02 149 5555 ถึง 60

 

วันนี้ก็แย่ โจทย์ใหญ่ความสุขผู้สูงวัย ต่อๆไป วันหน้าล่ะ?

วันนี้ก็แย่ โจทย์ใหญ่ความสุขผู้สูงวัย ต่อๆไป วันหน้าล่ะ?

เริ่มมี’โจทย์ใหม่“ ที่ “ท้าทายประเทศไทย” เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากไทยเริ่มเข้าสู่ ’สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์“ ตามเกณฑ์ที่ องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดไว้

เริ่มมี “โจทย์ใหม่” ที่ “ท้าทายประเทศไทย” เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากไทยเริ่มเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ตามเกณฑ์ที่ องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดไว้ นั่นคือ… การ มีผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตรามากกว่า 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และไทยยังมีอัตราการเกิดของทารกลดต่ำลงเหลือเพียงเฉลี่ย 600,000 คนต่อปี ซึ่งเมื่อ “โครงสร้างประชากรไทยเปลี่ยนไป” โดย “คนวัยทำงานน้อยลง-ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น” เช่นนี้…ถึงแม้ขณะนี้ยังไม่เกิดผลกระทบในภาพใหญ่…

แต่ในอนาคตอันใกล้ก็ใช่ว่าจะไม่ “เกิดปัญหา” ขึ้น

“ปุจฉาที่สำคัญ” ก็คือ “ไทยพร้อมรับมือแค่ไหน??“

โดยเฉพาะ “กับอนาคตผู้สูงวัยของไทย” นับจากนี้…

ทั้งนี้ เกี่ยวกับ “ข้อกังวล” กรณี “ความเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรของประเทศไทย” โดยเฉพาะเมื่อ “สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคมีเด็กเกิดใหม่น้อยลง-มีคนแก่เพิ่มมากขึ้น” เช่นนี้ ก็มีนักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์ได้พยายามที่จะ “ถอดรหัส” เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อที่จะพยายามมองให้เห็น “ภาพอนาคตของผู้สูงอายุไทย” ภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ โดยเรื่องนี้ทาง รศ.ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการวิเคราะห์ และได้สะท้อนเกี่ยวกับ

สำหรับ “มุมสะท้อน” เรื่องนี้ ทาง รศ.ดร.นพพล ได้ระบุไว้ในบทความชื่อ “อนาคตความสุขของผู้สูงวัย…สังคมไทยพร้อมหรือยัง?” ซึ่งเผยแพร่อยู่ใน www.chula.ac.th เพื่อต้องการย้ำเตือนให้สังคมไทยเตรียมความพร้อมให้เร็วที่สุด เพื่อรับมือกับผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้นจากกรณีที่ “โครงสร้างประชากรประเทศไทยเปลี่ยนไป” เพื่อที่จะช่วยลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่กระทบกับ “กลุ่มผู้สูงวัยของไทยในอนาคต” กระทบกับ “ความสุขในช่วงบั้นปลายชีวิต”

ในแง่ของ “คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ” นั้น ทางนักวิชาการท่านนี้ได้อ้างอิงถึง เกณฑ์คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตามแนวทางที่ทาง องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดไว้ว่า… การที่ผู้สูงอายุจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดจำนวน 6 ด้าน ประกอบด้วย… 1.การมีอิสรภาพ 2.ความสามารถในการสัมผัสหรือรับรู้สิ่งต่าง ๆ 3.ทัศนคติต่อความตาย 4.การมองย้อนกลับไปในอดีต 5.ความรู้สึกใกล้ชิด และสุดท้ายคือ 6.การได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

รศ.ดร.นพพล

นี่ก็เป็นองค์ประกอบของ “ความสุขผู้สูงวัย“

ที่ “ยึดโยง-เกี่ยวโยงมาจากกรณีคุณภาพชีวิต”

