02 149 5555 ถึง 60

 

วัคซีนป้องกัน โรคโควิด-๑๙ ได้ผลและปลอดภัยจริงหรือ

วัคซีนป้องกัน โรคโควิด-๑๙ ได้ผลและปลอดภัยจริงหรือ

เรื่องโดย รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์

โรคโควิด-๑๙ เป็นโรคอุบัติใหม่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนากลุ่มก่อโรคทางเดินหายใจที่กลายพันธุ์เป็น

ไวรัสชนิดใหม่เรียกชื่อว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ ๒o๑๙ หรือ SARS-COV-2 โรคนี้ยังไม่มียารักษาที่จำเพาะ

ต่อเชื้อ ยาที่ใช้รักษาในปัจจุบันทั้งหมดเป็นยาที่ใช้รักษาโรคอื่นๆ อยู่แล้ว และนำมาใช้รักษาโรคโควิด-๑๙

โดยพิจารณาให้ยาตามอาการของคนไข้ ไวรัสที่ก่อโรคโควิด-๑๙ มีอนุภาคขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่

เห็นขนาด ๑๒๕ นาโนเมตร มีสารพันธุ์กรรมเป็นอาร์เอ็นเอสายบวก ๑ เส้น ห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มไขมันและมี

โปรตีนอยู่ชั้นนอกสุด ไม่มีลักษณะเป็นเซลล์ จึงอยู่เป็นอิสระไม่ได้ ต้องอาศัยอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่นๆ

การวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙

จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ อย่างกว้างขวางและรวดเร็วครอบคลุมทกทวีปทั่วโลก นักวิจัย

ประเทศจึงได้เร่งพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันอย่างเต็มที่ ในเวลาเพียง ๑ ปีมีนักวิจัยไม่น้อยกว่า ๑๕o คณะ

รวมทั้งนักวิจัยไทยอีก ๕ หน่วยงาน แต่วัคซีนที่พัฒนาได้ถึงระยะ ๓ คือ การทดลองในคนมีเพียง ๗ ชนิด

เท่านั้นได้แก่ วัคซีนของจีน ๒ ชนิด อังกฤษ ๑ ชนิด สหรัฐอเมริกา ๓ ชนิด และรัสเซีย ๑ ชนิด

ยาที่ใช้รักษาในปัจจุบัน ทั้งหมดนำมาใช้รักษา โรคโควิด-๑๙ โดยพิจารณาให้ยาตามอาการของคนไข้

วัคซีนสามารถจำแนกได้ ๔ ชนิด ดังต่อไปนี้

๑.วัคซีนชนิดเชื้อตาย เป็นเทคนิคดั้งเดิมที่ใช้ไวรัสทั้งอนุภาคเป็นวัคซีน โดยการเพาะเลี้ยงไวรัสด้วยเซลล์

เพาะเลี้ยงชนิด VERO CELL ให้ได้ปริมาณมาก นำมาแยก เอาเฉพาะไวรัสแล้วนำไปเข้ากระบวนการผลิต

วัคซีน โดยการเติมสารเคมีบีตาโพรพิโอ แล็กโทน (beta propiolactone) เพื่อทำให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่ม

จำนวนต่อไป แต่โปรตีนยังมีคุณสมบัติเหมือนเดิม บริษัทซิโนฟาร์ม(SinoPharm) และซิโนแวคไบโอเทค

(Sinovac Biotech) ของจีนผลิตวัคซีนโควิดโดยเทคนิคนี้ ซึ่งมีรายงานการทดสอบในคน(ระยะ ๓) ว่าวัคซีน

โควิดของบริษัทซิโนแวคไบโอเทคมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ๕o.๔-๙๑% จึงมีการขออนุมัติ

นำมาใช้ฉุกเฉินเพื่อป้องกันโรค

๒.วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ เป็นการผลิตโดยการทำให้เชื้อโรคอ่อนฤทธิ์ลงจนไม่สามรถก่อโรคได้ แต่

สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ ตัวอย่างเช่น วัคซีนโปลิโอชนิดกิน วัคซีนวัณโรค เป็นต้น

