02 149 5555 ถึง 60

 

สุดอนาถ! กับพฤติกรรมสุขภาพน่าเป็นห่วงของคนไทยยุค 4.0

สุดอนาถ! กับพฤติกรรมสุขภาพน่าเป็นห่วงของคนไทยยุค 4.0

คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

คุณชูสง่าสุดทนกับพฤติกรรมทำร้ายตัวเองของลูกก๊วนคนโปรดอย่างเจ้าเก่งจอมตีไกลที่มันอ้วนขึ้นทุกวันเพราะพฤติกรรมตามใจปากและขี้เกียจเคลื่อนไหวร่างกาย เฮียบรรยายฟ้องให้พี่หมอฟัง "มันนะเช้าก็กินกาแฟเที่ยงก็กินกาแฟวันยังค่ำก็กินกาแฟใส่นมใส่ครีมเพียบแถมยังชอบไปบุฟเฟ่ต์บิงซูเกาหลีอะไรของมันอีกเพียบเรียกว่านั่งเป็นหลับขยับเป็นแดกก็แล้วกัน" แต่พี่หมอฟังแล้วเฉยๆ "อ๋อมันเป็นพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยวัยรุ่นยุค 4.0 นะครับเดี๋ยวผมจะเทศน์มหาชาติให้มันฟังซะ 1 กัณฑ์ ที่สำคัญเฮียเลิกให้ทิปมันได้ละต่อไปนี้"

เผยพฤติกรรมสุขภาพคนไทยยุค 4.0 ติดหวาน วัฒนธรรมใหม่ดื่มกาแฟตอนเช้า น้ำหวานตอนกลางวัน และดินเนอร์บิงซู และยังผมเด็กวัย 2-5 ขวบผู้ปกครองเริ่มให้กินน้ำหวานหรือน้ำอัดลมมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน

ขณะที่กลุ่มวัยรุ่นมีพฤติกรรมขยับน้อยกว่าผู้สูงอายุโดยวัยรุ่นเฉลี่ยมีกิจกรรมทางการเพียง 1.14 ชั่วโมงต่อวัน แต่ใช้เวลาไปกับอินเตอร์เน็ต 6 ชั่วโมงต่อวัน

สสส. ร่วมกับ ม.มหิดล ทำการสำรวจตามแหล่งย่านถนนเศรษฐกิจ เช่น สีลม อนุสาวรีย์ชัย เพื่อตรวจปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มชงหวาน 5 เมนูยอดฮิตพบว่าเพียง 1 แก้ว 250 มล. มีปริมาณน้ำตาลสูงถึง 10-15 ช้อนชา ซึ่งเกินกว่าองค์การอนามัยโลกแนะนำมากคือไม่ควรบริโภคเกินวันละ 6 ช้อนชาในอาหารทุกชนิด

พฤติกรรมเหล่านี้เสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงและเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน หัวใจ ความดัน ส่วนผู้สูงวัยยังขาดการรับมือในการเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยเฉพาะเรื่องของหลักประกันรายได้ยามเกษียณอายุ 1 ใน 3 ของผู้สูงวัยมีรายได้ต่ำกว่าเส้นเฉลี่ยความยากจนหรือมีรายได้ต่ำกว่า 2,647 บาทต่อเดือน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพและผู้สูงอายุส่วนใหญ่คือ 95 เปอร์เซนต์มีโรคประจำตัว แต่ก็ยังคงสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

เมื่อเข้าใจพฤติกรรมทางสุขภาพของคนในแต่ละช่วงวัยที่ต่างไปจากเดิมจะสามารถออกแบบปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยส่งเสริมให้คนในแต่ละวัยมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดีขึ้นได้

สสส. ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพมีการนำเสนอสิ่งสำคัญคือสุขภาพที่ดีเริ่มที่ตัวเราและส่งต่อสุขภาพดีให้คนอื่นต่อจึงได้ออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในกิจกรรมสนุกๆ เช่น กิจกรรมทดสอบปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กิจกรรมสวนผักคนเมือง และการจำลองครัวขนาดเล็กและเครื่องครัวที่จำเป็นเพื่อสะท้อนชีวิตคนเมือง โดยเครือข่ายลดบริโภคเค็ม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมชวนขยับวันละ 10,000 ก้าว โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโหลดแอพพลิเคชั่นนับก้าวเดิน โดยให้เริ่มทำแล้วมารายงานผลหากเดินออกกำลังกายได้ครบ 10,000 ก้าวจะได้รับรางวัลโดยการสนับสนุนของ สมาพันธ์ชมรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทยและเครือข่ายคนไทยไร้พุง กิจกรรมเกมส์ถนนคนเมา โดยใส่แว่นจำลองการเมาแล้วลองเดินบนถนนและกิจกรรมอื่นๆ ที่ให้เห็นถึงอันตรายจากสุรา ข้อแนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ทดสอบสุุขภาพปอดดี๊ดี นวัตกรรมนวดกดจุดสะท้อนเท้าเลิกบุหรี่ จากภาคีเครือข่ายต่างๆ ได้แก่ เครือข่ายองค์กรงดเหล้า มูลนิธิเมาไม่ขับ โครงการควบคุมยาสูบโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีก เช่น กิจกรรมแว่นตานำปัญญาที่จะบริจาคแว่นตาให้กับเด็กในพื้นที่ที่ขาดแคลนแว่นตาเพื่อใช้ในการศึกษาของผู้ขาดโอกาสในสังคม

25 February 2565

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 372

 

Preset Colors