02 149 5555 ถึง 60

 

รู้จัก กลุ่ม 608 กลุ่มเสี่ยงอาการหนักเมื่อติดโควิด ต้องเร่งฉีดวัคซีนก่อนสงกรานต์

รู้จัก กลุ่ม 608 กลุ่มเสี่ยงอาการหนักเมื่อติดโควิด ต้องเร่งฉีดวัคซีนก่อนสงกรานต์

โควิดยอดดับนิวไฮสูงกว่าเส้นคาดการณ์ เร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นก่อนสงกรานต์ โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ที่อัตราเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มอื่น

กระทรวงสาธารณสุขเผย ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ของไทยยังเพิ่มขึ้น ขอประชาชนร่วมกันเข้มมาตรการลดการติดเชื้อ พร้อมเร่งฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น โดย นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โควิด 19 ของประเทศไทยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอาจเป็นไปตามฉากทัศน์ที่คาดการณ์ว่า จะมีผู้ติดเชื้อสูงสุดถึง 5 หมื่นรายในช่วงหลังสงกรานต์

เจ้าสาวหอบสินสอด 12 ล้าน ยกขันหมากขอหนุ่ม 2022แล้วไม่จำเป็นต้องรอ

เดือด ช่างแต่งหน้าบุกคุยเครียด กระติก ชี้หน้ากลางงานพิธีอาลัย

ผลชันสูตร รพ.คู่ขนานนิติเวช ชี้ บาดแผล แตงโม เกิดก่อนเสียชีวิต

เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้แถลงถึงแผนปรับโควิดให้เป็นโรคประจำถิ่น ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้รณรงค์เร่งฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นช่วงก่อนสงกรานต์

โดยตั้งเป้าหมายให้กลุ่ม 608 มารับวัคซีนมากที่สุด (ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงมากหากติดเชื้อโควิด-19 การทำงานของอวัยวะในร่างกายจะเสื่อมลง ภูมิคุ้มกันลดลง มีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดความรุนแรง หรือ อันตรายถึงชีวิต จึงเป็นกลุ่มที่ต้องระวังและควรได้รับวัคซีนในระยะเวลาอันรวดเร็ว

กลุ่มผู้สูงอายุ

เป็นกลุ่มที่มีอัตราเสียชีวิตสูงกว่าวัยอื่น โดยกระทรวงสาธารณสุขเผยว่า มีผู้สูงอายุอีก 2 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน จึงแนะผู้สูงอายุรีบฉีดวัคซีนตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อลูกหลานจะได้กลับไปเยี่ยมช่วงสงกรานต์ได้อย่างปลอดภัย

โรคประจำตัว 7 โรค

1.โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เนื่องจากโควิด-19 มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นอาการหอบหืดและอาจทำให้เกิดโรคปอดบวมและโรคร้ายแรงอื่น ๆ สำหรับผู้ป่วยโรคปอดนั้น โควิด-19 อาจทำให้โรคปอดกำเริบหนักขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง

2.โรคหัวใจและหลอดเลือด หากผู้ป่วยโรคหัวใจติดเชื้อโควิด-19 อาจมีอาการหัวใจวาย หรือ อาจมีภาวะทางหัวใจและหลอดเลือดที่กำเริบขึ้นในขณะติดเชื้อโควิด-19 โดยพบว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้นประมาณ 20% เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้นประมาณ 10% หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้นประมาณ 10% ส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิต การเข้า ICU การใช้เครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป

3.โรคไตวายเรื้อรัง หากผู้ป่วยโรคไตติดเชื้อโควิด-19 จะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่มีการฟอกเลือดและเปลี่ยนถ่ายไต อาจมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนปกติทั่วไป ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้นและมีโอกาสเสียชีวิตสูง

4.โรคหลอดเลือดสมอง หากการติดเชื้อโควิด-19 อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เพื่อช่วยผ่อนหนักเป็นเบา ลดความรุนแรงกรณีได้รับการติดเชื้อ

5. โรคอ้วน หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีความเสี่ยงให้เกิดอาการรุนแรง เพราะโรคอ้วนเป็นภาวะการอักเสบเรื้อรังอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดร่วมกับโรคเรื้อรังอื่น ๆ ส่งผลให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่แข็งแรง เมื่อได้รับเชื้อโควิด 19 เข้าไป ทำให้อาการอักเสบมีความรุนแรงขึ้น ปอดทำงานลดลง ภูมิคุ้มกัน T cell ทำงานน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดลิ่มเลือดในปอดได้ง่ายขึ้น

อีกทั้งในคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีเซลล์ไขมันในร่างกายที่สามารถรับเชื้อโควิด-19 ในปอดได้มากกว่า ส่งผลให้ปอดอักเสบรุนแรงกว่า โดยเฉพาะคนที่มีดัชนีมวลกายสูง อาจมีผลทำให้การขยายตัวของปอดทำได้จำกัด เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อไวรัสที่ปอด

6.โรคมะเร็ง (โรคมะเร็งทุกชนิด ที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัด) หากผู้ป่วยมะเร็งได้รับเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตมากกว่าคนที่ไม่มีโรคประจำตัว เนื่องจากผู้ป่วยมีระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำกว่าคนทั่วไป ซึ่งอาจเกิดจากตัวโรคมะเร็งเอง หรือ เกิดจากการรักษาที่ได้รับ และผู้ป่วยมะเร็งส่วนหนึ่งเป็นผู้สูงอายุและอาจมีโรคร่วมอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมทำให้มีโอกาสเกิดอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19

7.โรคเบาหวาน ทั้งเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงหากติดโรคโควิด-19 เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลที่สูงกว่าค่าปกติ ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง เชื้อไวรัสสามารถเติบโตและกระจายตัวได้ง่ายขึ้น

หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12

หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับเชื้อโควิด-19 พบว่ามีอาการรุนแรง มีโอกาสป่วยหนัก นอน ICU แล้ว ยังส่งผลให้มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จากแม่ จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีนโดยเร็ว

สำหรับช่วงสงกรานต์นี้ แม้ไม่มีข้อห้ามเดินทางกลับภูมิลำเนา แต่อยากให้ประชาชนรักษามาตรการป้องกันตนเองไว้ ใส่หน้ากาก เลี่ยงการอยู่ในที่มีคนจำนวนมาก ล้างมือและรับวัคซีน เพื่อที่จะได้พบปะครอบครัวได้อย่างปลอดภัย

14 March 2565

ที่มา ข่าวสด

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 722

 

Preset Colors