02 149 5555 ถึง 60

 

เมื่อเป็น "ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง" ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อลดการแพร่ระบาด

เมื่อกลายเป็น "ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง" ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อลดการแพร่ระบาด เผยแนวทางการปฏิบัติ ทั้งการกักตัวและสังเกตอาการ

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่ข้อมูล แนวทางปฏิบัติ "ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง" สำหรับผู้ที่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 เช่น ทานอาหาร ดื่มสุรา อยู่ในสถานที่ระบบปิด โดยไม่สวมหน้ากาก ขณะอยู่ร่วมกับผู้ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจจะกลับมาระบาดได้ทุกเมื่อ

เมื่อกลายเป็น "ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง" ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อลดการแพร่ระบาด เผยแนวทางการปฏิบัติ ทั้งการกักตัวและสังเกตอาการ

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่ข้อมูล แนวทางปฏิบัติ "ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง" สำหรับผู้ที่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 เช่น ทานอาหาร ดื่มสุรา อยู่ในสถานที่ระบบปิด โดยไม่สวมหน้ากาก ขณะอยู่ร่วมกับผู้ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจจะกลับมาระบาดได้ทุกเมื่อ

โดยได้แบ่งผู้ป่วยออกได้ 3 กลุ่ม คือ

1. ผู้ป่วยเข้าข่าย (Probable cases) พบผลบวก ตรวจด้วย ATK

2. ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed cases) พบผลบวก ตรวจด้วย RT-PCR

3. ผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการ พบผลบวก ตรวจด้วย RT-PCR/ATK

กักตัวที่บ้าน 5 วัน

- กักตัวอยู่ที่บ้าน ตรวจสอบอาการป่วยทุกวัน

- ตรวจ ATK วันที่ 5 หลังสัมผัสผู้ป่วยครั้งสุดท้าย

- หากมีอาการตรวจ ATK ทันที

หากพบติดเชื้อด้วย ATK ให้ลงทะเบียน โทร. 1330 สปสช. เพื่อรับการดูแลแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักกันตนเอง (Out-Patient with Self Isolation)

สังเกตอาการตนเอง 5 วัน

- สามารถออกนอกพื้นที่ได้

- ตรวจ ATK วันที่ 10 หลังสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยครั้งสุดท้าย

ทั้งนี้ "ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง" เมื่ออยู่ในช่วงสังเกตอาการ สามารถทำได้ ดังนี้

1. ไปทำงานได้ แยกพื้นที่กับผู้อื่น

2. ปฏิบัติตามมาตรการ Universal Prevention

3. งดไปสถานที่สาธารณะ

4. งดร่วมกิจกรรม รวมกลุ่มคนจำนวนมาก

5. งดใช้ขนส่งสาธารณะ

12 May 2565

ที่มา คม-ชัด-ลึก

Posted By Thongpet, Maneewan, Kanchana

Views, 523

 

Preset Colors