02 149 5555 ถึง 60

 

ภาวะลองโควิด แม้หายป่วยแล้ว ยังมีอาการอะไรบ้าง

ภาวะลองโควิด แม้หายป่วยแล้ว ยังมีอาการอะไรบ้าง

ผู้ป่วยโควิดที่มีผลตรวจเป็นลบ อย่าเพิ่งชะล่าใจ แม้จะหายแล้ว แต่ยังมีอาการจากภาวะลองโควิด เกิดขึ้นตามมาได้

วันที่ 5 เมษายน 2565 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า “ภาวะลองโควิด” มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ติดเชื้อโควิด-19 แม้ว่าจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการในช่วงแรกก็ตาม โดยอาการเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นทันทีหลังจากที่ผู้ป่วยฟื้นตัวจากการติดเชื้อโควิด-19 แบบเฉียบพลัน หรืออาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ที่เริ่มป่วยและยังคงไม่หายไป

ด้านองค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 (ทั้งที่ได้รับการยืนยันและสงสัยว่าติดเชื้อ) ควรได้รับการดูแลและติดตาม หากพบว่าตนมีอาการเรื้อรัง อาการใหม่ หรืออาการที่เปลี่ยนแปลงไป และควรได้รับการดูแลในหลายมิติ ทั้งจากผู้ให้บริการปฐมภูมิ (บุคลากรทางการแพทย์) ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าที่จิตสังคม และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

ลองโควิด ยังไม่มีการรักษา

ส่วนการรักษาเฉพาะอาการลองโควิด องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ยังไม่มี เพราะยังไม่เข้าใจสาเหตุและการก่อตัวของอาการ อย่างไรก็ตาม หากเข้าใจกลไกของโรคได้ดีขึ้น ก็จะสามารถพัฒนาวิธีการรักษาที่ตรงจุดได้ ซึ่งขณะนี้กำลังทำงานอย่างเร่งด่วนกับนักวิจัยเพื่อปรับปรุงระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลและการรายงานเกี่ยวกับภาวะหลังโควิด-19

ทั้งนี้ โครงการศึกษาภาวะหลังโควิด- 19 (Post-COVID Condition Core Outcomes) จะศึกษาผู้ป่วยที่มีอาการลองโควิดและค้นหาว่า มีปัจจัยใดบ้างที่ต้องวัดผลเพื่อทำความเข้าใจและรักษาอาการดังกล่าว

ฉีดวัคซีนลดความเสี่ยงลองโควิด ?

แม้จะยังไม่มีการรักษา แต่จะสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงจากภาวะลองโควิดได้หรือไม่นั้น อัลจาซีราห์รายงานว่า ข้อมูลจากการศึกษาหนึ่งพบว่า การฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วนช่วยลดโอกาสที่บุคคลจะป่วยลองโควิด

โดยในจำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบถ้วน 592 คนที่ติดเชื้อโควิด มี 31 คนที่เป็นลองโควิด (การแสดงอาการเจ็บป่วยที่มีระยะเวลา 28 วัน หรือมากกว่า หลังจากผลตรวจเป็นบวก) หรือคิดเป็น 5% ของทั้งหมด ขณะที่ในกลุ่มผู้ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ตัวเลขนี้อยู่ที่ประมาณ 11% ซึ่งบ่งชี้ว่า วัคซีนสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดลองโควิดได้

ลองโควิดพบบ่อยแค่ไหน

ผู้ป่วยโควิด-19 ประมาณร้อยละ 10-20 จะยังคงมีอาการเรื้อรังเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนหลังจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 แบบเฉียบพลัน

เช็กอาการลองโควิด

อาการที่พบบ่อยที่สุด 3 อันดับแรกของภาวะลองโควิด ได้แก่ หายใจไม่อิ่ม สมองล้า และอ่อนเพลีย ส่วนอาการที่พบไม่บ่อย ได้แก่ เจ็บหน้าอก มีปัญหาในการพูด วิตกกังวลหรือซึมเศร้า ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ สูญเสียการได้กลิ่นและการรับรู้รสชาติ

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกัน ไม่มีลักษณะตายตัว โดยอาการภาวะลองโควิด มีดังนี้

7 April 2565

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 409

 

Preset Colors