02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: สุรพร ลอยหา

ชื่อเรื่อง/Title: อาสาสมัครสาธารณสุขกับการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าในจังหวัดยโสธร.

แหล่งที่มา/Source: บทคัดย่อผลงานวิชาการ ในงานประชุมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข 2551,"ดั่งดวงแก้ว ส่องฟ้าสาธารณสุข" วันที่ 28-30 พ.ค. 2551 ณ. โรงแรมปรินซ์ พาเลซ(มหานาค) กรุงเทพฯ, หน้า 437.

รายละเอียด / Details:

ภายในปี 2536 โรคซึมเศร้าจะก่อให้เกิดความสูญเสียด้านสุขภาพของประชากรโลกเป็นลำดับ 2 รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ในปี 2549 ประมาณการผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในชุมชน จำนวน 2,911,102 คน แต่เข้าถึงบริการสาธารณสุขเพียง 115,847 ราย การค้นหาผู้ป่วย การช่วยเหลือที่รวดเร็วจะป้องกันผลแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ตลอดจนการดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แต่มีบุคลากรในการดำเนินการในเรื่องนี้น้อยมาก ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขให้ดำเนินการการค้นหา การดูแลช่วยเหลือ การติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการมากขึ้น โดยการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือการคัดกรองโรคซึมเศร้า และแนวทางการดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดย อสม. ทุกพื้นที่ในจังหวัดยโสธร การประเมินผลสุดท้ายที่จำนวนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้ารับบริการเพิ่มมากขึ้น. ผลดำเนินการได้เครื่องมือคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2 คำถาม ภาษาอีสาน (2Q) ที่มีความไวสูงถึงร้อยละ 96.5 (95%CI=95.4-97.6%) แต่ความจำเพาะต่ำร้อยละ 44.6% (95%CI=41.5-47.6%) ความจำเพาะสูงขึ้นถึงร้อยละ 85.1 (95%CI=82.9-87.3%) ความน่าจะเป็นโรคซึมเศร้า (Positive Likelihood Ratio) เท่ากับ 4.82 เท่า และได้แนวทางการดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ประกอบด้วย การแจ้งผลและให้สุขภาพจิตศึกษาโรคซึมเศร้าสำหรับผู้ที่ผลการคัดกรองด้วย 2Q การส่งต่อและการติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วย หลังจากที่ อสม.นำไปดำเนินการกับประชาชนในจังหวัดยโสธรทั้งหมด จำนวน 297,588 ราย พบว่า มีแนวโน้มจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ร้อยละ 9.89 (30,216 ราย) ซึ่งหลังจาก อสม.ให้สุขภาพจิตศึกษาโรคซึมเศร้า ผู้ที่มีแนวโน้มจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าไปรับการประเมินโรคซึมเศร้า ร้อยละ 90.14 (27,236 ราย) และพบว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าร้อยละ 7.20 (1,963 ราย ) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลือตามแนวทาง ร้อยละ 47.68 (936 ราย) หลังจากที่ผู้ป่วยอาการดีขึ้น จะมีการติดตามดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยอสม.ร่วมกับพยาบาลในพื้นที่ ทำให้มีการกลับเป็นซ้ำ ร้อยละ 0.85 (8 ราย) และทำให้อัตราการเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 2.07 (ต่อแสนประชากร) โดยสรุป อสม เป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้การดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้ามีประสิทธิผล การค้นหา การให้สุขภาพจิตศึกษา โรคซึมเศร้า การดูแลช่วยเหลือ การติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยอสม. จะทำให้มีการเชื่อมโยงการบริการทุกระดับ มีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องถึงครอบครัวและชุมชน ซึ่งถ้ามีการค้นหาและให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้เร็วขึ้น ก็จะส่งผลให้ภาระโรคและความสูญเสียสุขภาพในคนไทยลดลง.

Keywords: โรคซึมเศร้า, สุขภาพ, การดูแล, การเฝ้าระวัง

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร กระทรวงสาธารณสุข

Code: 200800245

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors