02 149 5555 ถึง 60

 

ผลวิจัยชี้พฤติกรรมคนไทยมีผลยับยั้งการระบาดโควิด-19

ผลวิจัยชี้ พฤติกรรมครัวเรือนไทย มีผลยับยั้งการระบาดโควิด-19

จากการเปิดเผยรายงานการวิจัยพฤติกรรมครัวเรือนไทย ช่วงที่มีการระบาดไวรัสโควิด-19 โดย ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยงานวิจัยดังกล่าวนี้ได้รับความร่วมมือจากจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อร่วมใช้ความรู้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างถูกต้องและเหมาะสม

ในงานวิจัยครั้งนี้ แบ่งการศึกษาคนไทยออกเป็น 4 กลุ่มคือ ผู้อยู่อาศัยในเขตเมือง (คนในเขตเมือง) ผู้อยู่อาศัยในเขตเมืองแต่รายได้น้อย (คนจนเมือง) ผู้อยู่อาศัยนอกเขตเมืองในต่างจังหวัด (คนชนบท) และผู้อยู่อาศัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คนชายแดนใต้) โดยศึกษาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของตนเองและการทำกิจกรรมร่วมกัน ศึกษาในช่วงเดือนมีนาคม 2563 ผ่านเครือข่ายวิจัยของกลุ่มสถาบันวิจัยระบบสุขภาพสาธารณสุข และเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฎทั่วประเทศ

ผลการศึกษาพบพฤติกรรมเชิงบวกที่ส่งผลต่อการป้องกันไวรัสโควิดได้อย่างดี

ผลการศึกษาพบว่า คนไทยทั่วประเทศ ติดตาม รับรู้ข้อมูลข่าวสาร และมาตรการป้องกัน จากฝ่ายสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด มีทัศนคติต่อข้อมูลเหล่านั้นดี และยินดีปฏิบัติตามคำแนะนำของรัฐ เช่น การไม่มีกิจกรรมร่วมกัน หรือไม่สังสรรค์ร่วมกัน คิดเป็น ร้อยละ 90 พฤติกรรมการไม่สัมผัสมือ คิดเป็น ร้อยละ 92 พฤติกรรมการล้างมือก่อนกินข้าวทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 80 และพฤติกรรมการอยู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 90

ข้อจำกัดที่ยังไม่ได้รับความร่วมมือพบได้บ้างแต่ตัวเลขไม่สูงมากนัก

ในขณะที่ผลการศึกษาบางรายการซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ยังไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน อาทิเช่น พฤติกรรมของคนจนเขตเมือง อย่างเช่น การมีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่แออัด หรือ การเข้าพื้นที่ตลาด หรือการใช้รถสาธารณะของคนจนเขตเมือง คิดเป็นร้อยละ 35 และ 22 ตามลำดับ ในขณะที่พฤติกรรมของคนเขตชายแดนใต้ ที่ยังใช้พื้นที่ร่วมกันทำกิจกรรมทางศาสนาพบได้กว่าร้อยละ 20

อย่างไรก็ตาม ดูจากผลการศึกษาครั้งนี้แล้วพบว่า ตัวเลขที่ให้ความร่วมมือในการป้องกันตนเองของประชาชนนั้นมีมากเทียบเป็นร้อยละแล้วอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 80-90 ในขณะที่ข้อจำกัดหลายข้อแม้จะไม่ได้รับความร่วมมือ ถือเป็นตัวเลขที่ไม่สูงเกินครึ่ง นับว่า ผลเป็นที่น่าพอใจ

กล่าวโดยสรุป

จากผลการศึกษาพฤติกรรมคนไทยในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ พบพฤติกรรมเชิงบวก ซึ่งส่งผลต่อการป้องกันตนเอง ที่สำคัญๆอาทิ พฤติกรรมการไม่มีกิจกรรมสังสรรค์ร่วมกัน การอยู่บ้าน การไม่สัมผัสมือ พบเกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ นั่นคือ พบพฤติกรรมดังกล่าวกว่าร้อยละ 80-90 ในขณะที่พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นข้อจำกัดของครอบครัว ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด และต้องอยู่ในตลาด และความเชื่อทางศาสนา ของกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ พบได้ร้อยละ 20-30 ซึ่งเป็นตัวเลขไม่สูงมากนัก แม้จะเป็นข้อจำกัด แต่ในภาพรวมประชาชนส่วนใหญ่ยังให้ความร่วมมือเพื่อป้องกันตนเอง และมีพฤติกรรมเพื่อการป้องกันที่เป็นผลดีต่อการลดการระบาดได้เป็นอย่างดี

แหล่งข้อมูล

งานวิจัยเผยแพร่ Behavioral Insights ของครัวเรือนไทยภายใต้สถานการณ์ COVID-19 เป็นงานวิจัย โดย ผศ. ดร. ธานี ชัยวัฒน์ และคณะ โดยการสนับสนุนร่วมกันระหว่าง คณะเศรษฐศาสตร์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เผยแพร่ เมื่อวันที่12 เมษายน พ.ศ.2563

22 April 2563

By nitayaporn.m

Views, 3304

 

Preset Colors