02 149 5555 ถึง 60

 

เตรียมรับมือโควิดสายพันธุ์ โอมิครอน

GET READY FOR OMICRON เตรียมรับมือโควิดสายพันธุ์ โอมิครอน

เรื่องโดย ศิริกร โพธิจักร

สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ยังเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญที่เราต้องจับตามองต่อไป แม้ขณะนี้การระบาดของสายพันธ์เดลต้าลดลง แต่สายพันธ์ล่าสุด โอมิครอน กำลังระบาดหนักในหลายไประเทศ

เพื่อให้ผู้อ่านพร้อมรับมือสายพันธ์ใหม่นี้ ชีวจิตจึงเก็บความจากสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ นายแพทย์มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในรายการ Hot Topic ทางแฟนเพจนิตยสาร ชีวจิตมาฝากค่ะ

TAKE IT SERIOUSLY ทุกประเทศปรับแผนรับมืออย่างจริงจัง

หลังการประกาศอย่างเป็นทางการขององค์กรอนามัยโลกว่าพบการกลายพันธุ์ ของเชื้อโควิดสายพันธุ์ B.1.1.529 หรือสายพันธุ์โอมิครอน ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ผ่านไปเพียง 1 เดือน มีรายงานการพบผู้ติดเชื้อสายพันธ์นี้ใน 67 ประเทศทั่งโลก

นายมานพอธิบายว่า สาเหตุที่ทุกประเทศเอาจริงเอาจังกับการรับมือโควิดสายพันธ์โอมิครอนเพราะมีอัตราการระบาดสูง สามารถเข้ามาแทนที่การระบาดของสายพันธุ์เดลต้าได้ในเวลาไม่ถึง 1 เดือน โดยมีการกลายพันธุ์ของตำแหน่งโปรตีนหนามเป็นปัจจัยสำคัญ

นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบว่าสายพันธุ์โอมิครอนมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในสายพันธุ์อื่นๆ โดยเฉพาะที่โปรตีนหนาม (Spike Protein) เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ตั้งเดิมคือสายพันธุ์อูฮั่นสายพันธุ์อัลฟาเกิดการกลายพันธุ์ไป 10 ตำแหน่ง สายพันธุ์เบต้า 11 ตำแหน่ง สายพันธุ์ เดลต้า 9 ตำแหน่ง สายพันธุ์แกมมา 12 ตำแหน่ง

ขณะที่สายพันธุ์โอมิครอนกลายพันธุ์ไปถึง 36 ตำแหน่ง จึงสามารถหลับเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีนโควิดพูดง่ายๆว่าเป็นเชื้อที่ดื้อมาก

การกลายพันธุ์ของไวรัสเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่สาเหตุที่สายพันธุ์นี้เกิดการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งสูงสุดเท่าที่เคยพบมา อาจเป็นเพราะในแอฟริกาซึ่งเป็นที่การระบาดอยู่ในพื้นที่ห่างไกลกว่าจะมีการตรวจ Targeted Sequencing ซึ่งตรวจการกลายพันธุ์ในตำแหน่งต่างๆก็ต้องอาศัยเล็บที่มีความพร้อมจึงทำให้เราพบสายพันธุ์นี้ได้ในสุด

OMICRON VS DELTA พิจารณาเทียบกับสายพันธุ์เดลต้า

เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่าเราควรต้องเอาจริงเอาจังกับการรับมือการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนและต้องดำเนินการอย่างรัดกุม นายแพทย์มานพจึงออธิบายเพิ่มเติมว่า

สายพันธุ์โอมิครอนมีคุณสมบัติแพร่พันธุ์ได้เร็วเดลต้าถึงร้อยละ 70 ในเนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบน แต่แพร่พันธุ์ได้เร็วเดลต้าถึงร้อยละ 70 ในเนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบน แต่แพร่พันธุ์ในปอดช้ากว่าสายพันธุ์เดลต้า นี่คือข้อเท็จจริงครับ แต่ผมอยากให้ทุกคนพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยมองเรื่องจำนวนผู้ติดเชื้อด้วย

แม้โอมิครอนจะไม่ลงไปโจมตีปอด แต่ด้วยอัตราการระบาดที่สูง ดูได้จากกราฟจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีความชันมากแปลว่ามีผู้ป่วยไหลเข้าระบบโรงพยาบาลจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบการระบาดระลอกที่ 1-3 จะเห็นได้ว่ากราฟยังมีความชันบ้าง แต่กราฟจำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนมีความชันมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด

