02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: วรารัตน์ ว่องอภิวัฒน์กุล

ชื่อเรื่อง/Title: ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพจิตและจิตเวชภาคใต้.

แหล่งที่มา/Source: วารสารราชานุกูล, ปีที่ 22, ฉบับที่ 3, กันยายน-ธันวาคม 2550, หน้า 157.

รายละเอียด / Details:

การวิจัยเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพจิตและจิตเวชภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาคใต้ที่ยังมีการสืบทอดและนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพจิตและจิตเวช ใช้วิธีการศึกษา 2 รูปแบบ คือ การสำรวจและการศึกษาเชิงคุณภาพ การสำรวจใช้กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยจิตเวชที่มารับการบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในภาคใต้ คือ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์และโรงพยาบาลจิตเวชสงขลานครินทร์ จำนวน 4,701 ราย ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง 4,701 ราย พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยรักษาด้วยหมอพื้นบ้าน ร้อยละ 82.6 เหตุผลที่ไม่ไปรักษา เนื่องจากว่าคิดว่าไม่ได้ผล ส่วนผู้ที่เคยไปรักษา ร้อยละ 17.3 เพราะอยากลอง ผู้ที่แนะนำให้ไปรักษาเป็น บุคคลในครอบครัว ประเภทของพื้นบ้านที่เคยไปรักษามากที่สุดคือ หมอสมุนไพร ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ 2 กรณี กรณีแรก การรักษาสมุนไพร พบว่า ผู้รับการรักษาเป็นพระภิกษุ ที่ได้รับการถ่ายทอดวิธีการรักษาจากบรรพบุรุษ รักษาโดยเสกคาถาร่วมกับการต้มยาสมุนไพร วิธีการรักษา โดนการดื่ม อบ และแช่สมุนไพร แต่ละวิธีมีสูตรเฉพาะตัว เช่น การเรียนธรรม ปลูกสมุนไพร กรณีที่สอง พิธีกรรมโนราโรงครู พบว่า ประชาขนในท้องถิ่นยังมีความเชื่อ เรื่องผีบรรพบุรุษสามารถช่วยเหลือ ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บให้หายได้ เมื่อหายแล้วต้องรับโนราลงครูมาแก้บนตามคำสัญญา และพบว่า พิธีกรรมการตัดเหมรยในโนราโรงครู เปรียบเสมือนการแก้ปัญหาคาใจที่เป็นพันธสัญญาที่ให้ไว้กับผีบรรพบุรุษ สามารถลดความกังวลทางจิตใจได้ เป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมและสืบทอดตามความเชื่อความศรัทธามาจนถึงทุกวันนี้

Keywords: ภูมิปัญญาท้องถิ่น, หมอพื้นบ้าน, สุขภาพจิตและจิตเวช

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: นักสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

Code: 200800199

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download:

 

Preset Colors