และกับ เกณฑ์ความสุขผู้สูงวัย ที่ยึดโยงแนวทางที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้นั้น ทาง รศ.ดร.นพพล ก็ได้แจกแจงในประเด็นนี้ไว้ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดขึ้น ว่า… ตามเกณฑ์หรือองค์ประกอบเหล่านี้ ถ้าหากจะย่อยแนวคิดทั้ง 6 ข้อนี้ลงให้เป็น “ปัจจัยแห่งความสุข” ที่จับต้องได้นั้น ก็สามารถจำแนกออกมาได้ทั้งหมดเป็น 3 ประเด็น กล่าวคือ… ผู้สูงอายุจะ “ต้องมีรายได้ที่มั่นคงเพียงพอ” และ “ต้องมีสุขภาพที่ดีเพียงพอ” รวมถึง “ต้องมีส่วนร่วมกับสังคมที่ดีเพียงพอ” ซึ่งถ้าผู้สูงอายุมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ข้อนี้ ก็อาจจะพอนิยามได้ว่า…เป็นสังคมของผู้สูงอายุที่มีความสุข หรือ เป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้สูงอายุของประเทศไทยนั้น อาจจะยังไม่สามารถเข้าใกล้นิยามดังกล่าวนี้ได้ โดยเฉพาะใน “ด้านรายได้” โดยพบว่า… ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ยังต้องมองบุตรหลานเป็นที่พึ่งหลักทางเศรษฐกิจ ซึ่งข้อมูลระดับประเทศเมื่อปี 2560 พบว่า… ผู้สูงอายุ 86% ยังพึ่งพาบุตรหลานในด้านการเงิน และมีกว่า 40% ที่มองว่า… บุตรหลานคือแหล่งรายได้ที่สำคัญที่สุด ซึ่งสำหรับ “สาเหตุ-ปัจจัย” ที่ทำให้ผู้สูงอายุไทยมักจะเกิดทัศนคติเช่นนี้ ทางนักวิชาการท่านเดิมระบุไว้ว่า… นี่ก็ เพราะประเทศไทยยังมีสวัสดิการจากรัฐที่ไม่เพียงพอ จนทำให้ ภาคครัวเรือนยังคงต้องแบกรับภาระหน้าที่นี้…

พร้อมกันนี้ก็มีการสะท้อนเพิ่มเติมไว้ถึง “ภาระการดูแลผู้สูงอายุของครัวเรือนไทย” ว่า… หน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุนั้น ได้ถูกปลูกฝังกันมายาวนานต่อเนื่องในสังคมไทย โดยถือเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของบุตรหลานทุกคน ที่นอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูแล้ว ยังช่วยคลายความกังวลใจให้กับผู้อาวุโสในครอบครัวอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แต่ ภาพดังกล่าวนี้ก็อาจเป็นภาพที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อเวลาผ่านไปอีกสัก 10-20 ปีข้างหน้า โดยเป็นไปได้ว่าอาจเกิดสถานการณ์…

ผู้สูงอายุจะมีความคาดหวังต่อบุตรหลานที่น้อยลง

แต่จะเน้นสะสมทรัพย์สินเพื่อใช้ดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ รศ.ดร.นพพล ได้ตั้ง “ข้อสังเกต” เกี่ยวกับ “ทัศนคติผู้สูงอายุในอนาคต” ไว้ด้วยว่า… แม้ผู้สูงอายุในอนาคตจะเน้นสะสมทุนทรัพย์เพื่อใช้ดูแลตนเองยามแก่ แต่ก็ยัง “มีคำถามที่สำคัญ”  คือ…เพื่อรับมือกับการเข้าสู่วัยชราของคนไทยวัยสูงอายุ “ประเทศไทยมีกลไกที่ดีเพียงพอแล้วหรือยัง??” เพราะถ้าหากผู้สูงวัยในอนาคตไม่คิดพึ่งพาบุตรหลาน ผู้สูงอายุก็จะต้องมีทุนทรัพย์กับต้นทุนสังคมที่มากพอ และต้องมีกลไกทางสังคมที่ดีพอในการรองรับ เพื่อให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตด้วยตัวเองต่อไปได้ ดังนั้น นโยบาย มาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้สูงอายุในอนาคต จะต้องมองให้ครบทุกมิติ ต้องพิจารณาด้วยความละเอียดอ่อน…

“เร่งสร้างกลไกรองรับอนาคตในทุกมิติ“ คือข้อเสนอ

เพื่อ “ป้องกันหรืออย่างน้อยก็ลดปัญหาผู้สูงวัยไทย“

ที่ดูแค่ “ความสุขปัจจุบัน” ไทย “ก็ยังมีกลไกไม่พอ“.... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/articles/673384/

19 January 2565

ที่มา เดลินิวส์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 361

 

Preset Colors