02 149 5555 ถึง 60

 

จิตแพทย์ห่วงผู้ป่วยจิตเวช เสพข่าว "แตงโม-นิดา" มากไป ทำเครียดเสี่ยงโรคกำเริบ

จิตแพทย์ห่วงผู้ป่วยจิตเวช เสพข่าว "แตงโม-นิดา" มากไป ทำเครียดเสี่ยงโรคกำเริบ

จิตแพทย์ห่วง "ผู้ป่วยจิตเวช" ทั้งซึมเศร้า วิตกกังวล เสี่ยงโรคกำเริบ เหตุเสพข่าว “แตงโม-นิดา” เกินพอดี เผยข้อมูลล่าสุดต้น มี.ค. พบเสี่ยงเครียดสูงขึ้น 2.1 เท่า เสี่ยงซึมเศร้าสูงขึ้น 4.8 เท่า ระบุ 3 ข่าวดังมีการติดตามสูง อาจเกิดความเครียดได้ ทั้งกรณีแตงโม สงครามยูเครน-รัสเซีย และโอมิครอน แนะดูข่าวพอดี ไม่ต้องตามติดรายชั่วโมง เลือกแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้

เมื่อวันที่ 3 มี.ค. พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีสังคมและสื่อให้ความสนใจติดตามการนำเสนอข่าวของ “แตงโม นิดา” ดาราสาวที่พลัดเรือสปีดโบ้ตกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเสียชีวิต ซึ่งบางคนเสพข่าวมากจนมีภาวะเครียด โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวช ว่า การเสพข่าวดังกล่าวมากจนเกินไปย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้เสพข่าวไม่มากก็น้อย ซึ่งประชาชนทั่วไปที่มีจิตใจแข็งแรงก็มีโอกาสเครียดได้ เห็นได้จากการติดตามสถานการณ์ความเครียดพบว่า สูงขึ้น ทั้งนี้ จากการติดตามผู้เสพข่าวต่างๆ พบว่า ช่วงนี้มี 3 ข่าวที่มีการติดตามสูงและก่อให้เกิดความเครียดได้ หากเสพข่าวจนเกินพอดี คือ 1.ข่าวการเสียชีวิตของดาราดัง เนื่องจากเป็นบุคคลที่ทุกคนชื่นชอบ และมีเงื่อนงำทางคดี ทำให้มีคนสนใจจำนวนมาก 2. ข่าวสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่กระทบต่อเศรษฐกิจโลก และ 3.ข่าวการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน

"ที่น่ากังวล คือ ผู้มีจิตใจอ่อนไหว มีสภาพจิตใจเปราะบาง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชแต่เดิม ทั้งโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ขณะนี้กลุ่มจิตแพทย์มีความเป็นห่วงกรณีดังกล่าว จากข้อมูลการเปรียบเทียบระหว่าง ก.พ.และต้น มี.ค.ที่ผ่านมา สำรวจประชาชนทั่วไป พบว่า เสี่ยงเครียดสูงขึ้นเป็น 2.1 เท่า จากเดิม 1.7% เป็น 3.6% และเสี่ยงซึมเศร้าสูงขึ้น 4.8 เท่าจากเดิม 2.1% เป็น 10.1% โดยมีจิตแพทย์อย่างน้อย 4-5 คนพบว่า ผู้ป่วยที่เราดูแลอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มโรคซึมเศร้า เริ่มมีจิตใจเศร้าหมองลง หลับยาก และบางคนจินตนาการภาพขึ้นมาจากข่าว ส่งผลให้ทำร้ายจิตใจตัวเอง ไม่มีสมาธิ เบื่อหน่ายสิ่งแวดล้อม จึงเป็นห่วงผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นอยู่เดิม ขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับรู้ข่าว และฝากญาติมิตรให้ใส่ใจผู้ป่วยเกี่ยวกับการเสพข่าวมากเกินไป” พญ.อัมพร กล่าว

ถามว่าผู้ป่วยจิตเวชเดิมอาจมีอาการแย่ลง จะดำเนินการอย่างไร พญ.อัมพร กล่าวว่า ขณะนี้จากการตรวจอาการของผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการ จิตแพทย์ทั้งหลายมีการติดตามและจับกระแสความเป็นไป ทำให้มีการเตือนให้ระมัดระวัง ประกอบกับทางกรมสุขภาพจิตมีสายด่วน 1323 ซึ่งก็มีการรวบรวมข้อมูลนี้ โดยจะนำมาประมวลเรื่อยๆ อย่างครั้งนี้ก็ต้องรีบเตือนประชาชนทันที

ถามว่าประชาชนทั่วไปควรบริโภคข่าวสารอย่างไร พญ.อัมพร กล่าวว่า ขอให้เสพข่าวสารอย่างมีสติ อย่าใจจดจ่อกับข่าวสารมากขึ้น เลือกช่วงเวลาการรับข่าวสารแบบพอประมาณ ไม่ต้องติดตามทุกชั่วโมง ต้องพยายามเสริมภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง มีการเลือกเสพข่าวสารแบบแยกเยอะ เช่น แหล่งข่าวที่น่าเชื่ออย่างเป็นทางการ ไม่ใช่เสพสื่อทุกอย่าง ทุกความเห็นของทุกคน เพราะการรับข่าวสารมากเกินไป

4 March 2565

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 517

 

Preset Colors