 คนซึ่งมีคะแนนการประเมินทักษะโดยใช้แบบประเมินความสามารถและแบบประเมินทักษะ 6 ด้านของกรมสุขภาพจิตและมีคะแนนก่อนและหลังดำเนินโครงการดังนี้ 1) ผู้ป่วย มีคะแนนทักษะในด้านต่างๆ 6 ด้านเพิ่มขึ้นจำนวน 8 คนโดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทั้ง 8 คน 2) มีระดับความสามารถเพิ่มขึ้นจากระดับ 1 เป็นระดับ 3 จำนวน 1 คน ระดับ 2 เป็นระดับ 4 จำนวน 2 คน ระดับ 4 เป็นระดับ 5 จำนวน 4 คน อีก 1 คน ระดับความสามารถไม่เปลี่ยนแปลงแต่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดิม 2.06 เป็น 2.56.

Keywords: สถานฟื้นฟูในเวลากลางวัน, การฟื้นฟูสรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: โรงพยาบาลภูเวียง จ.ขอนแก่น

Code: 2010000124

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors