02 149 5555 ถึง 60

 

วิตามิน บี อาหารเสริมที่ช่วยลดการเกิดภาวะ ใหลตาย

วิตามิน บี อาหารเสริมที่ช่วยลดการเกิดภาวะ ใหลตาย

หลังจากที่นักแสดงวัยรุ่น บีม-ปภังกร ฤกษ์เฉลิมพจน์ ที่มีผลงานมากมาย อาทิ น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์, สัมผัสพิศวง ตอน โจ๋ผู้กล้า , ซีรีส์เคว้ง ที่ฉายทางเน็ตฟลิกซ์ ฯลฯ ได้เสียชีวิตอย่างกะทันหัน

โดยในเบื้องต้นทางแพทย์แจ้งว่าสาเหตุการเสียชีวิตของ บีม ปภังกร เกิดจาก “หัวใจล้มเหลว” ในขณะนอนหลับ ซึ่งจะต้องรอการวินิจฉัยให้แน่ชัดอีกครั้ง แต่ประเด็นที่คนสนใจ คือ ภาวะคล้ายๆกันนี้ เกิดขึ้นกับคนไทยปีนึงเยอะอยู่ ซึ่งเราจะเรียกอาการแบบนี้ว่า โรคใหลตาย ส่วนในทางการแพทย์จะเรียกว่า brugada syndrome บรูกาดาซินโดรม

มักพบในชาย วัยทำงาน อายุช่วง 25-55 ปี อาการคือ จู่ๆจะเกิดการเต้นของหัวใจห้องล่างแบบผิดปรกติ ซึ่งอาจเกิดจากตัวกระตุ้นบางอย่าง เช่น เป็นไข้ ไม่สบาย เกลือแร่ในร่างกายผิดปรกติ ซึ่งหากเป็นนานและไม่กลับมาเป็นการเต้นแบบปรกติ ก็จะทำให้เสียชีวิตได้

โรคนี้ พบในคนไทยเยอะมาก จากสถิติ อยู่ที่ 40 คน ต่อ แสนคนครับ ปัจจุบันกำลังมีสถาบันวิจัย ศึกษาพันธกรรมคนไทย เพื่อศึกษาโรคนี้อยู่

โดยทางการแพทย์ ระบุว่า โรคใหลตาย มีสาเหตุที่สำคัญจาก ภาวะร่างกายขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคมี 2 ประการด้วยกัน ได้แก่ การบริโภคอาหารที่มีสารพิษวันละเล็กน้อย จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ปัจจัยต่อมาคือการขาดสารอาหารที่เป็นวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดีๆ รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอน เมื่อหลับแล้วก็หัวใจวายตายเกือบจะทันที โดยโรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการ และสุขนิสัยการกินที่ผิด

ล่าสุด หลังจากเกิดข่าวการเสียขีวิตของนักแสดงดัง ส่งผลให้คนไทย หันมาสนใจเรื่องสาเหตุของโรคนี้มากขึ้น และยอดการค้นหาเกี่ยวกับ วิตามิน บี เพิ่มสูงขึ้นมาก

เมื่อทราบแล้วว่า วิตามิน บี ช่วยป้องกันการเกิดภาวะไหลตาย แล้ว อาหารประเภทไหนบ้างที่มี วิตามิน บี 1 บ้าง

จากข้อมูลจากเว็บไซต์ Medthai ระบุว่า วิตามินบี 1 หรือ ไทอะมีน (Thiamine) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ อยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวมซึ่งร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมไว้ได้ หากมีอยู่ในร่างกายมากเกินไปก็จะถูกขับออกมา จึงจำเป็นที่จะได้รับทุกวัน มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก. หรือ mg.)

วิตามินบี 1 มีชื่อเรียกว่า “วิตามินเสริมขวัญและกำลังใจ” เพราะช่วยบำรุงประสาท โดยวิตามินบีแต่ละตัวจะทำงานเสริมซึ่งกันและกัน ต้องรับประทานร่วมกันจึงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าแยกรับประทาน โดยวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 ควรรับประทานในปริมาณที่เท่า ๆ กัน

สำหรับแหล่งที่พบวิตามินบี 1 ได้ตามธรรมชาติ ได้แก่ ผัก โฮลวีต ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง รำข้าว เปลือกข้าว เมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี บริเวอร์ยีสต์ นม ไข่แดง ปลา เนื้อออร์แกนิก เนื้อหมูไม่ติดมัน เป็นต้น

ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการเป็นพิษ เพราะหากเรารับประทานเกินขนาดก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะและไม่มีการสะสมแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ หากมีอาการ (ซึ่งพบได้น้อยมาก ๆ หรือแทบไม่เกิดเลย) ก็คือ สั่น โรคเริมกำเริบ ตัวบวม กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว และภูมิแพ้

ศัตรูของวิตามินบี 1 ได้แก่ วิธีการปรุงอาหาร เช่น ความร้อนจากการทำอาหาร คาเฟอีน แอลกอฮอล์ น้ำ อากาศ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาลดกรดในกระเพาะ ยาในกลุ่มซัลฟา เป็นต้น

คำแนะนำในการรับประทานวิตามินบี 1

วิตามินบี 1 ในรูปของอาหารเสริม มีปริมาณตั้งแต่ 25 – 500 มิลลิกรัม จะมีประสิทธิภาพดีมากหากอยู่ในรูปของวิตามินบีรวม เช่น วิตามินบี 2 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 กรดโฟลิก โดยขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือ 100-300 มิลลิกรัม

ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันหรือที่ร่างกายต้องการต่อวันคือ 1-1.5 มิลลิกรัม สำหรับผู้ใหญ่ และ 1.5-1.6 มิลลิกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

หากคุณเป็นคนที่ชอบรับประทานอาหารหวานจัด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่เป็นประจำ ร่างกายจะต้องการวิตามินบี 1 เพิ่มมากขึ้น

หากตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือรับประทานยาคุม คุณต้องได้รับวิตามินบี 1 มากกว่าปกติ

หากคุณรับประทานยาลดกรดในกระเพาะหลังอาหารเป็นประจำ คุณอาจไม่ได้รับวิตามินบี 1 ที่ควรจะได้จากอาหารมื้อนั้น ๆ

ในภาวะเครียด เจ็บป่วย มีอาการบาดเจ็บหลังผ่าตัด คุณควรรับประทานวิตามินบีรวมเสริมด้วย

เมื่อเจ็บป่วย มีอาการเครียด ผ่าตัด ร่างกายจะต้องการวิตามินบี 1 เพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ

ประโยชน์ของวิตามินบี 1

รักษาโรคจากการขาดวิตามินบี 1 ได้แก่โรคเหน็บชา

เสริมสร้างการเจริญเติบโต

ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งได้เป็นดี

ช่วยบำรุงประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจให้ทำงานเป็นปกติ

ช่วยบำรุงสมอง ความคิด สติปัญญาให้ดีขึ้น

ช่วยบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน

บรรเทาอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัดทำฟัน

ช่วยรักษาโรคงูสวัด

บรูกาดาซินโดรม ‘ไหลตาย’ ป้องกันได้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตหมั่นตรวจหัวใจ

เปิดสาเหตุ และ ความเสี่ยงของ ‘โรคใหลตาย’ ความตายที่มาโดยไม่รู้ตัว

28 March 2565

ที่มา ไทยโพสต์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 795

 

Preset Colors