02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: เทพทิยา ศันสนียพันธุ์, รุ่งลาวัลย์ รัตนพันธ์

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานสุขภาพจิตและการป้องกันการฆ่าตัวตายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ศูนย์สุขภาพชุมชนโตนด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 8 เรื่อง "เสริมสร้างชีวิต ฝ่าวิกฤตโลกร้อน" วันที่ 7-8 กรกฎาคม 2551 ณ. โรงแรมลิตเติ้ลดั๊ก จังหวัดเชียงใหม่, หน้า 89.

รายละเอียด / Details:

ปัญหาสุขภาพจิตเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในปัจจุบันมีปัญหามากมายที่มีผลต่อสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตาย เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เป็นต้น ดังนั้นทางศูนย์สุขภาพชุมชนโตนดจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพจิตและการดำเนินงานการป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชน โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน มีวัตถุปะสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมสุขภาพจิตและการดำเนินงานการป้องกันการฆ่าตัวตายโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) ใช้พื้นที่ศึกษาที่อยู่ในความดูแลของศูนย์สุขภาพชุมชนโตนด ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 รวมระยะเวลา 6 เดือน ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการเลือกหมู่บ้านเป้าหมาย และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ 1 หมู่บ้าน คือบ้านยองแยง ได้รูปแบบการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ประชุมร่วมกับผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนโตนด ผู้นำชุมชน อบต.และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยองแยง 2. คัดเลือกตัวแทนเจ้าหน้าที่ อสม. และผู้สูงอายุ เข้ารับการอบรมเรื่อง การพัฒนาศักยภาพ “ ฒ ผู้ไม่เฒ่า” สืบสานภูมิปัญญาไทย พัฒนาผู้สูงวัย สุขภาพจิตดี 3. ค้นหาและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครประจำหมู่บ้านที่ผ่านการอบรมการใช้แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิต เมื่อประเมินพบ 6 ข้อขึ้นไป ใช้แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายทุกราย ใช้แบบคัดกรองอื่นๆ เพื่อประเมินระดับความรุนแรง ตามกลุ่มอายุ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล. 4. กำหนดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชน โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน ตามความสามารถ และดำเนินกิจกรรมโดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยชุมชน. 5. เจ้าหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุนและส่งเสริมผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช/ญาติ ให้มีความสามารถในการฟื้นฟูสภาพจากการเจ็บป่วยทางจิต ประสานงานการดูแลระหว่าง ผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน/แหล่งช่วยเหลือต่างๆติดตามเยี่ยมบ้านต่อเนื่อง. 6.ประเมินความพึงพอใจและประเมินผลร่วมกับชุมชน.

Keywords: ฆ่าตัวตาย, สุขภาพจิต, การป้องกัน, การฆ่าตัวตาย, การพัฒนารูปแบบ, ชุมชน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: ศูนย์สุขภาพชุมชนโตนด ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Code: 200800264

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors