02 149 5555 ถึง 60

 

ข้อควรปฏิบัติก่อน-ระหว่าง-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

ข้อควรปฏิบัติก่อน-ระหว่าง-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

เรื่องโดย ชวลิดา เชียงกูล

เพื่อให้การรับวัคซีนได้ประโยชน์สูงสุดและป้องกันหรือลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

เราจึงจำเป็นต้องเตรียมตัว เตรียมสุขภาพ เพื่อให้พร้อมสำหรับการฉีดวัคซีน

โดยร้อยเอก นายแพทย์สุรชาได้แนะนำข้อควรปฏิบัติก่อน ระหว่าง และหลังการรับวัคซีนไว้ดังนี้

ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19

ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมียาประจำที่ต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน

2 วันก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนให้งดออกกำลังกายหนักๆ และพักผ่อนให้เพียงพอทำใจสบายๆ

หากเจ็บป่วย มีไข้ ไม่สบาย ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์

ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ

รับประทานอาหารให้เรียบร้อย

ถ้าใช้ยารักษาโรคประจำตัว กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ ณ จุดลงทะเบียน

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ห่างจากการฉีดวัคซีนอื่น 4 สัปดาห์ ยกเว้นวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าและวัคซีนบาดทะยัก ให้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้โดยไม่จำเป็นต้องเว้นระยะเวลา แต่ให้ฉีดที่ตำแหน่งต่างกัน

กรณีตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่และโรงพยาบาลของดการฉีดวัคซีน

ระหว่างเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19

เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการเข้ารับ การฉีดวัคซีนให้พร้อม เช่น บัตรประชาชนข้อมูลการลงทะเบียน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว

เดินทางมาถึงหน่วยบริการวัคซีนก่อนเวลานัด 30 นาที

ใส่เสื้อผ้าหลวมสบาย เปิดหัวไหล่ เพื่อให้สะดวกและง่ายต่อการฉีดวัคซีน

สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือให้สะอาดและเว้นระยะห่าง

ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคอ้วน โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนฉีด

เจ้าหน้าที่ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิต และค่าออกซิเจนในเลือดก่อนรับการฉีดวัคซีน

แนะนำให้ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัดงดใช้หรือเกร็งแขนข้างที่ฉีด ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด

หลังรับการฉีดวัคซีนโควิด-19

พักรอดูสังเกตอาการที่หน่วยบริการวัคซีน 30 นาทีอย่างเคร่งครัด อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้น เช่น

อาการไม่รุนแรง สามารถหายได้เองภายใน 3 วัน เป็นอาการทั่วไป เช่น มีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ หรือปวด บวมแดง คันหรือช้ำบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรือ มีอาการชาเฉพาะที่

อาการรุนแรง พบได้บ่อยหรือพบได้น้อย เช่น มีก้อนบริเวณที่ฉีดยา เวียนศีรษะมึนงง ใจสั่น ปวดท้อง อาเจียน ความอยากอาหารลดลง เหงื่อออกมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชักหมดสติ อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล

อาการแพ้วัคซีน เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง ความดันตก หลอดลมตีบ หายใจลำบาก มีผื่นขึ้นตามตัว มีจุดเลือดออกจำนวนมาก อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง หากพบว่ามีอาการรุนแรงหลังการฉีดวัคซีนควรรีบพบแพทย์ทันที

พยายามอย่าเกร็งแขนข้างที่ฉีดวัคซีนหรือใช้แขนยกของหนักๆ อย่างน้อย 2 วัน

ถ้ามีไข้หรือปวดเมื่อยมาก ให้รับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัมได้ 1 เม็ด และรับประทานซ้ำได้โดยห่างกัน 6 ชั่วโมง

เมื่อพักรอดูอาการครบ 30 นาที เจ้าหน้าที่จะทำการวัดความดันโลหิตอีกครั้งก่อนกลับ และเมื่อกลับบ้านแล้ว ยังต้องสังเกตอาการของตัวท่านเองต่ออีก 48-72 ชั่วโมง หากพบอาการผิดปกติที่รุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

