02 149 5555 ถึง 60

 

สำรวจการรับมือโควิด-19 ด้วยวัคซีนในระดับสากล

GLOBAL VIEWS สำรวจการรับมือโควิด-19 ด้วยวัคซีนในระดับสากล

เรื่องโดย ศิริกร โพธิจักร

CASE STUDY IN UK

เรียนรู้จากอังกฤษ รับมือโควิด สู้เชื้อกลายพันธุ์

เมื่อมีการระบาดของโรคต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ย่อมทำให้เชื้อก่อโรคกลายพันธุ์ แล้วสิ่งที่ตามมาคืออะไรบ้าง ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ แพทย์หญิงรวงผึ้ง อธิบายว่า

ปัจจุบันเชื้อโควิด-19 ที่ตรวจพบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพันธุ์อังกฤษ ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ที่พบในเมืองเคนท์สหราชอาณาจักร โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่าเชื้อสายพันธุ์นี้แพร่และติดต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดิมถึงร้อยละ 40-70

สายพันธุ์ที่กลายพันธุ์นี้มีชื่อว่า Kent Variant, UK Variant, British Varaint หรือ B.1.1.7 ซึ่งมีการกลายพันธุ์ของโปรตีนหนามไป 9 ตำแหน่ง หรือคิดเป็นการกลายพันธุ์ร้อยละ 0.7

ทั้งนี้สายพันธุ์ดังกล่าวมีรายงานการพบการระบาดครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2020 ในขณะนั้นนักวิจัยเรียกว่า H69/V70 Variant และมีรายงานพบในหลายๆประเทศ เช่น เดนมาร์ก ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ ก่อนจะระบาดไปทั่วโลก

รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจดำเนินนโยบายฉีดวัคซีนปูพรมให้ทุกคนเข้าถึงวัคซีนให้ครบ 2 เข็มได้ เพื่อลดโอกาสการกลายพันธุ์ และล่าสุดขยายไปสู่การฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 โดยเริ่มที่กลุ่มประชากรที่มีอายุ มากกว่า 50 ปี ใช้วัคซีนไฟเซอร์ แอสตราเซเนกา หรือโมเดอร์นา

นอกจากนี้รัฐบาลอังกฤษยังมีโครงการ Cov-Boost Study ซึ่งรับอาสาสมัครในเดือนมิถุนายนจำนวน 3,000 คนในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งได้รับวัคซีนเข็มแรกในเดือนธันวาคมหรือมกราคมไปแล้ว เพื่อเข้ารับวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ทางโครงการจัดหามา 7 ชนิด ได้แก่ แอสตราเซเนกา ไฟเซอร์ วัลเนวา โนวาแวกซ์ เคลีวร์แวค แจนเซ่น และโมเดอร์นา จากนั้นจะมีการตรวจระดับภูมิคุ้มกันทุกๆ 1 เดือน 3 เดือน และ 12 เดือน เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนต่างๆ ด้วยงบประมาณ 19.3 ล้านปอนด์หรือประมาณ 855 ล้านบาท

ปัจจุบันอังกฤษมีประชากร 67 ล้านคน ณ ขณะนี้มากกว่า 34.6 ล้านคนได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว และมีมากกว่า 20 ล้านคนที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม

COVAX PROJECT

โครงการกระจายวัคซีนสู่กลุ่มประเทศขาดแคลน

องค์การอนามัยโลกระบุว่า ด้วยสถานการณ์โรคระบาดทำให้กลุ่มประเทศยากจนไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ องค์การอนามัยโลกจึงร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนและองค์กรการกุศลต่างๆ เพื่อนำวัคซีนโควิด-19 ไปให้ถึงมือประชากรในกลุ่มนี้ ผ่านโครงการ COVAX หรือ WHO’s Access to COVID-19 Tools (ACT) Accelerator

โครงการนี้มีเป้าหมายสนับสนุนค่าวัคซีนให้ประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางระดับต่ำจำนวน 92 ประเทศ ส่วนประเทศที่เหลือซึ่งมีรายได้ปานกลางระดับสูงและรายได้สูงจะไม่ได้รับการสนับสนุนค่าวัคซีน โดยทางโครงการต้องการกระจายวัคซีนจำนวน 2 พันล้านโดสให้ได้ภายใน ค.ศ 2021 แต่ยังขาดเงินสนับสนุนอยู่จำนวนมาก

ปัจจุบันโครงการ COVAX ได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิ Bill and Melinda Gates เพื่อซื้อวัคซีนโควิด-19 จาก Oxford/Astrazeneca 300 ล้านโดส และจะซื้อวัคซีนของ Oxford/Astrazeneca หรือ Novavax เพิ่มอีก 200 ล้านโดส ในราคาโดสละ 3 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาทุน

BENEFITS OF COVID-19 VACCINE ประโยชน์ของการฉีดวัคซีน

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริการะบุถึง ประโยชน์ของการรับวัคซีนโควิด-19 ในช่วงที่เกิดการระบาดทั่วโลกไว้ ดังนี้

●ช่วยป้องกันการติดเชื้อ การเจ็บป่วย อาการทรุดหนักจนต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ละการเสียชีวิต●ป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ลดจำนวนผู้ติดเชื้อในชุมชน ทำให้เชื้อลดการระบาด และเพิ่มโอกาสเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity)

●ลดโอกาสที่เชื้อจะกลายพันธุ์ เพราะถ้ายิ่งปล่อยให้มีการแพร่เชื้อต่อเนื่องในชุมชนนานเท่าไหร่ โอกาสที่เชื้อจะกลายพันธุ์และเกิดสายพันธุ์ที่ดื้อต่อวัคซีนก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น

นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 546 ปีที่ 231 กรกฎาคม 2564

21 July 2564

By STY/Lib

Views, 1861

 

Preset Colors