ส่วนโรคโควิดมีการวิจัยเพื่อการผลิตวัคซีนโดยเทคนิคนี้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการวิจัยในคน

๓.วัคซีนจากหน่วยย่อยของเชื้อ อาจเป็นส่วนของโปรตีน(ไกลโคโปรตีน) ในกรณีของโควิด การประยุกต์ใช้

เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม ตัดต่อสารพันธุกรรมของไวรัสส่วนที่เรียกว่า “โปรตีนหนาม (spike protein)”

ซึ่งใช้เกาะกับตำแหน่งตัวรับ (receptor) บนเซลล์ของคน มาเชื่อมต่อกับตัวนำพันธุกรรมของไวรัสโควิด

(vector) ที่เหมาะสมกับเซลล์เจ้าบ้าน (host cell) ที่จะใช้เพาะเลี้ยง เพื่อนำไปสร้างโปรตีนที่ต้องการใน

ปริมาณมากแล้วนำไปแยกโปรตีนให้บริสุทธิ์ และนำไปผ่านกระบวนการทำเป็นวัคซีนต่อไป

บริษัทโนวาแวกซ์(Novavax) ของสหรัฐอเมริกาผลิตวัคซีนโควิดโดยเทคนิคนี้ โดยใช้ ยีนสร้างโปรตีน

หนามใส่ในตัวนำ(Vector) คือ ไวรัสของแมลง(baculovirus) เพาะเลี้ยงในเซลล์ผีเสื้อราตรี(moth) เพื่อสร้าง

หน่วยย่อยของโปรตีนหนามที่สามารถรวมตัวกันเอง นำมาแยกโปรตีนให้บริสุทธิ์ แล้วให้รวมตัวบนนาโน

พาร์ทิเคิล(nanoparticle) เลียนแบบอนุภาคไวรัสโควิดนำไปใช้ป็นวัคซีน

๔.วัคซีนกรดนิวคลีอิก ได้แก่ วัคซีนดีเอ็นเอ วัคซีนแมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอ (mRNA)และวัคซีนไวรัสเวกเตอร์

(วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นตัวนำ)

วัคซีนดีเอ็นเอและวัคซีนแมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอ ทำโดยการสังเคราะห์จีโนม(ข้อมูลทางพันธุกรรม) ของ

เชื้อส่วนที่สำคัญในการก่อโรค นำไปผสมกับตัวนำเข้าเซลล์(carrier) เพื่อให้เซลล์สร้างโปรตีนที่จำเพาะแล้ว

ไปกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อไป

บริษัทโมเดอร์นา(Moderna) และบริษัทไฟเซอร์(Pfizer)ของสหรัฐอเมริกาผลิตวัคซีนโควิด โดยใช้เทคนิค

การผลิตวัคซีนแมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอนี้

สำหรับวัคซีนไวรัสเวกเตอร์ (วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นตัวนำ) เป็นการนยีนที่เกี่ยวข้องกับการก่อโรค เช่น โปรตีนหนามจากไวรัส SARS-CoV-2 ไปไว้ในไวรัสชนิดที่ทำให้อ่อนกำลังลงและไม่ก่อโรคเช่น

อะดีโนไวรัส(adenovirus) เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้ว ไวรัสจะเพิ่มจำนวนในเซลล์ของผู้รับทำให้สร้างโมเลกุล

ของโปรตีนหนามทั้งหมดหรือบางส่วนด้วย แล้วโปรตีนนั้นๆ จะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไป

วัคซีนที่ผลิตโดยเทคโนโลยีนี้ ก็คือ วัคซีนโควิดของบริษัทออกซ์ฟอร์ด-แอสตราเซเนกา

(Oxford-AstraZeneca)ของอังกฤษ และวัคซีนสปุตนิก ๕ (Sputnik V vaccine) ของรัสเซีย

มีรายงานการทดสอบในคน(ระยะ ๓) ว่าวัคซีนโควิดของบริษัทโมเดอนา บริษัทไฟเซอร์

และบริษัทกามาเลยา มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ๙o-๙๕% ส่วนวัคซีนโควิดของบริษัทออกซ์ฟอร์ค