คำถามที่พบบ่อยก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

มีประเดือน ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม คำตอบ ฉีดได้

ให้นมบุตร ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม คำตอบ ฉีดได้

ตั้งครรภ์ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม คำตอ ฉีดได้ แต่ควรมีอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์

กรณีผู้เข้ารับวัคซีนเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว ทั้งโรคร้ายแรงและไม่ร้ายแรง รวมถึงผู้ที่ใช้ยาเป็นประจำ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรเพื่อวางแผนปรับลดขนาดยาบางตัว ดังนี้

การใช้ยาโรคประจำตัวกับการรับวัคซีนโควิด-19

นอกจากข้อมูลคุณสมบัติของวัคซีน การเข้าถึงบริการ และข้อควรปฏิบัติต่างๆ ที่เราควรรู้สำหรับการรับวัคซีนแล้วนั้น เรื่องของการรับวัคซีนในผู้ที่ใช้ยาโรคประจำตัวก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน

โดยสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลประเทศไทยได้อธิบายเรื่องยาและโรคประจำตัว เพื่อให้ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นของตัวเองก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไว้ดังนี้

กรณีการรับวัคซีนกับผู้ที่ใช้ยาโรคประจำตัว

ยาสเตียรอนด์ เช่น Prednisolone

● กรณีใช้ยาประจำ ฉีดได้ หากได้รับ Prednisolone น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 มิลลิกรัมต่อวัน กรณีอาการคงที่และอยู่ในช่วงปรับลดขนาดยา

● กรณีเริ่มยาครั้งแรก หากอาการคงที่ก่อนเริ่มยา ให้ฉีดวัคซีนก่อน เริ่มยา 2 สัปดาห์

ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น Azathioprine,Mycophenolate,IVIG,Cyclophosphamide (ชนิดกิน),Hydroxychloroquine,Sulfasalazine,Leflunomide

● กรณีเริ่มยาครั้งแรก หากอาการคงที่ก่อนเริ่มยา ให้ฉีดวัคซีนก่อนเริ่มยา 2 สัปดาห์

ยา Methotrexate

กรณีอาการของโรคคงที่ แนะนำให้หยุดยา Methotrexate 1 สัปดาห์ หลังการฉีดวัคซีนในแต่ละครั้ง แล้วจึงให้ยาต่อตามปกติ

ยา Warfarin หรือกลุ่ม NOAC เช่น Dabigatran,Rivaroxaban,Apixaban,Edoxaban

กรณีใช้ Warfarin : INR ต้องน้อยกว่า 4 และใช้เข็ม 23G หรือเล็กกว่า และไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน ควรกดตำแหน่งที่ฉีดอย่างน้อย 2 นาที

กรณีใช้ NOAC อื่นๆ:ใช้เข็ม 23G หรือเล็กกว่า และไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน ควรกดตำแหน่งที่ฉีดอย่างน้อย 2 นาที

ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น Aspirin,Clopidogrel,Ticagrelor,Prasugrel,Cilostazol

ใช้เข็ม 23G หรือเล็กกว่า และไม่คลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน ควรกดตำแหน่งที่ฉีดอย่างน้อย 2 นาที

“ไม่จำเป็นต้องหยุดยาปวดศีรษะไมเกรน” ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

ยาปวดศีรษะไมเกรนเป็นอีกกลุ่มยาที่มีผู้ใช้รักษาโรคประจำตัวกันอยู่เป็นจำนวนมาก โดยล่าสุดสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทยออกประกาศเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และการใช้ยาปวดศีรษะไมเกรน ดังนี้

เนื่องจากมีรายงานผลหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทชั่วคราว เช่น อาการชา อาการอ่อนแรง แต่จากการรวบรวมกรณีศึกษาต่างๆ ยังไม่พบความผิดปกติจากการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI Brain) และการตรวจหลอดเลือดในสมอง (MRA และ CTA) อย่างชัดเจน อาการดังกล่าวเกิดจากการตอบสนองของร่างกายจากการฉีดวัคซีน ซึ่งเกิดได้กับวัคซีนทุกชนิดและเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น

จากข้อมูลในปัจจุบันได้แนะนำเรื่องการใช้ยาปวดศีรษะไมเกรนไว้ว่า ไม่จำเป็นต้องหยุดยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน ดังนี้

ยากลุ่ม Acetaminophen

ยากลุ่ม NSAIDs

ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine และกาเฟอีน

ยาในกลุ่มทริปแทน

ยาป้องกันไมเกรนชนิดต่างๆ ได้แก่ ยาในกลุ่มยากันชัก เช่น Topiramate,Valproic Acid

ยาในกลุ่มยาต้านเศร้า เช่น Amitriptyline,Venlafaxine

ยาในกลุ่มต้านแคลเซียม เช่น Flunarizine

ยาในกลุ่มต้านเบต้า เช่น Propreanolol

ยาป้องกันไมเกรนชนิดอื่นๆที่ผู้ป่วยกินอยู่เป็นประจำ

หากยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดยาแก้ปวดไมเกรนหรือยาป้องกันไมเกรน ให้ปรึกษาแพทย์ที่รักษาเพื่อวางแผนในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 และแนะนำอาการของโรคปวดศีรษะไมเกรนที่อาจเกิดขึ้น

ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 มีช่องทางไหนบ้าง

ลงทะเบียนวัคซีนโควิด-19 มีกี่ช่องทาง ทั้งหมอพร้อม นนท์พร้อม ไทยร่วมใจ หลากหลายช่องทางจนทำให้หลายคนเกิดความสับสนและไม่แน่ใจ แล้วเราต้องลงช่องทางไหนกันแน่ ซึ่งเราจะมาสรุปจบให้เข้าใจง่าย โดยใช้เกณฑ์การแบ่งประเภทได้ดังนี้

เกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกลำดับการลงทะเบียน

ก่อนหน้านี้เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ารับวัคซีนนั้นจะใช้หลักเกณฑ์ที่อายุเป็นหลัก คือ กลุ่มคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และกุล่มคนที่มีความเสี่ยง 7 โรค แต่หลังจากนั้นได้มีการปรับหลักเกณฑ์การฉีดใหม่ โดยเน้นที่พื้นที่เศรษฐกิจ จากนั้นเริ่มปูพรมฉีดตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ลงทะเบียนกับโครงการ “ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯปลอดภัย”

ไทยร่วมใจ คือโครงการสำหรับผู้ที่พำนักอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ทั้งทำงานและอยู่อาศัย) อายุ 18-59 ปี มาลงทะเบียนฉีดวัคซีน โดยจะได้ฉีดเป็นพื้นที่แรกๆ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด เริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน นี้เป็นต้นไป โดยเน้นที่พื้นที่ทั้งพื้นที่สีแดงเข้มและพื้นที่เศรษฐกิจ จากนั้นเริ่มปูพรมฉีดตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ลงทะเบียนกับโครงการ “ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯปลอดภัย”

ไทยร่วมใจ คือโครงการสำหรับผู้ที่พำนักอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ทั้งที่ทำงานและอยู่อาศัย) อายุ 18-59 ปี มาลงทะเบียนฉีดวัคซีน โดยจะได้ฉีดเป็นพื้นที่แรกๆ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด เริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน นี้เป็นต้นไป โดยมีศูนย์หลักอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อ และวิธีการลงทะเบียนไทยร่วมใจนั้นทำได้ง่ายๆ 3 วิธี คือ

ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ไทยร่วมใจ

การลงทะเบียนไทยร่วมใจผ่านเว็บไซต์ สำหรับผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการของภาครัฐ สามารถลงทะเบียนบน www.ไทย ร่วมใจ.com และรอรับ SMS แจ้งผลการจัดสรรวัคซีน นัดหมายวัน เวลา และสถานที่ฉีดวัคซีน

ลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่น “เป๋าตัง”

