02 149 5555 ถึง 60

 

โควิด – ผลิตใหม่

โควิด – ผลิตใหม่

โควิด- ผลิตใหม่ ในที่นี้ หมายถึง เชื้อโควิด -19 (SAR-CoV -2) ได้กลายพันธ์ตัวเองไปเรื่อยๆ และสามารถควบรวมกับเชื้อไวรัสโควิด – 19 สายพันธ์ต่างกันหรือกับเชื้อไวรัสอื่น เช่น ไวรัสไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจก่ออันตรายได้กว้างขวางมากขึ้น

หลังจากวิเคราะห์สิ่งคัดหลังจากผู้ป่วยเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 อยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ประเทศแอฟริกาใต้จึงแน่ใจว่าตนได้พบเชื้อโควิด -19 สายพันธ์ใหม่(B.1.1.529)ซึ่งกลายพันธุ์ ในตัวมันเองถึง 50 ตำแหน่ง และรายงานต่อองค์-การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

องค์การอนามัยโลก ได้ประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญอย่างรวดเร็ว และประกาศให้สายพันธุ์ใหม่นี้เป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตก (variant of concern) ตัวที่ 5 และให้ชื่อว่า โอมิครอน (Omicron) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ในวันเดียวกันนั้นเอง มี คริสต์มาสปาร์ตี้ ที่ภัตตาคารแห่งหนึ่งในประเทศนอร์เวย์ มีผู้ร่วมงาน 111 คน ปรากฏว่าติดเชื้อโอมิครอนไป 80 คนและคนอื่นๆ ที่เข้าไปดื่มกินในภัตตาคารเดียวกันแต่ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับปาร์ตี้ดังกล่าวเลย ก็ติดเชื้อโอมิครอนไปอีกกว่า 60 คน

แสดงว่า เชื้อโอมิครอนแพร่ระบาดได้รวดเร็วมาก และน่าจะแพร่เชื้อได้ทางอากาศ (airborne) นอกจากผ่านทางฝอยละออง (droplets) แล้ว จึงเป็น ซุปเปอร์ สเปรดเดอร์ (super - spreader)ที่ร้ายกว่าสายพันธุ์เดลต้ามาก

นอกจากนั้น ยัวทำให้คิดว่า เชื้อโอมิครอนคงไม่ได้มีจุดกำเนิดที่ทวีปแอฟริกาส่วนใต้เท่านั้น แต่น่าจะมีจุดกำเนิดที่ทวีปยุโรปตะวันตกและที่อื่นด้วย

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยชุส ถึงกับยืนยันอย่างเป็นทางการว่า

โอมิครอนน่าจะแพร่ระบาดออกไปสู่ทุกประเทศทั่วโลกแล้ว แม้ว่าในหลายประเทศจะยังไม่มีรายงานก็ตาม เพราะบางประเทศอาจยังไม่มีความ สามารถในการวิเคราะห์สายพันธุ์นี้ (ความเห็นของผู้เขียน)

ศูนย์เพื่อการป้องกันและควบคุมโรค (Center for Disease Control and Prevention, CDC) ของสหรัฐอเมริกา สรุปคล้ายคลึงกับขององค์การอนามัยโลกว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนสามารถเพิ่มขึ้นเดลต้าที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าได้ทุก 2 สัปดาห์

CDC ประเมินว่า มกราคม พ.ศ. 2565 จะ เป็นช่วงระบาดสูงสุดของโอมิครอนในสหรัฐอเมริกา

นอกจากโอมิครอนสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วแล้ว มันยังสามรถหลีเลี่ยงภูมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์ที่เคยติดเชื้อโควิด – 19 หรือฉีดวัคฉีดต้านโควิด – 19 ครบ 2 เข็มแล้วด้วย ทำให้ติดเชื้อและเจ็บป่วยได้อีก

จึงมีการรณรงค์ให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 และเข็มที่ 4 เพื่อภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะในผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง แต่ก็ยังไม่แน่ว่าจะสามารถป้องกันการติดโอมิครอนได้มากน้อยเพียงใด แต่น่าจะลดความรุนแรงของการป่วยลงได้แม้จะติดเชื้อ ทำให้ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเสียเสียวิตได้ และน่าจะลดการแพร่ระบาดลงด้วย

การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ของโอมิครอนอาจทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อนพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโอมิครอนอาจทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อนพร้อมกัน เช่น ติดเชื้อโอมิครอนพร้อมกับเชื้อเดลต้าซึ่งอาจทำให้เกิด กระบวนการควบรวมตัวกันของไวรัสแทบทุกชนิด ไม่จำกัดเฉพาะไวรัสในตระกูลโคโรนาเท่านั้น

อนึ่งในฤดูหนาว ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่มักจะระบาด เชื้อโอมิครอนอาจควบรวมกับเชื้อไข้หวัดใหญ่และอาจควบรวมกับเชื้อเดลต้าด้วยก็ได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น

แม้เชื้อโอมิครอนจะแพร่ระบาดได้รวดเร็วและกว้างขวาง แต่ไม่ทำให้มีอาการหรือมีอาการน้อยมากในสัดส่วนที่สูงกว่าเชื้อเดลต้า รวมทั้งทำให้ป่วยหนักและเสียชีวิตกว่าเชื้อเดลต้ามาก นอกมันไปควบรวมกับเชื้อไวรัสอื่นจนเกิดความรุนแรงมากขึ้น

ดังนั้น อยู่ห่าง – ล้างมือ – แมสก์ใส่ – ไม่แออัด – ผลัดกันทำงาน – เบิกบานหดหาย ยังเป็นมาตรการที่ สำคัญในการป้องกันตนเอง คนที่ตนรัก และสังคม จาก โควิด – ผลิตใหม่ ได้

ถ้าคนทั้งคนช่วยกัน ในไม่ช้าโอมิครอนและผลิตผลใหม่ๆของเชื้อโควิด – 19 จะลดความรุนแรงลงเรื่อยๆจนกลายเป็นโรคประจำถิ่น เช่นไข้หวัดใหญ่ได้.

หมอชาวบ้าน ปีที่ 43 ฉบับที่ 514 กุมภาพันธ์ 2565

17 February 2565

By STY/Library

Views, 1344

 

Preset Colors