02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: สุจินดา ยิ่งรักศรีศักดิ์, และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการทดลองให้ผู้ป่วยจิตเวชเยี่ยมบ้านก่อนจำหน่าย.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2550, 29-31 สิงหาคม 2550, หน้า 326. .

รายละเอียด / Details:

โรงพยาบาลร้อยเอ็ดมีจำนวนผู้ป่วยจิตเวชมารับบริการเป็นลำดับที่ 3 ของผู้ป่วยที่มารับบริการทั้งหมดในปีงบประมาณ 2547 จำนวน 12,625 ราย ปีงบประมาณ 2548 จำนวน 10,618 ราย ปีงบประมาณ 2549 จำนวน 13,878 ราย และมากกว่า 90 % ของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง อย่างน้อย 1 ครั้ง ความรุนแรงของปัญหาการเจ็บป่วยทางจิต ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัวสังคม อาการกำเริบซ้ำบ่อยครั้งทำให้ศักยภาพของผู้ป่วยเสื่อมถอย ญาติมีความเครียด รู้สึกเป็นภาระทั้งในด้านการดูแลผู้ป่วย รวมถึงด้านเศรษฐกิจ จากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่า ผู้ป่วยและญาติไม่สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกันได้ ความสัมพันธ์เป็นลักษณะขัดแย้งศักยภาพของผู้ป่วยไม่สอดคล้องกับความคาดหวังของญาติ ควบคุมอารมณ์การจัดการกับอารมณ์ไม่เหมาะสม ญาติจำต้องดูแลผู้ป่วยซึ่งเดิมการจำหน่ายผู้ป่วยไม่ได้รับการฝึกเผชิญกับสภาพแวดล้อมเดิมที่บ้านก่อนจำหน่ายทำให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมไม่ปกติสุขอัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำมาก ญาติมีแนวโน้มที่จะทอดทิ้งและไม่ดูแลผู้ป่วย ดังนั้นโรงพยาบาลร้อยเอ็ดจึงได้นำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพเรื่องผลการทดลองให้ผู้ป่วยจิตเวชเยี่ยมบ้านก่อนจำหน่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยจิตเวชและญาติได้รับการดูแล สอดคล้องกับความต้องการผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคจิตที่ไม่ใช่สาเหตุจากโรคทางกายที่เข้ารับการรักษา แบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลร้อยเอ็ดระหว่างเดือน ตุลาคม 2547 ถึงเดือน กันยายน 2548 จำนวน 251 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประเมินอาการทางจิต BPRS (Brief psychiatric Rating Scale) กรมสุขภาพจิตโดยทั่วไปมีคะแนนไม่เกิน 16 หากสูงกว่าแสดงว่ามีอาการทางจิตที่ต้องให้การบำบัด กรณีที่ มากเกิน 36 ต้องดูแลแบบผู้ป่วยในสถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ พบว่าอาการทางจิตผู้ป่วยลดลง ค่า BPRS ก่อนจำหน่าย ‹ 36 คิดเป็น 98% มีเพียง 2% ที่มีผู้ป่วยมีค่า BPRS > 36 จากสาเหตุลักษณะสภาพของโรค อัตราการกลับเข้ารักษาซ้ำลดลง โดยพบว่าอัตราการกลับเข้ารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ลดลง 1.88 % และภายใน 3 เดือนลดลงอัตราการกลับเข้ารักษาซ้ำภายใน 3 เดือน ลดลง 0.95 % ผู้ป่วยอยู่ร่วมกับครอบครัวได้รับการดูแลต่อเนื่อง ญาติหรือผู้ดูแล มีความพึงพอใจ 91.3 % อัตราการตรวจตามนัดเพิ่มขึ้น 7% สรุปผลและข้อเสนอแนะ การทดลองให้ผู้ป่วยเยี่ยมบ้านก่อนจำหน่าย ทำให้ผู้ป่วยได้ทดลองใช้ศักยภาพของตนเองหลังจากได้ผ่านการบำบัดรักษา กับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยกระตุ้นหรือปัจจัยส่งเสริมเดิมที่บ้านถ้าผู้ป่วยปรับตัวยังไม่ได้หรือได้ไม่สัมพันธ์กับความต้องการของญาติทีมรักษาพยาบาลก็สามารถทราบปัญหาเฉพาะเจาะจงและให้การบำบัดรักษาได้ตรงตามปัญหาและความต้องการอย่างแท้จริงให้ผู้ป่วยและญาติสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกันได้ปกติสุขและยังเป็นกลไกกระตุ้นให้ครอบครัวสามารถดูแลผู้ป่วยมากขึ้น.

Keywords: ผู้ป่วยจิตเวช, เยี่ยมบ้าน, จำหน่าย, จิตเวช, สุขภาพ, ครอบครัว, สังคม, พฤติกรรม, ความรุนแรง

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: หอผู้ป่วยใน ตึกแม่ปลั่ง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด.

Code: 20080040

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors