02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ณัฏฐญา พัฒนะวาณิชนันท์

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องในการทำร้ายตนเอง เขตตรวจราชการที่ 3.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 92.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ : การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย กรมสุขภาพจิต พ.ศ. 2550. วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องในการทำร้ายตนเอง สภาวการณ์ด้านสุขภาพกาย จิต สังคม และเศรษฐกิจ ตลอดจนความต้องการการช่วยเหลือของผู้ทำร้ายตนเอง ในเขตตรวจราชการที่ 3. ผลการศึกษา : ผู้ทำร้ายตนเองแต่ไม่เสียชีวิต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (65.1% และ 34.9%) อายุระหว่าง 40-49 ปี (27.9%) สถานภาพสมรส คู่ มากกว่าโสด (62.8% และ 27.9%) ประกอบอาชีพรับจ้างหรือใช้แรงงาน และเกษตรกรรม (32.6% และ 27.9%) ได้รับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี (100%) ใช้วิธีการกินยาเกินขนาดมากที่สุด (39.5%) สาเหตุกระตุ้นจาก ปัญหาน้อยใจคนใกล้ชิดที่ดุด่า (48.8%) และปัญหาทะเลาะกับคนใกล้ชิด (30.23%) ลักษณะของเหตุกระตุ้นเนื่องจากมีปัญหาชีวิตสะสมมานาน และมากจนถึงขีดสุด (51.2%) กลุ่มที่ศึกษามีโรคประจำตัว (18.7%) ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และปวดข้อ/เข่า/หลัง เรื้อรัง(33.3%), 25.1%, และ 2.3%) มีภาวะซึมเศร้า (46.5%) พักอาศัยร่วมกับบุคคลที่ติดสุรา (37.2%) และติดยาเสพติด (4.7%) การช่วยเหลือที่ผู้ทำร้ายตนเองต้องการเพิ่มเติมมากที่สุด คือ สุขภาพจิต (34.9%) รองลงมาคือความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด (30.2%) และเศรษฐกิจ (23.3 ปัจจัยเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง ได้แก่ การมีภาวะซึมเศร้ามากกว่า 6 อาการขึ้นไป 14.3 เท่า (95% CI เท่ากับ 0.02 ถึง 0.26) ปัญหาทะเลาะขัดแย้งกับคนใกล้ชิด 7.3 เท่า (95% C.I. เท่ากับ 0.05 ถึง 0.26) อาศัยร่มกับคนดื่มสุรา 7.3 เท่า (95% CI เท่ากับ 0.04 ถึง 0.48) และดื่มสุรา 5.2 เท่า (95% CI เท่ากับ 0.06 ถึง 0.62) ของผู้ไม่มีปัญหาดังกล่าว ปัจจัยปกป้องในการทำร้ายตนเอง คือการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต 9 เท่า (95% CI เท่ากับ 2.54 ถึง 31.79) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05. สรุปผลการศึกษา : ปัจจัยเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง ได้แก่ การมีภาวะซึมเศร้า การทะเลาะขัดแย้งกับคนใกล้ชิด การอาศัยร่วมกับคนดื่มสุรา และ การดื่มสุรา ส่วนปัจจัยปกป้องการทำร้ายตนเอง ได้แก่ การยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต ผู้ที่ทำร้ายตนเองต้องการความช่วยเหลือในเรื่อง การดูแลสุขภาพจิตเป็นลำดับแรก รองลงมา เป็นเรื่องความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด และเศรษฐกิจ. ข้อเสนอแนะ : ควรส่งเสริมให้บุคลากรใช้สัมภาษณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการแก่กลุ่มผู้ทำร้ายตนเอง ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัวและคนใกล้ชิด ตลอดจนยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต.

Keywords: การฆ่าตัวตาย, ปัจจัยเสี่ยง, ปัจจัยปกป้อง, การทำร้ายตนเอง, สุขภาพจิต, ซึมเศร้า, ปัญหาชีวิต, สารเสพติด, สุรา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: - ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Code: 2010000123

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors