02 149 5555 ถึง 60

 

พันธสัญญาร่วมจัดการยาเสพติด

จากการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ในวาระพิเศษว่าด้วยสารเสพติดปี (2016: United Nations General Assembly Special Session on Drugs (UNGASS)) ระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา ที่ประชุมสมัชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้พิจารณาผลสัมฤทธิ์ตลอดจนผลกระทบต่างๆจากระบบควบคุมสารเสพติดระหว่างประเทศ (International Drug Control System) และพลวัตของตลาดสารเสพติดผิดกฎหมาย (Dynamics of Illicit Drug Marget) มีมติรับรองผลการประชุมตามเอกสารที่ใช้ชื่อว่า “พันธสัญญาร่วมเพื่อจัดการและตอบโต้ปัญหายาเสพติดโลกอย่างมีประสิทธิผล (Joint Commitment to effectively Addressing and Countering the World Drug Problem)

เป็นที่น่ายินดีว่าในส่วนของประเทศไทยนั้น ผลลัพธ์การประชุมครั้งนี้ได้คำนึงถึงโลกแห่งความเป็นจริง ตลอดจนพลวัตของปัญหายาเสพติดโลกยิ่งกว่าที่ผ่านมา โดยไม่ปรากฏคำว่า “โลกที่ปราศจากยาเสพติด ( Drug free world) อีกต่อไป แต่ปรากฏคำใหม่ว่า “สังคมที่ปราศจากการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิด (A society free of drug abuse) แทน พร้อมกับหลากหลายมาตรการเพื่อสนับสนุนพันธสัญญาร่วมดังกล่าว อาทิในประเด็น “ยาและสุขภาพ (Drug and Health)

โดยสาระสำคัญคือ ได้มีข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการลดอุปสงค์และมาตรการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการป้องกันบำบัดรักษา ตลอดจนประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอื่นๆ ได้แก่

1. การป้องกันการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิด (Prevention of drug abuse) ซึ่งรวม การบำบัดรักษาความผิดปกติจากการใช้สารเสพติด การฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อกลับสู่สังคม

2. การป้องกัน บำบัดรักษา ดูแลเชื้อไวรัสเอชไอวี/เอดส์ ไวรัสตับอักเสบ และโรคติดต่อทางเลือดอื่นๆ โดยมีข้อสรุปคือ ได้ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการเพื่อรับรองถึงการมีอยู่และการเข้าถึงสารควบคุม เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในประเด็นการป้องกันเพื่อการใช้ยาผิดประเภท

3.ประเด็นยาเสพติดและอาชญากรรม (Drugs and Crime) ได้ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการในการลดอุปทานในมาตรการที่เกี่ยวข้อง การบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ การตอบโต้อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด การป้องกันการฟอกเงิน

4. การป้องกันการลักลอบค้ายาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เป็นต้น

5. ประเด็นยาเสพติดและสิทธิมนุษยชน คนหนุ่มสาว เด็ก สตรี และชุมชน

6. การจัดการและตอบโต้ปัญหายาเสพติดโลก ความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงไป จากรายงานและผลการศึกษาวิจัยจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง, แนวโน้มและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ภัยคุกคามที่เกิดขึ้น

7. การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแบ่งปันความรับผิดชอบร่วมกัน ความร่วมมือทางเทคนิค

8. สารกระตุ้นประสาทชนิดใหม่ (ที่สอดคล้องกับอนุสัญญาการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ) ได้แก่สารกระตุ้นประสามแอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน การนำสารที่ควบคุมออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทไปใช้ในทางที่ผิด สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่ใช้ทางการแพทย์

ทั้งนี้ในบริบทประเทศไทย ผู้เกี่ยวข้องหลาย ได้นำหลักการดังกล่าวข้างต้นเพื่อนำไปสู่หลักการร่างประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ สำหรับประเทศไทยขึ้น ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการเพื่อบรรจุเป็นวาระการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไปแล้วนั้น โดยหลักการดังกล่าว ได้มีการดำเนินการที่สอดคล้องกับสากลตามพันธสัญญาระหว่างประเทศ โดยคำนึงถึง การลงโทษที่ได้สัดส่วน (Proportionality of Sentencing for Drug Offences) โดยยึดหลักผลการศึกษาทางวิชาการที่ได้เผยแพร่ในระดับโลกดังปรากฏในรายงานศึกษา “เมทแอมเฟตามีน ความจริง นวนิยาย และบทเรียนของโรคประสาทผวาดผวาจากโคเคนรูปแบบผลึก (Methamphetamine: Fact vs. Fiction and Lessons from the Crack Hysteria) ฉบับปรับปรุงใหม่ โดย Carl L. Heart นักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยาและจิตวิทยา (Neuroscience and Psychology ) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะนำเสนอในต่อนต่อไปค่ะ.......

อย่างไรก็ตาม สาระสำคัญเพื่อการดำเนินการปฎิบัติอย่างจริงจัง ได้สอดคล้องกับทิศทางนโยบายการแก้ปัญหายาเสพติดในหลายประเทศทั่วโลกนั้น ปัจจุบันความคืบหน้าและสาระสำคัญของ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2560 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 5ก 15 มกคราคม 2560.

แหล่งข้อมูล:

1. พันธสัญญาร่วมของเราเพื่อจัดการและตอบโต้ปัญหายาเสพติดอย่างมีประสิทธิผล. โครงการกำลังใจในพระดำริ; 2559 หน้า 2-7.

2. พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 5 ก หน้า 8; 15 มกราคม 2560.

5 June 2561

By Mongkol N.

Views, 4908

 

Preset Colors