02 149 5555 ถึง 60

 

ตระหนักรู้ "ดูแลตัวเอง" ชีวิตดีระยะยาวรับ "สังคมสูงอายุ"

ตระหนักรู้ "ดูแลตัวเอง" ชีวิตดีระยะยาวรับ "สังคมสูงอายุ"

การก้าวสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" เรื่องของการดูแลตนเอง หรือ Self-Care ซึ่งหมายถึงความสามารถของบุคคลในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยอาศัยความรู้และความเข้าใจที่มีจึงสำคัญ เพื่อสร้างความตระหนักด้านสุขภาพ และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในอนาคต

การดูแลตนเอง ประกอบด้วยมิติต่างๆ ได้แก่ การดำเนินวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นภัยต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ หรือการดื่มสุราเกินขนาด การใช้ยาอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและรับผิดชอบ การตระหนักรู้ถึงอาการของโรคต่างๆ ด้วยตนเอง หรือร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์เมื่อจำเป็น การเฝ้าระวังอาการป่วยว่าดีขึ้น หรือทรุดลง และการบริหารจัดการอาการป่วยต่างๆ ด้วยตนเอง หรือร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์เมื่อจำเป็น

“ฌอง ฟรองซัวส์ คูเว่” ผู้จัดการทั่วไป จีเอสเค คอนซูเมอร์ เฮลธ์ กล่าวในงาน สัมภาษณ์กลุ่มย่อย จีเอสเค คอนซูมเมอร์ เฮลธ์ (GSK Consumer Health) “บทบาทของการ ดูแลตนเอง (Self-care) ในการสนับสนุนระบบสาธารณสุขของประเทศไทย” ผ่านระบบออนไลน์ โดยระบุว่า การดูแลตนเอง (Self-Care) จึงเป็นประเด็นที่สำคัญกับประเทศไทย เพราะ ประชาชนมีความรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยเบื้องต้นด้วยตนเอง และสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นว่า

สามารถรักษาอาการของโรคในขณะนี้ได้หรือไม่ หรือมีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์ ลดภาระและการใช้ทรัพยากรในระบบสาธารณสุขโดยรวม ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้เวลาและความเชี่ยวชาญที่มีไปกับกรณีที่เร่งด่วนร้ายแรง และเพิ่มการเข้าถึง ระบบสาธารณสุข แก่กลุ่มคนที่มีความต้องการจริงๆ

ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ สูงตามสังคมสูงวัย

จากข้อมูลของ Global Health Expenditure Database ระบุว่า ในปี 2018 สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศไทยคิดเป็น 3.8% ของจีดีพี ซึ่งยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่สูงมาก แต่ตัวเลขนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หากเทียบกับประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก่อนประเทศไทย เช่น ญี่ปุ่น (มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพคิดเป็น 10.7% ของจีดีพี) การที่ประชาชนดูแลตนเอง จึงสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในระบบสาธารณสุขของประเทศ

ขณะเดียวกัน การเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ ของประเทศไทยสร้างความท้าทายที่เพิ่มขึ้นต่อระบบสาธารณสุข ทั้งในด้านค่าใช้จ่ายและการมีคนวัยทำงานซึ่งสร้างรายได้ในระบบเศรษฐกิจน้อยลง ดังนั้น การที่ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงสามารถสนับสนุนให้ประชากรสูงวัยสามารถมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในระยะยาวได้

มิติการดูแลตัวเอง

การดูแลตัวเอง ประกอบด้วยมิติต่างๆ ดังต่อไปนี้

- การดำเนินวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

- การหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นภัยต่อสุขภาพ เช่น การสุบบุหรี่ หรือการดื่มสุราเกินขนาด

- การใช้ยาอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและรับผิดชอบ

- การตระหนักรู้ถึงอาการของโรคต่างๆ ด้วยตนเอง หรือร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์เมื่อจำเป็น

- การเฝ้าระวังอาการป่วยว่าดีขึ้น หรือทรุดลง

- การบริหารจัดการอาการป่วยต่างๆ ด้วยตนเอง หรือร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์เมื่อจำเป็น

สหรัฐ – อังกฤษ คะแนนการดูแลตัวเองสูง

นภาพร ไทยรุ่งโรจน์” หัวหน้าฝ่ายกฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพ จีเอสเค คอนซูเมอร์ เฮลธ์ กล่าวถึง การสำรวจ ดัชนีความพร้อมด้านการดูแลตนเอง (Self-Care Readiness Index) จัดทำขึ้นครั้งแรกในปี 2021 โดย Global Self-Care Federation สนับสนุนจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นดัชนีที่วัดความพร้อมในการดูแลตนเองของประชาชนในแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบและวางรากฐานของระบบสาธารณสุขให้มีความพร้อมในการดูแลสุขภาพของประชาชนในอนาคต

งานวิจัยมีการทำสำรวจผ่านการค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพผ่านช่องทางต่างๆ สัมภาษณ์และทำแบบสอบถามกับคนไข้ ผู้บริโภค บุคลากรทางการแพทย์ หน่วยงานผู้วางนโยบาย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ใน 10 ประเทศ ได้แก่ บราซิล จีน อียิปต์ ฝรั่งเศส ไนจีเรีย โปแลนด์ แอฟริกาใต้ ไทย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

