02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: พรทิพย์ โพธิครูประเสริฐ, อาภรณ์ สุวรรณเจษฎาเลิศ และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการสำรวจภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่อง สุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 94.

รายละเอียด / Details:

ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ นับวันก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และอุบัติการณ์ของโรคนี้ยังสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มมากขึ้นด้วยการดำเนินโรคมีลักษณะเรื้อรังและเป็นมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป ทั้งนี้โรคสมองเสื่อมนับว่าเป็นภาวะที่มีลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมาก ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และการดำเนินชีวิตในสังคม และส่งผลต่อครอบครัวและญาติ คนใกล้ชิด ผู้ดูแล ดังนั้นการสำรวจภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในการส่งเสริมป้องกันมิให้เกิดภาวะสมองเสื่อมลดอัตราการเกิดโรคลง และเมื่อพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะต้น อาการไม่รุนแรงผู้สูงอายุได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที วัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิธีการดำเนินงาน 1. ประสานงานกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอในพื้นที่, มูลนิธิมุทิตาจิตธรรมสถาน, บริษัททวิภาวีการแพทย์และสุขภาพ และโรงพยาบาลค่ายวิภาวดีรังสิต เพื่อชี้แจงในการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่ 2. ให้ความรู้ความเข้าใจภาวะสมองเสื่อมและการส่งเสริมป้องกันภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ 3. ประเมินตามแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น (ฉบับภาษาไทย) MMSE-T ซึ่งพัฒนาโดยพัฒนาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุร่วมกับผ็เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ผลการปฏิบัติงาน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 404 คน ส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 75.99 อายุเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 69.87 ปี สถานภาพสมรสคู่ คิดเป็นร้อยละ 53.96 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 78.96 ในปัจจุบันมีงานทำ คิดเป็นร้อยละ 50.50 ไม่มีหนี้สินคิดเป็นร้อยละ 71.04 ไม่ใช้สารเสพติดประเภทสุราคิดเป็นร้อยละ 91.83 และไม่ใช้สารเสพติดปรเภทบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 88.86 พบภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่ไม่เรียนหนังสือคิดเป็นร้อยละ 1.73 ผู้สูงอายุเรียนระดับประถมศึกษาพบภาวะสมองเสื่อมคิดเป็นร้อยละ 8.42และผู้สูงอายุเรียนระดับสูงกว่าประถมศึกษาพบภาวะสมองเสื่อมคิดเป็นร้อยละ 0.99 ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการพัฒนาเครือข่ายการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในด้านการส่งเสริมป้องกันในชุมชนอย่างต่อเนื่อง 2. มีเครือข่ายการทำงานในพื้นที่ ระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กร NGO ต่างๆ เพื่อให้บริการเชิงรุกแก่ผู้สูงอายุ ในพื้นที่เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างรวดเร็วและสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองด้านสวัสดิการสังคมที่พึงได้รับ

Keywords: ภาวะสมองเสื่อม, โรคสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ, การดำเนินชีวิต, ภาวะสุขภาพจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

Code: 200700098

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download:

 

Preset Colors