02 149 5555 ถึง 60

 

วิเคราะห์สถานการณ์ COVID-19 ของโลกและประเทศไทย

วิเคราะห์สถานการณ์ COVID-19 ของโลกและประเทศไทย

เรื่องโดย... ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา

Update สถานการณ์ COVID-19 ของโลกและประเทศไทย และเรื่องควนรู้เกี่ยวกับ COVID-19 Vaccines

เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.64 ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณะบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล แถลงอัพเดตสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 COVID-19 และเรื่องควรรู้เกี่ยวกับ COVID-19 Vaccines วารสารศิริราชประชาสัมพันธ์สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. องค์การอนามัยโลกออกมาประกาศเตือนถึงสถานการณ์ (เมื่อวันที่ 20 เม.ย.64) ที่ยังคงมีอุบัติการณ์ของผู้ป่วยใหม่เกิดขึ้นทั่วโลก ขณะเดียวกันอัตราเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น จึงขอความร่วมมือทั่วโลกร่วมกันฉีด COVID-19 Vaccines และขอให้มั่นใจในความปลอดภัยของวัคซีน เพราะนั้นเป็นหนทางเดียวที่ทำให้โลกใบนี้ปลอดภัยจาก COVID-19

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลแสดงให้เห็นว่าอย่างน้อย 25% ของประชากรในประเทศใดประเทศหนึ่งได้รับ COVID-19 Vaccines จะเริ่มเห็นผลบวกของการฉีดวัคซีน แม้ว่าในขณะนี้ ประชากรโลกได้รับวัคซีนแล้วรวมกว่า 25% (ประชากรโลก 7,674 ล้านคนในปี 2562 และวัคซีนขณะนี้ฉีดแล้วกว่า 2,303 ล้านโดส) แต่การกระจายของวัคซีนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศรายได้สูง ประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อย ยังมีอัตราได้รับวัคซีนค่อนข้างต่ำ

2. จากวันแรกที่เริ่มมีการฉีด COVID-19 Vaccines เข็มแรกในโลก (8 ธ.ค.63)มาจนถึงปัจจุบัน (12 มิ.ย.64) ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนแล้ว 2,303,866,151 โดส เฉลี่ยวันละ 35,731,046 โดส ผลที่พบคือ อัตราการเสียชีวิตและอัตราการติดเชื้อทั่วโลกมีแนวโน้มลดลง

3. องค์การอนามัยโลก แบ่งโลกออกเป็น 6 พื้นที่ใหญ่ๆ การกระจายหรือจำนวนผู้ป่วยแต่ละวันของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน โดยเอเชียตะวันเฉียงใต้ดูเหมือนจะดีขึ้น แต่บางพื้นที่สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นนัก

4. สถานการณ์ของโลก โดยรวมดีขึ้น ปัจจัยสำคัญน่าจะมาจากฉีด COVID-19 Vaccines ได้จำนวนมากและเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีหลากหลายประเทศที่ประชากรได้รับ COVID-19 Vaccines อย่างน้อย 1 โดส มากกว่า 50% ซึ่งข้อมูลแสดงให้เห็นชัดเจนถึงการลดลงของอัตราการเสียชีวิต รวมถึงการลดลงของจำนวนผู้ป่วยใหม่ในแต่ละวัน (ในบางประเทศที่ควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี เช่น อิสราเอล (มีอัตราการฉีดวัคซีนของประชากรสูงสุด) รัฐบาลออกประกาศผ่อนมาตรการควบคุม/ป้องกัน เช่น ยกเลิกการใส่หน้ากากเฉพาะเวลาอยู่นอกอาคารแล้ว

5. การกลายพันธุ์ของเชื้อ COVID-19 บางสายพันธุ์ อาจลดประสิทธิภาพของวัคซีนลง แต่เนื่องจากสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในประเทศมีหลากหลาย ดังนั้นการฉีด COVID-19 Vaccines ยังคงมีประโยชน์มาก

6. ทุกคนต้องรักษามาตรการป้องกันส่วนบุคคล อย่าละเลยที่จะใส่หน้ากาก หมั่นล้างมือ รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่คนหนาแน่น ซึ่งมาตรการเหล่านี้ยังคงมีประโยชน์มากกับการป้องกันเชื้อในทุกสายพันธุ์

ข้อเสนอที่นำเสนอไปนั้น มาจากการติดตามสถานการณ์จากประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทย และเป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้ทุกท่านเข้าใจถึงสถานการณ์ และความจำเป็นของการได้รับ COVID-19 Vaccines ขอให้ทุกท่านปลอดภัย ห่างไกลจาก COVID-19 ครับ

สำหรับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ได้เริ่มตำเนินการฉีด COVID-19 Vaccines ให้แก่บุคลากร มาตั้งแต่เดือน ก.พ.64 โดยศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ได้ดำเนิน “โครงการวิจัยการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและความปลอดภัย หลังได้รับวัคซีน COVID-19 ในบุคลากรการแพทย์ภายในโรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร” ได้ผลสรุปดังนี้

ผลการวิจัยเบื้องต้น

🖳 การวิเคราะห์ผลภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนจะใช้วิธีเทียบกับระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ ซึ่งพบว่าป้องกันการเกิดโรคได้อย่างน้อย 3-6 เดือน

🖳 อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca เข็มแรกมีส่วนหนึ่งได้ตรวจเลือดหลังฉีดเข็มแรก 3-4 สัปดาห์ พบว่าทุกท่านมีระดับภูมิคุ้มกันสูงใกล้เคียงผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19

🖳 อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีน Sinovac พบว่าหลัดจากฉีดเข็มที่ 1 มีอาสาสมัคร 75% ที่มีภูมิคุ้มกันที่สูงใกล้เคียงผู้ที่หายป่วย ต่อมาเมื่อฉีดเข็มที่ 2 มีอาสาสมัครส่วนหนึ่งไดตรวจภูมิคุ้มกันที่สองสัปดาห์ ละพบว่าทุกท่าน (100%) มีภูมิคุ้มกันในระดับสูงพอๆ กับผู้ที่หายป่วย (รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันหลังเข็มที่หนึ่งขึ้นไม่สูง แต่เมื่อฉีดเข็มที่สอง ก็เกิดภูมิคุ้มกันสูงมากเท่าระดับเท่าคนที่หายป่วย)

🖳 ผลการศึกษาเบื้องต้นนี้ แสดงให้เห็นว่าหลังเข็มที่หนึ่งของ AstraZeneca และจากเข็มที่สองของ Sinovac จะพบภูมิคุ้มกันสูงเท่าเทียบผู้ที่หายป่วย ซึ่งน่าจะมีผลในการป้องกันโรคได้ดี

ผลข้างเคียง

 75% ของอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนจะมีอาการไม่พึงประสงค์ โดยมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย มีไข้ ปวดศีรษะ ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถหายได้เอง

 กลุ่มที่ฉีด AstraZeneca พบอาการมาพึงประสงค์ค่อนข้างมากกว่ากลุ่มที่ฉีด Sinovac โดยเฉพาะในคนอายุน้อยกว่า 30 ปี

 ขณะนี้ศูนย์วิจัยคลินิก อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจผลของภูมิต่อสายพันธุ์ต่างๆ เช่น สายพันธุ์อังกฤษ แอฟริกา และอินเดียร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งหากทราบผลจะแจ้งให้ทราบในลำดับถัดไป

ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิ.ย.64

วารสารศิริราชประชาสัมพันธ์ ปีที่ 33 , ฉบับที่ 444, เดือนกรกฎาคม 2564

16 July 2564

By STY/Lib

Views, 10064

 

Preset Colors