02 149 5555 ถึง 60

 

ผู้วิจัย/Authors: ลวัณรัตน์ วิริยะประสาท

ชื่อเรื่อง/Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการ ภาระการดูแล กับความผาสุกโดยทั่วไปของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก สถาบันราชานุกูล

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6, เรื่อง สุขภาพจิต : ชีวิตชาวเมือง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2550 ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร หน้า 91.

รายละเอียด / Details:

ผู้ดูแลเด็กสมองพิการซึ่งเป็นภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังมีความผิดปกติการเคลื่อนไหวท่าทางจากพยาธิสภาพแบบคงที่ขณะสมองกำลังเจริญเติบโต ต้องใช้ทั้งเวลาและความยุ่งยากในการดูแล ทำให้รับรู้เป็นภาระการดูแลเกิดความเครียดหรือความผาสุกโดยทั่วไปลดลง อันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพพฤติกรรมดูแลที่ลดลง การวจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยบางประการ ได้แก่ สถานภาพสมรส ระยะเวลาการศึกษา รายได้ครอบครัว ความพอเพียงของการใช้จ่าย จำนวนสมาชิกครอบครัว จำนวนผู้ช่วยดูแลเด็ก ระยะเวลาดูแล ภาวะมีโรคประจำตัวของเด็ก ระดับรุนแรงอาการชัก ความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และภาระการดูแล ที่มีความสัมพันธ์และมีอำนาจในการทำนายความผาสุกโดยทั่วไปของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กสมองพิการที่รับบริการแผนกผู้ป่วยนอก สถาบันราชานุกูล ปี พ.ศ. 2546-กุมภาพันธ์ 2549 210 ราย ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ ช่วงวันที่ 24 มีนาคม - 7 กรกฎาคม 2549 ได้รับแบบสอบถามตอบกลับคืน 156 ราย (ร้อยละ 74.3) เครื่องมือเป็นแบบวัดภาระการดูแล (Oberst, 1991) และแบบวัดความผาสุกโดยทั่วไป (Dupuy, 1997) วิเคราะห์ข้อมูลใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการถดถอยพหุคูณขั้นตอน พบว่า (1) ผู้ดูแลเด็กรับรู้ภาระการดูแลระดับปานกลาง กิจกรรมการดูแลที่เป็นภาระมาก 5 อันดับแรก คือ การสรรหาเงินค่าใช้จ่าย การทำงานเพิ่มรายได้ การดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพ ดูแลกิจวัตรประจำวัน และการร่วมเดินทางไปกับเด็ก (2) ผู้ดูแลรับรู้ความผาสุกโดยทั่วไประดับทุกข์โศกรุนแรงมากร้อยละ 46.2 มีความผาสุก และทุกข์โศกปานกลาง ร้อยละ 27.6 และ 26.3 (3) จำนวนสมาชิกครอบครัว การสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างเรียบร้อย มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการรับรู้ภาระการดูแลเด็กอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนภาวะมีโรคประจำตัวของเด็ก อาการนานๆ ชักครั้ง ชักเกือบทุกวัน/ทุกวัน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาระการดูแลเด็กอย่างมีนัยสำคัญ (4) สถานภาพสมรสอยู่ร่วมกัน/แต่งงานใหม่ ระยะเวลาการศึกษา รายได้ครอบครัว รายได้พอใช้และมีเหลือเก็บ จำนวนสมาชิกครอบครัว และจำนวนผู้ช่วยดูแลเด็ก และสถานภาพหย่า/แยกกันอยู่/หม้าย สามารถทำนายความผาสุกโดยทั่วไปของผู้ดูแลเด็กได้ร้อยละ 31 อย่างมีนัยสำคัญ ข้อเสนอแนะ ควรให้บริการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลกลุ่มเสี่ยงที่รับรู้ความผาสุกโดยทั่สไปน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ (ได้แก่ ผู้ดูแลที่รับรู้ภาระการดูแลมาก หย่า/แยกกันอยู่/หม้าย การศึกษาต่ำ จำนวนผู้ช่วยดูแลเด็กน้อย) และญาติ ในด้านความรู้และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของเด็ก แหล่งบริการในชุมชน การฟื้นฟูสมรรถภาพ การฝึกปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การดูแลรักษาภาวะสุขภาพ โรคประจำตัว อาการชัก โดยพัฒนาความรู้เทคโนโลยี (เช่น แผ่นพับ คู่มือ) ผ่านสื่อสาธารณะ และให้บริการเชิงรุกประสานเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้ผู้ดูแลและญาติร่วมแบ่งเบาภาระการดูแลเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้รับรู้ภาระการดูแลลดลง และมีความผาสุกโดยทั่วไปมากขึ้น

Keywords: เครียด, ความสุข, สุขภาพจิต, สถาบันราชานุกูล, เด็กสมองพิการ, ความสัมพันธ์, ภาระการดูแล, ความเครียด, พฤติกรรมการดูแล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: สถาบันราชานุกูล

Code: 200700095

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6

Download:

 

Preset Colors