02 149 5555 ถึง 60

 

สองเซลล์ สามกลไก สี่หลักการ ต้านโควิด (ด้วยตนเอง) (ตอนที่ 3)

สองเซลล์ สามกลไก สี่หลักการ ต้านโควิด (ด้วยตนเอง) (ตอนที่ 3)

ก้าวทันสุขภาพ เรื่องโดย... นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์

ประเมิน “กายสุข” ด้วยตนเอง ได้แก่ น.ส. น.ค.ร.อยู่ในเกณฑ์

3.1 น. คือ นอนหลับ-ขับถ่ายดี และ/หรือ น้ำตาลในเลือด (สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน)

การนอนหลับเพียงพอทั้งปริมาณชั่วโมงการนอนและคุณภาพของการนอนสัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายโรค ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยให้เซลล์เยื่อบุหลอดเลือดทำงานผิดปกติ (รายละเอียดอ่านได้ใน นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับ 507 ก.ค.2564 เรื่องเด่น น.นอนหลับอย่างไร พึ่งตนพ้นภัยโรคร้าย)

ส่วนการขับถ่าย (อุจจาระ ปัสสาวะ) ดี คนที่อุจจาระปกติ 1.2 ครั้งต่อวันเป็นประจำ ปัสสาวะปกติ ไม่ต้องตื่นกลางดึกมาปัสสาวะมกกว่า 2 ครั้งต่อคืน สัมพันธ์กับการมีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังน้อยกว่า คนที่ท้องผูกหรือปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะกลางคืนบ่อยๆ

ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรคุมน้ำตาลสะสมในเลือด HbA1c ไม่เกินร้อยละ 7 และน้ำตาลในเลือดหลังอด

อาหาร-เครื่องดื่มมากกว่า 8 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 100 มก./ดล.

3.2 ส. คือ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติดให้โทษ (รายละเอียดอ่านได้ใน นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับ 508 ส.ค.2564 ก้าวทันสุขภาพ เรื่อง อ.อดเหล้า-เลิกบุหรี่อย่างไร พึ่งตนพ้นภัยโรคร้าย)

3.3 น. น้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) ไม่ควรเกินส่วนสูง (เป็นเมตร) ยกกำลังสอง คูณ 23 (ดัชนีมวลกายไม่เกิน 23 กก./ตรม. ถ้าเกินกว่านี้ถือว่า “น้ำหนักเกิน”)

3.4 ค. ความดันเลือด (หน่วยเป็น มม.ปรอท) ตัวบนไม่ควรเกิน 120 ตัวล่างไม่ควรเกิน 80

3.5 ร. รอบเอว (หน่วยเป็นเซนติเมตร) ไม่ควรเกินส่วนสูง (หน่วยเป็นเซนติเมตร) หารสอง

ประเมิน “ใจสวย” ด้วยตนเอง ได้แก่ ประเมิน ส.ว.ย

4.1 ส. หมายถึง สติ อานาปานสติ (รู้ว่ามีลมหายใจเข้า-ออก) กายคตาสติ (รู้ว่าร่างกายเป็นอย่างไร) เวลาไม่สบายใจ หรือเครียด ก็รู้ได้ว่าเป็นความไม่สบายใจแบบคิดฟุ้งซ่าน หรือเซ็ง ซึมเศร้า เพื่อจะได้เลือก

วิธีรับมือความเครียด ความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นได้ถูกต้อง

4.2 ว. หมายถึง วางเฉย ถ้าสติรู้ว่า ความเครียด ความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นเป็นแบบคิดฟุ้งซ่าน ก็ควรน้อมใจมาทางสงบกาย สงบใจ เจริญสมาธิ (ใจที่ตั้งมั่น ไม่หลุดไปกับความคิด) และวางเฉย เพ่งเฉยอยู่ได้ ไม่ยินดียินร้ายกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย และอารมณ์ทางใจ ที่เข้ามา ความคิดฟุ้งซ่านก็จะสงบได้

4.3 ย. หมายถึง ยินดี ปีติยินดี ถ้าสติรู้ว่าความเครียด ความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นเป็นแบบเซ็ง ซึมเศร้า ก็ควรน้อมใจอ่าน ศึกษา คำสอน องค์ความรู้ของผู้ที่เรามีความเชื่อมั่น เลื่อมใส ศรัทธา ทำบ่อยๆ จนเกิดความปีติยินดีในใจ ความอิ่มเอิบใจ ความรู้สึกเซ็ง ซึมเศร้า ก็จะเลือนหายไป (รายละเอียดอ่านได้ใน นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับ 498 ต.ค.2563 เรื่อง อ.อานาฯ เมตตา สมาธิ อย่างไร ต้านภัย เอ็นซีดี พีเอ็ม 2.5 ไวรัสโคโรนา)

วิธีการประเมินโอกาสเสี่ยงในการต้องนอนโรงพยาบาลจากโรคโควิด-19 ด้วยตนเอง

ความเสี่ยงในการนอน รพ. จากโควิด-19 ชื่อ-นามสกุล..................................

