02 149 5555 ถึง 60

 

ติดโควิด-19 แล้วไม่จบ เชื่อมโยงภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็กเล็ก

ติดโควิด-19 แล้วไม่จบ เชื่อมโยงภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็กเล็ก

ผลเผยการวิจัย การติดเชื้อโรคโควิด-19 กับความผิดปกติของตับในเด็กเล็ก เชื่อมโยงภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็กเล็ก พร้อมแนะวิธีสังเกตอาการ

วันที่ 17 พ.ค. 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยผลการวิจัยจาก ทีมวิจัยโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เรื่อง การติดเชื้อโรคโควิด-19 กับความผิดปกติของตับในเด็กเล็ก

โดยระบุว่า ทีมวิจัยจากโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ศึกษาในเด็กอายุ 1-10 ปี จำนวนถึง 796,369 คน โดยมีเด็ก 245,675 คนที่ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ตั้งแต่มีนาคม 2020 ถึงมีนาคม 2022 เปรียบเทียบกับเด็ก 550,694 คนที่ติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรคโควิด-19 ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน

ผลการศึกษาพบว่า แม้จะผ่านไปแล้วนานถึง 6 เดือน เด็กที่ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 นั้นจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาค่าเอนไซม์ตับสูง มากกว่ากลุ่มเด็กที่ติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจชนิดอื่นๆ ถึง 2.52 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 2.03 เท่า-3.12 เท่า) จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาค่า total bilirubin สูง มากกว่ากลุ่มเด็กที่ติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจชนิดอื่นๆ ถึง 3.35 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 2.16 เท่า-5.18 เท่า)

งานวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการติดเชื้อโรคโควิด-19 ในเด็กว่า จะเกิดผลกระทบตามมาระยะยาวหลังการติดเชื้อ

ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวจะเชื่อมโยงไปถึงความสัมพันธ์ของการติดเชื้อโรคโควิด-19 กับปัญหาภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็กเล็กที่พบทั่วโลกขณะนี้หรือไม่ คงต้องติดตามดูกันต่อไป อย่างไรก็ตาม การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

ขณะที่ พญ.พรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ เจ้าของเพจ เรื่องเด็กๆ by หมอแอม โพสต์ข้อความว่า พบ ตับอักเสบปริศนา

1. ช่วงเดือนเมษายน 2565 องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า พบเด็กนับร้อยราย จู่ๆ ก็เป็นตับอักเสบเฉียบพลัน "แบบรุนแรง" มีเด็กต้องเปลี่ยนตับและบางรายเสียชีวิตในหลายประเทศแถบตะวันตก

2. ช่วงเดือนพฤษภาคม เริ่มมีรายงานเคสในแถบเอเชีย ล่าสุดพบเด็ก (อายุ < 16 ปี) เป็นตับอักเสบปริศนา มากกว่า 450 ราย เสียชีวิต 11 ราย

3. ซึ่งเป็นที่ งง-งวย ของทั่วโลก เพราะปกติแล้ว ตับอักเสบจากการติดเชื้อ มักเกิดจากเชื้อตับอักเสบ hepatitis virus (เช่นที่เราฉีดวัคซีนกัน = hepatitis A,B) แต่ครั้งนี้ เคสไหนๆ ก็ตรวจไม่เจอเจ้าเชื้อตับอักเสบเจ้าเก่าของเราเลย

4. แต่กลับพบเชื้อ adenovirus ที่ปกติเจ้าตัวนี้ ไม่ทำอันตรายกับตับเรา และ/หรือพบหลักฐานการติดเชื้อโอมิครอนในเด็กๆ เหล่านี้แทน

ล่าสุดยังไม่รู้สาเหตุ แต่สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากเชื้อ adenovirus กลายพันธุ์ หรือโอมิครอนทำให้เชื้อรุนแรงขึ้นแล้วมีผลที่ตับ หรือจากภาวะลองโควิด (ยังเป็นแค่สันนิษฐาน ทั่วโลกกำลังเร่งหาสาเหตุ) ทำให้ตอนนี้ยังไม่สามารถหาวิธีป้องกันได้ เพราะยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัด

สำหรับอาการที่ต้องสังเกต มีดังนี้

ปวดท้อง

คลื่นไส้อาเจียน

ถ่ายเหลว

ตรวจพบเอนไซม์ตับสูงขึ้น

ตาเหลืองตัวเหลือง

อย่างไรก็ตาม วัคซีนตับอักเสบที่เราฉีดกัน และฉีดให้ลูก เป็นวัคซีนตับอับเสบจากเชื้อ hepatitis virus ซึ่งภาวะตับอักเสบนี้ ไม่ได้เกิดจากเชื้อในวัคซีน แปลง่ายๆ คือ วัคซีนตัวนั้นไม่ช่วยตับอักเสบกรณีนี้ เพราะคนละเชื้อ คนละสาเหตุกัน

18 May 2565

ที่มา ไทยรัฐ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 978

 

Preset Colors