แอสตราเซเนกา มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ๖๒-๙o%

วัคซีนโควิดกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีหรือไม่

มีรายงานว่า วัคซีนโควิดสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ทั้งแอนติบอดีชนิด lgG,lgM,lgA และภูมิคุ้มกัน

ชนิดเซลล์ (T Cell) วัคซีนที่ทดลองในคน ระยะ ๓ ใน ปัจจุบัน ทุกชนิดจะต้องฉีก ๒ ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย

๒๑-๒๘ วัน จึงจะสร้างภูมิคุ้มกันได้

ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลกอนุญาตให้ใช้โควิดแบบฉุกเฉินได้ โดยพิจารณาถึงความปลอดภัยของ

วัคซีน และความจำเป็นฉุกเฉินด้านสุขภาพ โดยมีเกณฑ์ว่าจะต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้

มากกว่า ๕o%

สำหรับผู้สูงอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป จะมีระบบภูมิคุ้มกันไม่ดีเท่าคนอายุน้อยกว่า ผู้ผลิตวัคซีนทุกบริษัทได้ทำการ

ทดลองฉีดวัคซีนโควิดในกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวนหนึ่งแล้วในจำนวนที่แตกต่างกัน พบว่าในกลุ่มอายุ ๕๖-๖๙

และมากกว่า ๗o ปี สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสก่อโรคโควิดได้ใกล้เคียงกับอายุ ๑๘-๕๕ ปี โดย

ผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนมีอาการข้างเคียงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทว่าการทดลองยังต้องดำเนินการต่อไปในกลุ่ม

คนจำนวนมากขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือทางสถิติ

วัคซีนที่ทดลองในคนระยะ ๓ ในปัจจุบันทุกชนิดจะต้องฉีด ๒ ครั้ง

อาการข้างเคียงของวัคซีนโควิด

อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนที่กำลังทดลองในคนระยะ ๓ มีทั้งที่ไม่มีอาการใดๆ และมีอาการข้างเคียงที่ไม่

รุนแรงประมาณ ๑o-๑๕% ได้แก่ อาการปวดบริเวณที่ฉีด มีไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เป็นต้น

แต่พบวัคซีนบางบริษัทมีอาการรุนแรงในอาสาสมัคร ๑ ราย และเสียชีวิต ๑ ราย มีอาการใบหน้าอัมพาตครึ่ง

ซีกชั่วคราว ในอาสาสมัคร ๔ ราย จนมีการระงับการทดลองชั่วคราว แต่สอบสวนโรคพบว่า การเสียชีวิต

ไม่ได้เกิดจากวัคซีน

ปัจจุบันทุกบริษัทได้ทำการทดลองต่อไปแล้ว จึงมีข้อควรระวังอย่างมากในการใช้วัคซีน ในคนที่เป็นโรค

ภูมิแพ้อย่างรุนแรง และจำเป็นต้องติดตามการทดลองต่อไปว่าส่วนผสมบางอย่างของวัคซีน ทำให้เกิดผล

ข้างเคียงหรือไม่

ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนอยู่ได้นานเท่าไร

ข้อมูล ณ ปัจจุบัน มีรายงานว่า แอนติบอดีและทีเซลล์อยู่ได้นานประมาณ ๖ เดือน เมื่อฉีดครบ ๒ ครั้ง แล้ว

ค่อยๆ ลดลง จึงเป็นได้ว่า ต้องฉีดวัคซีนโควิดกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุกปีเช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันข้หวัดใหญ่

การกลายพันธุ์ของไวรัส มีผลอย่างไรต่อวัคซีน

การกลายพันธุ์ของไวรัสเป็นเรื่องปกติ เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ เป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นแบบไม่เจาะจง

อาจมีการเปลี่ยนแปลงบนยีนบางตำแหน่ง แต่ไม่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงชนิดของกรดอะมิโนบนโปรตีน

สำคัญเลย หรืออาจทำให้การเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนบนโปรตีนบางตำแหน่ง ซึ่งอาจส่งผลหรือไม่ส่งผลต่อ

การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของไวรัสก็ได้ สายพันธุ์ที่ไม่เหมาะสมจะสูญพันธุ์ไป สายพันธุ์ที่เหมาะสมจะมี