ข้อมูลจากดอกเตอร์ นายแพทย์แอนโทนี เฟาชี หัวหน้าคณะที่ปรึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุว่า ทุกๆ 1.5 -3 วัน ตัวเลขผู้ติดเชื้อโอมิครอนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า นั่นแสดงว่าหากเกิดการระบาดในชุมชนแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อจะเชื้อจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนสึนามิมาเป็นคลื่นยักษ์ ส่งผลให้โอกาสที่ผู้ป่วยจะล้นระบบและเกิดการป่วยหนักหรือเสียชีวิตเพราะไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้มีสูงมาก

5 SYMPTOMS OF OMICRON แพทย์แนะวิธีสังเกตอาการ โอมิครอน

ดอกเตอร์แองเจลลิก โอเอ็ตซี ดำรงตำแหน่งประธาน The South African Medical Association ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่ตรวจพบเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนเป็นประเทศแรก ระบุถึงอาการของผู้ป่วยติดเชื้อไว้ 5 ข้อ ดังนี้

- อ่อนเพลียและปวดเมือยตามกล้ามเนื้อ

- ปวดหัว

- คัดจมูก ระคายคอ แต่ไม่ไอ

- ไม่มีอาการสูญเสียการรับรสหรือกลิ่นแบบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า

ดอกเตอร์แองเจลลิกอธิบายว่า คนไข้คนแรกที่เป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนที่เธอดูแลเป็นผู้ชายวัย 33 ปี มาพบแพทย์ด้วยด้วยอาการอ่อนเพลียต่อเนื่อง 2-3 วัน ประกอบกับมีอาการระคายคอ แต่ไม่ไอ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ และปวดหัวเล็กน้อย

เมื่อนำคนไข้คนนี้ไปตรวจโควิดแล้วปรากฏว่าได้ผลเป็นบวก แต่จะทราบว่าเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่ใช่เดลต้าก็ต่อเมื่อนำไปตรวจหาการกลายพันธุ์ในตำแหน่งต่างๆ ดอกเตอร์แองเจลลิกทิ้งท้ายว่าดูเผินๆแล้วอาการของผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนคล้ายกับอาการไข้หวัด ดังนั้นจึงขอให้หมั่นสังเกตอาการดังกล่าวข้างต้น หากพบความผิดปกติต้องไปพบแพทย์โดยเร็ว

BOOSTER DOSE IS THE ANSWER การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นคือคำตอบ

นายแพทย์มานพระบุว่า นโยบายในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ล้วนสนับสนุนให้ประชาชนออกไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้น (BOOSTER DOSE)

การฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะโรค หลังการฉีดตามปกติภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูง ยกเว้นว่าเป็นกลุ่มผู้ที่กินยากภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยในกลุ่มโรคแพ้ภูมิตัวเอง อีกกลุ่มคือผู้ป่วยที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะ และผู้ป่วยที่กำลังรับเคมีบำบัด

อย่างไรก็ตาม หลังฉีดวัคซีนภูมิคุ้มกันเฉพาะโรคนั้นจะค่อยๆลดลงตามเวลา กรณีของอังกฤษมีการฉีดวัคซีนรบ 2 เข็มไปตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2564 แล้ว ดังนั้นในช่วงปลายปีเมื่อพบว่ามีการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ทางรัฐบาลอังกฤษจึงปรับแผนให้มีการฉีดวัคซีนกระตุ้นเร็วขึ้นจากระยะห่าง 6 เดือน เมื่อนับจากการฉีดเข็ม 2 ให้เหลือ 3 เดือน

ส่วนวัคซีนที่แนะนำคือ mRNA ซึ่งหลังผ่านการระบาดของโควิด 2 ปี มีผลการศึกษายีนยันแล้วว่าเป็นวัคซีนที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม ยกเว้นเพียง 2 กรณีคือ เป็นผู้มีปัญหาแพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบในวัคซีน mRNA กับอีกกรณีคือไม่มีวัคซีน mRNA ก็จำเป็นต้องไปฉีดวัคซีนชนิดอื่นๆแทน

นายแพทย์มานพทิ้งท้ายว่า โควิดจะอยู่กับเราไปอีกนาน กว่าจะเปลี่ยนจากโรคระบาดกลายเป็นโรคประจำถิ่นเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ที่มีวัคซีนให้ฉีดกันทุกปี

ดังนั้นขอให้ทุกท่านหมั่นติดตามข้อมูลข่าวสารและไปรับวัคซีนให้ครบ รวมถึงปฏิบัติตนตามหลักสุขอนามัยพื้นฐาน สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการไปในที่ที่มีผู้คนแออัด

ชีวจิต ยังคงคัดสรรข้อมูลสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มาอัพเดตเป็นประจำ เพื่อให้ผู้อ่านมีสุขภาพกายใจแข็งแรงอยู่เสมอ อย่าลืมติดตามกันนะคะ

นิตยสารชีวจิต ฉบับ 559 ปีที่ 24 26 มกราคม 2565

9 February 2565

By STY/Lib

Views, 764

 

Preset Colors