วันที่.................อายุ........ปี เพศ...........ส่วนสูง..........ซม. (.......ม.) น้ำหนัก...........กก.

นอน รพ.ด้วยโควิด-19 เสี่ยงมาก (2) เสี่ยงปานกลาง (1) เสี่ยงน้อย (0)

น.น้ำหนัก (กก) หรือ 🗆≥ส่วนสูง(ม.)2x25 🗆ส่วนสูง(ม.)2x23- 🗆ส่วนสูง(ม.)2x18.5-

หรือ ส่วนสูง(ม.)2x25 ส่วนสูง(ม.)2x22.9*

<ส่วนสูง (ม.)2x18.5

ดัชนีมวลกาย(กก.ตร.ม) 🗆≥30 🗆25- <30 🗆18.5- <25

อ.ออกกำลังกาย 🗆กิจกรรมทางกาย 🗆กิจกรรมทางกาย 🗆กิจกรรมทางกาย

กิจกรรมทางกาย ปานกลาง <150 หรือ ปานกลาง <150 ปานกลาง ≥150

(นาที/สัปดาห์) หนัก < 75 และนั่ง หรือหนัก <75 หรือหนัก ≥75

นอนมาก

ส.สูบบุหรี่ 🗆ยังสูบอยู่ 🗆สูบบุหรี่ <1 ปี 🗆ไม่สูบหรือ

หยุดสูบ≥1 ปี

อ.แอลกอฮอล์ 🗆ดื่มฯเกินมาตรฐาน* 🗆ไม่ดื่มเลย 🗆ดื่มฯไม่เกิน

มาตรฐาน

รวมคะแนน =.........................................

คะแนนรวม (0-8) : 0-1 (1-1.4 เท่า, เสี่ยงน้อย), 2-4 (2.4-2.7 เท่า, เสี่ยงปานกลาง), 5-8 (3.7 เท่า, เสี่ยงมาก)

*มาตรฐานการดื่มแอลกอฮอล์ คือ 2 แก้วในผู้ชาย 1 แก้วในผู้หญิง (1 แก้ว หมายถึง เบียร์ 1 ขวดเล็ก หรือไวน์ 1 แก้ว หรือวิสกี้ 1 เป๊ก)

สร้างเสริมภูมิคุ้มกันตามแนวทาง สองเซลล์ สามกลไก สี่หลักการ ด้วยตนเองได้อย่างไร

โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ ที่ยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์ที่ใหญ่พอนานพอที่จะสรุปได้ว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองที่ใช้ในการดุแลโรคติดต่อไม่เรื้อรัง จะใช้ในการต้านภัยโรคโควิด-19 ได้หรือไม่?

อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว อย่างน้อยก็ช่วยทำให้เซลล์เยื่อบุหลอดเลือดมีภูมิคุ้มกันเชื้อโควิด-19 ทำให้กลไกความผิดปกติของเซลล์ดังกล่าวไม่เกิดขึ้น และทำให้เกิดหลักการสมดุลและเลือดลมทำงานได้ดี

สำหรับผู้ที่เชื้อในองค์ความรู้ตะวันตกและภูมิปัญญาไทย ก็ให้ดูแลตนเองตามแนวทาง 7 อ.พอเพียง

ภูมิคุ้มกันที่ดี มีเหตุมีผล กล่าวคือ

อ. อาหาร (รายละเอียดใน นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับ 495 ก.ค.2563 เรื่อง อ.อิ่มและอดอย่างไรฯ)

อ. อิริยาบถ ออกแรง ออกกำลังกาย (รายละเอียดใน นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับ 496 ส.ค.2563 เรื่อง อ.อิริยาบถ อย่างไรฯ)

อ. ออกกำลังกาย (รายละเอียดใน นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับ 498 ต.ค.2563 เรื่อง อ.อานาฯ เมตตา สมาธิ อย่างไรฯ)

อ. อากาศ (รายละเอียดใน นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับ 499-500 พ.ย.-ธ.ค.2563 เรื่อง อ.อากาศอย่างไรฯ)

อ. อนามัยส่วนบุคคล สังคม สิ่งแวดล้อม หรืออนามัย 3 ส. (รายละเอียดใน นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับ 501-202 ม.ค.-ก.พ.2564 เรื่อง อ.อนามัย 3 ส.อย่างไรฯ)

อ. โอสถ (รายละเอียดใน นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับ 503-506 มี.ค.-มิ.ย.2564 เรื่อง อ.โอสถ อย่างไรฯ)

อ. อดเหล้า-เลิกบุหรี่ (รายละเอียดใน นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับ 508-510 ส.ค.-ต.ค.2564 เรื่อง อ.อดเหล้า-เลิกบุหรี่ อย่างไรฯ)

หมอชาวบ้าน ปีที่ 43 ฉบับที่ 513 เดือนมกราคม 2565

(อ่านต่อตอนหน้า☺)

8 March 2565

By STY/Library

Views, 430

 

Preset Colors