การลงทะเบียนไทยร่วมใจผ่านแอพพลิเคชั่น“เป๋าตัง” ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่น หลักในการใช้จ่ายเงินจากโครงการของภาครัฐ เช่น เราชนะ,คนละครึ่ง,ม.33 เรารักกัน เป็นต้น สำหรับคนที่เคยเข้าร่วมโครงการกับทางภาครัฐอยู่แล้ว แค่กดยอมรับ ไม่ต้องกรอกข้อมูลซ้ำ

ลงทะเบียน ณ ร้านสะดวกซื้อ

การลงทะเบียนไทยร่วมใจที่ 7-11 และร้านสะดวกซื้ออื่นๆ ที่เข้าร่วมโครงการ เป็นช่องทางสำหรับบุคคลที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตหรือไม่ชำนาญในการลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนไทยร่วมใจผ่านร้านสะดวกซื้อ เช่น 7-11,Family Martฯลฯ ได้เลย

การลงทะเบียนฉีดวัคซีนสำหรับผู้ที่อยู่ต่างจังหวัด

1. ลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่นของแต่ละจังหวัด

ในแต่ละจังหวัดจะมีการทำเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นขึ้นมารองรับคนในพื้นที่นั้นๆ เช่น จังหวัดนนทบุรีมีนนท์พร้อม จังหวัดนนทบุรีมีนนท์พร้อม จังหวัดภูเก็ตมีภูเก็ต

2. ลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่ อสม.

คนที่อยู่ในต่างจังหวัดหลายคนอาจจะไม่มีความชำนาญด้านการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ตรงจุดนี้มีทางช่วยเหลือให้ลงทะเบียนผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะนำข้อมูลการฉีดวัคซีนของเราไปประสานกับโรงพยาบาลเพื่อนัดวันฉีดวัคซีนต่อไป

จองวัคซีนโควิดหลายแห่งได้ไหม

การจองวัคซีนจากหลายแห่งนั้นสามารถทำได้ เพราะระบบจะไปเชื่อมโยงกับหมอพร้อม และจะเริ่มนับ 1 จากการฉีดวัคซีนเข็มแรก เช่น หากท่านลงทะเบียนกับ “นนท์พร้อม” แล้ว ต้องการมาลงทะเบียนกับ “ไทยร่วมใจ” อีก ก็สามารถทำได้

แต่หากท่านได้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 แล้ว ระบบจะมีการบันทึกข้อมูลของท่านไว้ และนัดหมายท่านให้มาฉีดเข็มที่ 2 หากท่านต้องการลงทะเบียนใหม่อีก ก็จะไม่สามารถทำได้แล้ว

ลงทะเบียน “หมอพร้อม” สำหรับผู้สูงอายุกับคนมีโรคประจำตัว 7 โรค

การลงทะเบียน “หมอพร้อม” เป็นช่องทางดั้งเดิมที่รัฐบาลเตรียมไว้สำหรับการลงเบียน แต่มีปัญหาเรื่องคอขวดเพราะต้องรองรับฐานข้อมูลคนทั้งประเทศ ทางรัฐบาลจึงแก้ด้วยการให้ลงทะเบียนแยกจังหวัดแทน ทว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปกับคนมีโรคประจำตัว 7 โรคยังสามารถลงทะเบียนที่หมอพร้อมได้อยู่

ลงทะเบียนผ่านทาง “ประกันสังคม”

ในกรณีที่หน่วยงานใดต้องการฉีดวัคซีนให้พนักงานสามารถรวบรวมรายชื่อผู้ประกันตนแล้วนำเสนอต่อสำนักงานประกันสังคม ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมก็จะจัดพื้นที่ฉีดวัคซีนใกล้กับสถานประกอบการเท่าที่จะทำได้ โดยหน่วยงานใดติดต่อมาก่อน ก็จะมีโอกาสได้รับการฉีดวัคซีนก่อน

นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 546 ปีที่ 23 วันที่ 1 กรกฏาคม 2564

7 February 2565

By STY/Lib

Views, 3098

 

Preset Colors