โอกาสแพร่กระจายออกไป จะเห็นได้ว่าสายพันธุ์ ที่พบจากจีน L (leucine) ;S (serine);V(valine) แทบจะไม่

พบอีกเพราะสายพันธุ์ G(glycine) ที่กลายพันธุ์มาเจริญได้เร็วกว่า แพร่กระจายได้ดีกว่า และในอนาคตก็จะมี

สายพันธุ์อื่นๆเกิดขึ้นอีก

เมื่อไวรัสมีการจำลองตัวเพิ่มจำนวนอาร์เอ็นเอ โดยอาศัยเอนไซม์อาร์เอ็นเอโพลีเมอเรสของไวรัสอย่าง

รวดเร็วในเซลล์ของคน เอนไซม์นี้ของไวรัสไม่มีคุณสมบัติ ตรวจสอบความถูกต้องของยีนที่สร้างใหม่

จึงพบว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่นเดียวกับไวรัสอื่นๆ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ การกลายพันธุ์

อาจทำให้ไวรัสก่อโรครุนแรงขึ้น หรือเชื้ออ่อนกำลังลง การติดเชื้อในคนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหรือลดลง

ขึ้นกับชนิดและตำแหน่งของยีนที่เปลี่ยนแปลงไป แต่โดยทั่วไปแล้ว ไวรัสต้องมีเซลล์อาศัย ถ้าก่อความ

รุนแรงจนทำลายเซลล์อาศัย ถ้าก่อความรุนแรงจนทำลายเซลล์อาศัยไวรัสก็จะถูกทำลายไปด้วย

วัคซีนโควิดที่พัฒนาในปัจจุบัน มุ่งเน้นที่การใช้โปรตีนหนามเป็นแอนติเจนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ยังไม่มี รายงานว่ามีการกลายพันธุ์บนยีนของโปรตีนหนามที่ทำให้โครงสร้างโปรตีนเปลี่ยนแปลง ดังนั้น

จึงไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนที่พัฒนา

อย่างไรก็ตาม จำเป็นจะต้องติดตามการกลายพันธุ์ต่อไป หากมีการกลายพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลง

โครงสร้างของโปรตีนหนามก็สามารถจะปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ไวรัสวัคซีนได้เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่

ที่ต้องมีการเปลี่ยนสายพันธุ์ไวรัสทุกปี

นอกจากนั้น น่าสนใจติดตามว่า

-หากมีการติดเชื้อโควิด ๒ สายพันธุ์ พร้อมกันในคนเดียวกันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

-ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนหนามที่โครงสร้างหรือไม่?

-วัคซีนมีประสิทธิภาพลดลงหรือไม่เปลี่ยนแปลง?

แต่การที่ไวรัสโควิดจะกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติ แตกต่างออกไปจากเดิมมากนั้น มีโอกาสน้อย

กว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่เป็นหลายสายพันธุ์ เนื่องจากไวรัสโควิดมีจีโนม

เป็นอาร์เอ็นเอเพียงเส้นเดียว จะมีการเปลี่ยนแปลงจีโนมบางตำแหน่งตามธรรมชาติแบบไม่เจาะจง

(random mutation) เท่านั้น ซึ่งไม่ทำให้กลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมมาก

ส่วนไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอาร์เอ็นเอ ๘ ชิ้น (segment) อาจเกิดการแลกเปลี่ยนอาร์เอ็นเอทั้งชิ้น ระหว่าง

ไวรัส ๒ สายพันธุ์ได้เมื่อเข้าไปติดเชื้อในเซลล์เดียวกัน (re-assortment) อนุภาคของไวรัสใหม่จึงมีจีโนม

เปลี่ยนแปลงจากเดิมมาก ทำให้มีคุณสมบัติเปลี่ยนไปกลายเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ขึ้น เกิดการ

ระบาดใหญ่ได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒oo๙ ที่มีการระบาดทั่วโลก

วารสารหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 502 ปีที่ 42 กุมภาพันธ์ 2564

27 May 2564

By STY/Lib

Views, 5508

 

Preset Colors