02 149 5555 ถึง 60

 

"โอไมครอน" BA.2.2 มหาภัยสายพันธุ์ใหม่จากฮ่องกง ทำยอดพุ่งสูงสุดในโลก

"โอไมครอน" BA.2.2 มหาภัยสายพันธุ์ใหม่จากฮ่องกง ทำยอดพุ่งสูงสุดในโลก

ใกล้เข้ามาอีก "โอไมครอน" BA.2.2 มหาภัยสายพันธุ์ใหม่จากฮ่องกง ทำยอดติดเชื้อพุ่งสูงสุดในโลก ศูนย์จีโนมฯ เร่งพัฒนาชุดตรวจใช้ใน 2 สัปดาห์ แม้ยังไม่พบในไทย

อัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" หรือ "โอมิครอน" ที่ล่าสุด ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้โพสต์ข้อความ Center for Medical Genomics ของการกลายพันธุ์อีกครั้ง โดยระบุว่า การระบาดใหญ่ระลอกล่าสุดของ "โอมิครอน" ในเกาะฮ่องกง ได้ก่อให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ "BA.2.2" มีการกลายพันธุ์เด่นตรงหนามแหลม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนที่ตำแหน่ง 1221 จาก I (Isoleucine) เป็น T (Threonine) หรือ "S:I1221T" (ภาพ 1-4) โดยพบมีแพร่ระบาดไปยังอังกฤษ

การระบาดระลอกใหม่นี้ ทำให้มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฮ่องกงพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดในโลก โดยมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 30 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่ 0.85 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน (ภาพ 5) โดยอัตราเฉลี่ยผู้เสียชีวิตดังกล่าวสูงมากกว่าลัตเวียที่มีอัตราผู้เสียชีวิตสูงเป็นอันดับสองถึงสองเท่า ที่น่ากังวลอีกประการคือจากการที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อ รายใหม่จากโอมิครอนในฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างมากเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 5,425 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่ 315 คนต่อประชากร 1 ล้านคน (ภาพ 5) ได้ส่งผลให้โอมิครอนมีการกลายพันธุ์เกิดเป็นสายพันธุ์ย่อย "BA.2.2" หรือ B.1.1.529.2.2 มีการกลายพันธุ์ตรงหนาม "I1221T" (ภาพ 2)

"โอไมครอน" BA.2.2 มหาภัยสายพันธุ์ใหม่จากฮ่องกง ทำยอดพุ่งสูงสุดในโลก

โดยขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ฮ่องกงและทั่วโลกกำลังประมวลผลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ BA.2.2 กับข้อมูลทางคลินิกเพื่อตอบปัญหาสำคัญ 6 ประการ

BA.2.2 กลายพันธุ์ไปมากกว่า BA.2 หรือไม่ และตำแหน่งใดบ้างโดยเฉพาะในส่วนยีนที่ควบคุมโครงสร้างของหนามที่เปลือกของอนุภาคไวรัส

BA.2.2 แพร่ระบาด (transmissibility) รวดเร็วกว่า BA.2 หรือไม่

BA.2.2 ก่อให้เกิดอาการของโรคโควิดได้รุนแรง (severity) กว่า BA.2 หรือสายพันธุ์ที่น่ากังวลใจ (variants of concern) อื่น ๆ เช่น อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา หรือไม่

BA.2.2 สามารถด้อยประสิทธิภาพของวัคซีนลงมากกว่า BA.2 หรือไม่

ยารักษาโมโนโคลนอลแอนติบอดีตัวใหม่ "โซโทรวิแมบ" (Sotrovimab) ที่ใช้ต่อต้านโอมิครอน ยังสามารถจับกับ BA.2.2 ได้อยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ของระบบทางเดินหายใจ

ใช่หรือไม่ ที่ BA.2.2 เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฮ่องกงทำสถิติสูงสุดในโลก (ภาพที่ 6)

ปัจจุบันยังไม่พบ BA.2.2 ในประเทศไทย แต่ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯได้เริ่มพัฒนาชุดตรวจ BA.2.2 แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จนำออกใช้ตรวจกรอง

BA.2.2 ได้ภายในอีก 2 สัปดาห์ ด้วยเทคโนโลยี "MassArray Genotyping" ซึ่งใช้เวลาในการตรวจรู้ผลบรรดาสายพันธุ์ที่น่ากังวล (variants of concern: VOC) รวมทั้ง BA.2.2 ในการตรวจเพียงครั้งเดียว (single reaction) ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมงในการออกผล

11 March 2565

ที่มา คม-ชัด-ลึก

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 428

 

Preset Colors