02 149 5555 ถึง 60

 

หมอเด็ก แนะ เล่านิทาน แบบไหน ลูกได้ประโยชน์สูงสุด ได้เปิดความคิด จินตนาการ

หมอเด็ก แนะ เล่านิทาน แบบไหน ลูกได้ประโยชน์สูงสุด ได้เปิดความคิด จินตนาการ

หมอเด็ก แนะ ‘เล่านิทาน’ แบบไหน ลูกได้ประโยชน์สูงสุด ได้เปิดความคิด จินตนาการ

หมอเด็ก แนะ ‘เล่านิทาน’ แบบไหน ลูกได้ประโยชน์สูงสุด ได้เปิดความคิด จินตนาการ

หลายคนคงทราบประโยชน์การเล่านิทาน หรืออ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังว่ามีประโยชน์มากแค่ไหน เนื่องในงาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 20” จัดขึ้นแล้วตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 6 เมษายน 2565 เวลา 10.00-21.00 น. ณ สถานีกลางบางซื่อ

มาย้ำถึงประโยชน์นี้อีกครั้ง กับวิธีเล่านิทานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เป็นสาระน่ารู้โดย ผศ.นพ.วรวุฒิ เชยประเสริฐ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แนะนำผ่านเพจ เลี้ยงลูกตามใจหมอ ความตอนหนึ่งว่า มีงานวิจัยที่นำเสนอในที่ประชุมนานาชาติน่าาสนใจมากเกี่ยวกับ “การตอบสนองของสมองเด็ก” ต่อ “สิ่งกระตุ้น” นั่นคือ “นิทาน”

โดยเอาเด็ก 27 คนอายุเฉลี่ย 4 ขวบมาเข้าเครื่อง functional MRI เพื่อดูการตอบสนองของสมอง ตอนฟังนิทาน 3 แบบ

มาเป็นเสียงเล่า (ใช้เสียงเล่านิทานอย่างเดียว)

หนังสือนิทาน +เสียง (illustration with voice over)

การ์ตูน animation

เขาพบว่า แบบแรก คือ “เล่าให้ฟังอย่างเดียว” สมองส่วนรับรู้ภาษาจะตอบสนองเพียงส่วนเดียวเป็นหลัก โดยไม่ค่อยเชื่อมโยงออกไปที่สมองส่วนอื่น (too cold) นั่นหมายความว่า “เด็กอาจจะพยายามอย่างยิ่งที่จะเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน” ซึ่งอาจจะไม่ได้เข้าใจมากนัก

แบบที่สาม คือ มาเป็นภาพ animation มีเสียงมีภาพเป็นหนังการ์ตูนให้เด็กดู พบว่า สมองส่วน “ฟัง รับรู้ภาษา” และสมองส่วน “มองเห็น” ตอบสนองอย่างมาก คลื่นสมองวิ่งวุ่นไปหมด (too hot) แต่ไม่เชื่อมโยงไปยังสมองส่วนอื่น ๆ นัก นั่นหมายความว่า

“สมองส่วนการรับรู้ภาษา พยายามอย่างยิ่งที่จะรับและติดตามเนื้อเรื่องของนิทานอย่างมาก ต้องพยายามแปลทั้งภาพและภาษาที่ได้รับพร้อม ๆ กัน”

ซึ่งแย่ที่สุด ในทั้งสามแบบครับ ในแง่ความเข้าใจและการเรียนรู้

การศึกษานี้เขาพบว่า #หนังสือนิทานดีที่สุด

หมอเด็ก แนะ ‘เล่านิทาน’ แบบไหน ลูกได้ประโยชน์สูงสุด ได้เปิดความคิด จินตนาการ

เขาพบว่า ยามที่เด็กเห็นภาพ “สมองส่วนภาษามีการทำงานลดลง” อย่างชัดเจน เพราะแทนที่เด็กจะไป “จดจ่อ” กับทุกคำที่ได้ยิน รูปภาพนิ่งกลับเป็นหลักยึดเนื้อเรื่องให้เข้าใจได้โดยง่ายครับ

นอกจากนั้น ยังพบว่า สัญญาณประสาทเกิดความเชื่อมโยงไปยังสมองส่วนต่าง ๆ มากที่สุดด้วยภาพนิ่ง (หนังสือนิทาน)

ที่สำคัญ ภาพนิ่ง (หนังสือนิทาน) เปิดความคิด และจินตนาการได้มากกว่ามากครับ จนบางครั้ง ตอนเด็กเริ่มโตขึ้น เพียงแค่ยื่นหนังสือนิทานให้ เด็กก็เข้าใจได้เอง และต่อยอดต่อได้เองเสียด้วยซ้ำครับ บางบ้านลูกเล่าให้พ่อแม่ฟังเสียด้วยซ้ำครับ

รักลูก อ่านนิทานให้ลูกฟังทุกวันนะครับ รักลูก อย่าเพิ่งให้ลูกดูหน้าจอใด ๆ ก่อนสองขวบ หากทำได้ (ซึ่งยากมาก)​ เอายาวๆ ถึง 6 ขวบได้จะดีมากครับ

หากไม่ไหว หลังสองขวบ ดูแบบจำกัดเวลาและชนิดของสื่อ (พ่อแม่ต้องเลือกให้) และต้องดูด้วยกันเสมอ (บ้านพ่อหมอก็อาจจะเป็นทางเลือกนี้ ยังงง ๆ อยู่)

28 March 2565

ที่มา มติชนรายวัน

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 262

 

Preset Colors