ซึ่งมีการคัดเลือกให้ครอบคลุมทั้งความแตกต่างด้านภูมิศาสตร์และโครงสร้างของนโยบายสาธารณสุขที่หลากหลาย โดยประเทศที่ได้คะแนนในระดับสูง เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เป็นต้น

4 มิติ การดูแลตัวเอง

ดัชนีความพร้อมด้านการดูแลตนเอง มีการให้คะแนนจาก 1 (ไม่พร้อม) ไปจนถึง 4 (มีความพร้อมมาก) ใน 4 มิติ ได้แก่

Stakeholder Support & Adoption (การร่วมมือและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของประชาชน)

Consumer & Patient Empowerment (อำนาจในการตัดสินใจในการดูแลสุขภาพของประชาชน)

Self-Care Health Policy (นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพตนเอง)

Regulatory Environment (บริบทด้านการกำกับดูแล)

ไทย ต้องเพิ่มเรื่องประเมินดูแลตัวเองเบื้องต้น

ผลวิจัยระบุว่า ประเทศไทยถือว่ามีความพร้อมค่อนข้างมาก หรือได้คะแนนเกือบ 3 จาก 4 คะแนนเต็มใน 3 มิติ โดย 1 ด้านที่ยังมีโอกาสในการพัฒนาเพิ่มเติม คือ Consumer & Patient Empowerment (อำนาจในการตัดสินใจในการดูแลสุขภาพของประชาชน)

Stakeholder Support & Adoption (2.89) : สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมที่ดีระหว่างผู้ให้บริการทางการแพทย์ คนไข้ ผู้บริโภค และหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทหน้าที่ในการวางกฎเกณฑ์และนโยบายสาธารณสุขของประเทศ

Consumer & Patient Empowerment (2.19) : ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับคุณค่าและประโยชน์ของการดูแลตนเองเพิ่มเติม เพื่อให้ประชาชนสามารถมีแนวปฏิบัติที่เหมาะสมที่จะส่งเสริมสุขภาพที่ดี เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และหากไม่สบาย ก็สามารถประเมินเบื้องต้นและหาซื้อยาสามัญประจำบ้านเพื่อรักษาดูแลตัวเองเบื้องต้นได้

Self-Care Health Policy (2.86) : สะท้อนให้เห็นว่าผู้ออกนโยบายมีความเข้าใจถึงประโยชน์ของการดูแลตนเองในเชิงเศรษฐกิจ และการสนับสนุนให้ประชาชนดูแลตนเอง อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสในการพัฒนาเพิ่มเติมในด้านงานวิจัยที่บอกได้ถึงความคุ้มค่าในเชิงตัวเลขที่ชัดเจน (ROI) เพื่อช่วยในการวางนโยบายต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

Regulatory Environment (2.96) : บริบทด้านกฎเกณฑ์ต่างๆ ช่วยสนับสนุนให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ดี

“สำหรับในประเด็น Consumer & Patient Empowerment หากพูดถึงองค์ประกอบตรงนี้จะให้มีประสิทธิต้องขึ้นอยู่กับความรู้ด้านสุขภาพ และต้องเข้าใจถึงคุณค่า ประโยชน์ ในการป้องกันไม่ต้องรอถึงตัวเองเป็นโรค เมื่อมีความรู้ เข้าใจ ความสามารถในการตัดสินใจด้านสุขภาพของตนเองก็จะเพิ่ม และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการดูแลตัวเองมากขึ้น” จีเอสเค หนุนการดูแลตัวเอง

ทั้งนี้ จีเอสเค คอนซูมเมอร์ เฮลธ์ สนับสนุนการดูแลตนเองของประชาชน ในการเพิ่มการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคมีความสามารถที่ดียิ่งขึ้นในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง โดยจีเอสเคมีแผนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เพื่อสอดรับกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย

ถัดมา คือ สนับสนุนการใช้งบประมาณด้านสาธารณสุขให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากการที่บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้เวลาและความเชี่ยวชาญของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง พัฒนาคุณภาพของข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพ ผ่าน 3 แนวทาง ได้แก่ การทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์

การทำงานร่วมกับเภสัชกร โดยให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และอาการต่างๆ เพื่อให้สามารถให้คำแนะนำอย่างถูกต้องแก่ผู้บริโภคได้

การพัฒนาช่องทางดิจิทัลในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงและค้นหาข้อมูลในโลกดิจิทัลได้ทุกที่ทุกเวลาเมื่อต้องการ ทั้งในเรื่องสุขภาพช่องปาก วิตามินและอาหารเสริม

และในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จีเอสเคจะมุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของแคลเซียมต่อการส่งเสริมสุขภาพกระดูกและมวลกระดูก การระงับอาการเจ็บปวดต่างๆ (เช่น อาการเจ็บจากข้อเข่าเสื่อม) และการดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น การดูแลทำความสะอาดฟันปลอม ซึ่งสถิติระบุว่ามีการใช้งานในประชากรถึง 2.5 ล้านคน

7 February 2565

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 1723

 

Preset Colors