02 149 5555 ถึง 60

 

เสพข่าวหดหู่ จนสุขภาพจิตพัง เข้าใกล้ภาวะ Headline Stress Disorder

เสพข่าวหดหู่ จนสุขภาพจิตพัง เข้าใกล้ภาวะ Headline Stress Disorder

จิตแพทย์ออกมาเตือน เสพข่าวหดหู่หรือติดตามข่าวอย่างต่อเนื่องมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต ทำให้เครียดจนเกิดภาวะ Headline Stress Disorder

ภาวะ Headline Stress Disorder คือ ?

Headline stress disorder ไม่ใช่ชื่อโรค แต่เป็นคำที่ใช้เรียกภาวะเครียดหรือวิตกกังวลมากที่เกิดขึ้นจากการเสพข่าวทางสื่อต่าง ๆ ที่มากเกินไป

ส่งผลเสียอย่างไร

การเสพข่าวหดหู่มากไปสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจได้มากและหลายระบบ ซึ่งถ้าปล่อยไว้ อาจส่งผลต่อการเกิดโรคบางอย่างได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรควิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้า อาการที่บ่งชี้ว่าอาจเกิดภาวะ Headline stress disorder เช่น

ใจสั่น

แน่นหน้าอก

นอนไม่หลับ

วิตกกังวล

ซึมเศร้า

โกรธ

กลุ่มเสี่ยง

คนที่เหนื่อยล้าทั้งทางจิตใจหรือร่างกายอยู่แล้ว เช่น อาจกำลังเครียดเรื่องงาน ครอบครัว การเรียน พักผ่อนไม่เพียงพอ เจ็บป่วย อยู่นั้น อารมณ์จะอ่อนไหวง่าย เมื่อมาเสพข่าวที่หดหู่ก็จะเครียดได้ง่าย

คนที่มีโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้าอยู่แล้ว จะถูกกระตุ้นได้ง่ายจากการเสพข่าวที่หดหู่

คนที่ใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์เยอะ ก็มีโอกาสที่จะรับรู้ข่าวทั้งที่จริงและปลอม ทั้งดีและร้ายได้เยอะ

คนที่ขาดวิจารณญาณในการเสพข่าว อาจจะเป็นด้วยวัย วุฒิภาวะ หรือบุคลิกภาพ มีแนวโน้มจะเชื่อพาดหัวข่าวในทันทีที่เห็นได้ง่าย

วิธีจัดการความเครียดจากการเสพข่าวหดหู่ทั่วไปด้วยตนเอง

จำกัดเวลาในการเสพข่าว เคร่งครัดกับเวลาที่กำหนดไว้

หากเครียดมากอาจงดเสพข่าวหรือใช้สื่อสังคมออนไลน์ไปสักพัก

อย่าเชื่อพาดหัวข่าวที่เห็นในทันที เพราะพาดหัวข่าวมักใช้คำที่กระตุ้นอารมณ์เพื่อดึงดูดให้คนสนใจ แนะนำให้อ่านรายละเอียดของข่าวด้วย

ตรวจสอบข่าวก่อนจะเชื่อ อ่านข่าวจากสื่อที่เชื่อถือได้ เพราะปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์กันมาก

หากเป็นข่าวด่วนอาจรอสักหน่อยให้มีข้อมูลและความจริงมากขึ้นแล้วค่อยอ่านในรายละเอียดข่าว

พยายามมองหาสิ่งที่ดีในข่าวที่อ่านบ้าง ทุกอย่างมีทั้งด้านดีและร้ายเสมอ

อ่านข่าวที่ดีต่อใจบ้าง อย่าเสพแต่ข่าวที่หดหู่

อย่าเสพข่าวก่อนนอน เพื่อให้สมองได้พักและหลับได้ดี

ทำกิจกรรมคลายเครียด ผ่อนคลายบ้าง อย่าเอาแต่ติดตามข่าวทั้งวัน

พูดคุยกับคนอื่นบ้าง การหมกมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งคนเดียวจะยิ่งทำให้จมกับความคิดลบ ๆ ได้ง่าย

หากทำตามคำแนะนำข้างต้นแล้วยังเครียดมากอยู่ ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือ chatbot 1323 หรืออาจไปปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์

การจัดการผู้ป่วย "โควิด" สีแดงอ่อน

ลักษณะอาการ: อาการมากมี/ไม่มีความเสี่ยง เอกซเรย์ปอด ผิดปกติมากต้องให้ออกซิเจน

วันแรกหลังตรวจพบเชื้อ (DAY-1) พิจารณาแอดมิท เอกซเรย์ปอด และตรวจ RT-PCR ก่อนทุกราย

ติดตามอาการ และควบคุมการเจาะเลือดให้ยา Favipiravir 7-10 วัน

การจัดการผู้ป่วย "โควิด" สีแดงเข้ม

ลักษณะอาการ : ปอดอักเสบรุนแรง ใช้ เครื่องช่วยหายใจ อาการหนักความดันไม่คงที่พิจารณาตามดุลยพินิจแพทย์

วันแรกหลังตรวจพบเชื้อ (DAY-1) พิจารณาแอดมิท เอกซเรย์ปอด และตรวจ RT-PCR ก่อนทุกราย

ติดตามอาการ และความคุบการเจาะเลือดให้ยา Favipiravir 10-14 วัน และอื่น ๆ ตามดุลยพินิจแพทย์

10 March 2565

ที่มา ข่าวสด

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 562

 

Preset Colors