02 149 5555 ถึง 60

 

สถานการณ์การดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย/ ข้อแนะนำ

องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีคะแนนดัชนีแบบแผนการดื่มนี้เท่ากับ 3 ซึ่ง เทียบเท่าแบบแผนการดื่มที่เสี่ยงในระดับปานกลาง

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ข้อแนะนำสำหรับบุคคลที่ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์

จากหลักฐานทางวิชาการทั้งในประเทศและทั่วโลก ในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อุบัติเหตุ อันตรายต่างๆ ทั้งทางกาย และจิตใจ การทำร้ายร่างกายและเกิดความรุนแรงต่างๆปรากฏชัดเจนว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ไม่ว่าในรูปแบบใด เช่น เบียร์ สุรา ไวน์ ฯลฯ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะและโรคต่างๆ ดังกล่าว ทำให้คนไทยป่วยและตายก่อนวัยอันควรจำนวนมากในแต่ละปี และประเทศชาติต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์อันมีคุณค่ายิ่ง กระทรวงสาธารณสุขจึงออกคำแนะนำ กลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

1. เด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี

2. หญิงตั้งครรภ์ทุกระยะและหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

3. ผู้มีอาชีพขับขี่ยานพาหนะทุกประเภท และผู้มีอาชีพทำงานกับ เครื่องจักรกลหรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บ พิการและการเสียชีวิตของตนเอง และผู้อื่น โดยผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะในกิจวัตรส่วนตัว ควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อน 6 ชั่วโมง และขณะขับขี่

4. ผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้มีโรคประจำตัว หรือกำลังใช้ยารักษาโรค

5. ประชาชนทุกเพศทุกวัย การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลย เป็นแนวปฏิบัติที่ปลอดภัยที่สุดต่อสุขภาพ ครอบครัว และสังคม

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแบบแผนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย

จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบภาษี และการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2554-2558 พบว่า ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มเฉลี่ยต่อหัวประชากรไทยค่อนข้างคงที่ โดยอยู่ที่ประมาณ 6.8 ถึง 7.1 ลิตรของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อคนต่อปี ทั้งนี้ จากข้อมูลการสำรวจ พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2557 ประชากรชายไทยร้อยละ 47.03 และหญิงร้อยละ 87.08 ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ถ้าคิดเฉพาะคนที่ดื่มปริมาณแอลกอฮอล์ ที่ดื่มเฉลี่ยต่อหัวประชากรเท่ากับ 21.03 ลิตรต่อผู้ดื่มหนึ่งคนต่อปี ประชากรไทยนิยมดื่มเหล้า (รวมถึงสุราขาว สุราสี สุรากลั่นชุมชน และสุราแช่พื้นบ้าน) มากที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 81.21 ของปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ที่ดื่มเฉลี่ยต่อหัวประชากร ส่วนเบียร์ คิดเป็นร้อยละ 18.23 และไวน์, ไวน์คูลเลอร์ แชมเปญ เหล้าปั่น สุราผสมน้ำผลไม้ ยาดองเหล้ารวมกันเป็นร้อยละ 0.56

จากการสำรวจดังกล่าวในปี พ.ศ. 2557 พบว่า คนไทยประมาณครึ่งหนึ่ง เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชีวิต และประมาณหนึ่งในสามคนดื่มในปัจจุบัน

1. ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 17.70 ล้านคน (ร้อยละ 34.5 ของประชากรวัยผู้ใหญ่) เป็นผู้ดื่มปัจจุบัน หรือผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา จำแนกเป็นประชากรชาย 14.05 ล้านคน (ร้อยละ 52.97 ของประชากรชายอายุ 15 ปีขึ้นไป) และประชากรหญิง 3.66 ล้าน คน (ร้อยละ 12.92 ของประชากรหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป)

2. ประชากรประมาณ 29.89 ล้านคน (ร้อยละ 54.51) ไม่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยในชีวิต

3. ประชากรประมาณ 7.23 ล้านคน (ร้อยละ 13.2) เป็นผู้ที่เคยดื่มแต่ไม่ได้ดื่มในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

