02 149 5555 ถึง 60

 

ดัชนีโลกมีสุข ไทยครองอันดับสูงสุดในปี 2018

ดัชนีโลกมีสุข ไทยครองอันดับสูงสุดในปี 2018

ประเทศไทยในปัจจุบันจัดเป็นปรเทศที่ได้รับคะแนนความอยู่ดีมีสุขสูงสุดจากค่าคะแนนการจัดอันดับ ดัชนีโลกมีสุข ปี 2018 ร่วมกับประเทศที่ร่ำรวยและมีธรรมชาติที่สวยงาม เป็นที่ใฝ่ฝันของคนทั่วโลกให้ไปเยือน ดังเช่น ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย คานาดา นิวซีแลนด์ เป็นต้น

ดัชนีโลกมีสุข มีที่มาที่ไปอย่างไร และวัดอย่างไร

ดัชนีโลกมีสุข (The Happiness Planet Index) หรือชื่อย่อว่า HPI เป็นดัชนีวัดที่ค่อนข้างใหม่ที่มูลนิธิเศรษฐศาสตร์ใหม่ (New Economics Foundation) ซึ่งเป็นคณะผู้เชี่ยวชาญอิสระที่จัดตั้งขึ้นในประเทศสหราชอาณาจักรเมื่อปี พ.ศ. 2529 มูลนิธินี้ได้จัดพิมพ์รายงานมาแล้ว 3 ฉบับ นับตั้งแต่เริ่มต้นสร้างดัชนีโลกมีสุขขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยเป็นตัววัดประสิทธิภาพซึ่งแสดงความอยู่ดีมีสุขจากประสบการณ์คูณด้วยอายุขัย ในรูปอัตราส่วนต่อรอยเท้านิเวศน์:

ดัชนีโลกมีสุข= (ความอยู่ดีมีสุขจากประสบการณ์ x อายุขัย) / (รอยเท้านิเวศน์)

รอยเท้านิเวศน์ (Ecological Footprint) คือ การวัดผลกระทบของกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ส่งผล กระทบต่อระบบนิเวศน์ โดยคำนวณจากปริมาณการบริโภค และปริมาณขยะที่เกิดขึ้น แล้วเทียบกับอัตราการ ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ ทั้งนี้ เนื่องจากในช่วงนี้ปริมาณทรัพยากรมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หากมีการบริหารจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ดีพอ ...

กล่าวคือ ตัวชี้วัดนี้วัดความยาวนานและคุณภาพชีวิตมนุษย์ต่อหน่วยของผลกระทบที่เกิดจากมนุษย์ ยิ่งตัวเลขสูง ชีวิตของประชาชนยิ่งดี โดยสัมพันธ์กับความเครียดที่ประชาชนประสบ

ส่วนประกอบ “ความอยู่ดีมีสุขจากประสบการณ์” ของตัวชี้วัดมาจากข้อมูลที่รวบรวมในการสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกของแกลลัป (Gallup World Poll) ซึ่งใช้แบบสอบถามที่ดำเนินการเก็บตัวอย่างที่เป็นตัวแทนประชากรประเทศ การสำรวจความคิดเห็นโดยใช้คำถาม “บันไดชีวิต” (Ladder of Life) อย่างง่ายทีมีอัตราส่วนตั้งแต่ 0 ถึง 10

โดย 0 บ่งว่า ผู้ตอบแบบสอบถามใช้ชีวิตอยู่ในสถานการณ์ที่แย่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และ 10 บ่งถึงสถานการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ส่วนประกอบ “อายุขัย” มาจาก รายงานการพัฒนาคนของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Development Program Human Development Report) และประมาณอายุขัยเฉลี่ยของประชาชนในแต่ละประเทศ

ส่วนประกอบ “รอยเท้านิเวศ” มาจากข้อมูลที่รายงานไว้ในรอยเท้าชาติของเครือข่ายรอยเท้าโลก (Global Footprint Networks National Footprint) และวัดปริมาณที่ดินและทรัพยากรในประเทศที่ประชาชนใช้ไป

รายงานออกมาเมื่อปี พ.ศ. 2555 จาก 151 ประเทศที่บันทึกเอกสารหลักฐานไว้ในด้านดัชนีโลกมีสุข พบว่า ประเทศที่อยู่ในอันดับที่สูงสุดได้แก่ คอสตาริกา เวียดนาม และโคลัมเบีย ในขณะที่สหรัฐอเมริกาอยู่อันดับที่ 105 ซึ่งหลักๆแล้วเป็นเพราะรอยเท้านิเวศน์มีค่าสูง มูลนิธิเศรษฐศาสตร์ใหม่จึงเตือนให้ระวังว่า รายงานเป็นงานที่ยังดำเนินการอยู่ และไม่ได้นับด้านที่สำคัญ เช่น สิทธิมนุษยชน การกระจายรายได้และความมั่งคั่ง การเข้าถึงโอกาส

รายงานล่าสุด ปี ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) ข้อมูลจัดลำดับดัชนีชี้วัดประเทศอยู่ดีมีสุขของโลก (HPI) ใน 157 ประเทศ ซึ่งมีข้อมูลเพิ่มเข้ามาอีก 6 ประเทศ (จากปี 2555 ที่มีเพียง 151 ประเทศ) โดยประเทศไทยมีค่า HPI อยู่ในกลุ่มตัวเลขสูงสุดคือ มากกว่า 7 ขึ้นไป ทั้งนี้โดยมีค่าคะแนนสูงสุดร่วมกับประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย คานาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเช่น เวียดนาม ที่เคยครองอันดับสูงสุด หล่นลงมาอยู่ในกลุ่มตัวเลขระดับรองลงมาคือ มีค่า HPI อยู่ระหว่าง 6-6.5 ทั้งนี้ประเทศในกลุ่มอาฟริกาและตะวันออกกลางส่วนใหญ่จะมีค่า HPI อยู่ที่ตัวเลขระหว่าง 3-4.5 ซึ่งเป็นกลุ่มตัวเลขต่ำสุด

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ http://worldhappiness.report/ed/2018/ ค่ะ

********************************************************************

แหล่งข้อมูล

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ จากความโลภสู่ความอยู่ดีมีสุข (From Greed to Wellbeing) โครงการกำลังใจ โดย สำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม หน้า 127-128. จากการสัมมนาวิชาการ “การเสพติด ย้อนอดีตสู่อนาคต ปัญหาและทางออก” วันที่ 9-10 สิงหาคม 2561 ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซนทาราแกรนด์ กรุงเทพมหานคร.

https://World_Happiness_Report#/media/File:Happiness_score_of_countries_according_to_the_World_Happiness_Report_(2018)

15 August 2561

By nitayaporn.m

Views, 4723

 

Preset Colors