4. ประชากรประมาณ 7.51 ล้านคน (ร้อยละ 13.69 ของประชากรวัยผู้ใหญ่) เป็นผู้ดื่มประจำ หรือดื่มอย่างน้อย หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งจำแนกเป็นนักดื่มประจำชาย 6.85 ล้านคน (ร้อยละ 25.82 ของประชากรชาย) และนักดื่มประจำหญิง 0.66 ล้านคน (ร้อยละ 2.33 ของประชากรหญิงอำยุ 15 ปีขึ้นไป)

5. ประชากรประมาณ 1.22 ล้านคน (ร้อยละ 16.25 ของนักดื่มปัจจุบัน) เป็นผู้ดื่มทุกวันหรือเกือบทุกวัน

6. ประชากรประมาณ 2.33 ล้านคน (ร้อยละ 3.98 ของนักดื่มปัจจุบัน) เป็นผู้ดื่มหนัก ซึ่งหมายถึงการดื่มปริมาณมาก (ประมาณห้าหน่วยดื่มมาตรฐานขึ้นไป) ในครั้งเดียว อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ และ 5.32 ล้านคน (ร้อยละ 30.04 ของนักดื่มปัจจุบัน) เป็นผู้ดื่มหนักนานๆครั้ง

7. นักดื่มปัจจุบันร้อยละ 39.12 และร้อยละ 31.72 นิยมดื่มที่บ้านตนเองและบ้านของคนอื่น ร้อยละ 16.19 ดื่มที่สโมสรหรืองานเลี้ยงต่างๆ ส่วนอีก ร้อยละ 8.34 และ ร้อยละ 1.81 นิยมดื่มที่ร้านอาหารและในผับ/บาร์/คาราโอเกะ ตามลำดับ

8. อายุเฉลี่ยในการเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นครั้งแรกของนักดื่มประจำเท่ากับ 20.52 ปี (พิสัย 7-72 ปี)

9. เหตุผลที่เริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นครั้งแรก ได้แก่ เพื่อเข้าสังคมและการสังสรรค์ร้อยละ 42 ตำมอย่างเพื่อนหรือเพื่อนชวนดื่ม ร้อยละ 27 และอยากทดลองดื่มร้อยละ 24

เมื่อดูตามดัชนีคะแนนแบบแผนการดื่ม (Patterns of drinking score) ซึ่งเป็นคะแนนที่สะท้อนว่า ประชาชนในประเทศนั้นดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างไรและดื่มมากน้อยเพียงไร โดยวัดจากตัวแปรหกตัว ได้แก่ 1. ปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดื่มในช่วงปกติต่อครั้ง 2. การดื่มในเทศกาล 3 สัดส่วนของกิจกรรมการดื่มที่มีคนดื่มแล้วเมา 4. สัดส่วนของผู้ดื่มซึ่งดื่มทุกวัน หรือเกือบทุกวัน 5 การดื่มพร้อมมื้ออาหาร และ6 การดื่มในที่สาธารณะ

คะแนนสูงสุดเท่ากับ 5 แสดงว่าประเทศนั้นมีแบบแผนการ ดื่มแบบเสี่ยงอันตรายสูงมากซึ่งสัมพันธ์กับภาระโรคจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย และคะแนน 1 เท่ากับแบบแผนการดื่มที่เสี่ยงอันตรายน้อยที่สุด องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีคะแนนดัชนีแบบแผนการดื่มนี้เท่ากับ 3 ซึ่ง เทียบเท่าแบบแผนการดื่มที่เสี่ยงในระดับปานกลาง

กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 เพื่อให้ข ข้อแนะนำบุคคลที่ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ข้อแนะนำนี้ถูกจัดทำขึ้นครั้งแรกเพื่อเป็นเอกสารประกอบการประชุมเพื่อรับการพิจารณาและรับรองข้อแนะนำโดยผู้แทนจากองค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพได้แก่ ราชวิทยาลัย วิทยาลัย และสมาคมแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆ รวมทั้งผู้แทนจากภาคประชาชน และประชาสังคม ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้เกียรติเป็นประธาน นำไปสู่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ....รายละเอียด สามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้ตามลิงก์นี้ค่ะ

17 September 2561

By nitayaporn.m

Views, 17249

 

Preset Colors