02 149 5555 ถึง 60

 

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โอมิครอน 8สูตรวัคซีน วัคซีน เข็มกระตุ้น

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โอมิครอน 8สูตรวัคซีน วัคซีน เข็มกระตุ้น

“กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์” เปิดผลทดสอบ “ภูมิคุ้มกัน” หลังฉีดวัคซีนโควิดในไทย พบวัคซีน 2 เข็มป้องกัน “โอมิครอน” ลดลงกว่า “เดลตา” แต่หากกระตุ้นเข็ม 3 กลับกระตุ้นภูมิสูงขึ้น ไม่ว่าจะกระตุ้นด้วย “ไฟเซอร์-แอสตร้าฯ” ภูมิสูงขึ้นหมด ย้ำยังต้องฉีดวัคซีนโควิดโดยเฉพาะเข็ม 3

17 มกราคม 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงการทดสอบภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนโควิด ว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันจากวัคซีนในการป้องกันเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน โดยเก็บตัวอย่างเลือดหรือซีรั่มของผู้ที่ได้รับวัคซีนแต่ละสูตร ผลการศึกษาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะแตกต่างจากศิริราช จึงขออย่านำมาเปรียบเทียบกัน โดยทำการศึกษา 8 สูตรที่ใช้ฉีดในไทย คือ

1. ซิโนแวค + แอสตร้าเซนเนก้า 2. แอสตร้าฯ + แอสตร้าฯ 3. ไฟเซอร์ 2 เข็ม

4. ซิโนแวค + ไฟเซอร์ 5.แอสตร้าฯ + ไฟเซอร์ ไม่ได้ทดสอบสูตรซิโนแวค 2 เข็ม เพราะเราเปลี่ยนสูตรมาเป็นสูตรไขว้แล้ว

6. การฉีดเข็มกระตุ้น ซิโนแวค 2 เข็ม + แอสตร้าฯ 7. ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม + ไฟเซอร์

8. ฉีดแอสตร้าฯ 2 เข็ม +ไฟเซอร์

ทั้งนี้ มีการเก็บตัวอย่างเลือดหลังรับวัคซีนแล้ว 2 สัปดาห์ ถือเป็นระดับที่มีภูมิคุ้มกันมากพอที่จะต่อสู้เชื้อโรคต่างๆได้ จากนั้นนำมาทดสอบด้วยวิธีที่เรียกว่า PRNT หรือ Plaque Reduction Neutralization Test โดยใช้ตัวอย่างเลือดจริงของผู้ป่วยจากนั้นมาทำการเจือจางให้ได้ระดับที่ปลอดภัย หรือที่เรียกว่า ค่า Plaque ที่ลดลง 50% ซึ่งถือเป็นระดับสุดท้ายที่จะป้องกันการติดเชื้อได้

“ผลการศึกษาพบว่าภูมิคุ้มกันในเลือดเราที่เคยต่อสู้กับเดลต้าได้ค่อนข้างดี แต่เมื่อเจอกับโอมิครอนแล้วลดลงทุกสูตร สอดคล้องกับข้อสันนิษฐานว่าการกลายพันธุ์ของโอมิครอนน่าจะหลบวัคซีนได้ หลายๆ ประเทศทดสอบก็ได้ผลใกล้เคียงกัน” นพ.ศุภกิจ กล่าว

นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า สำหรับผลจากคนที่ฉีดวัคซีน 2 เข็ม กับกลุ่มที่ฉีด 3 เข็ม เพื่อดูค่าไตเติลนั้น ในส่วนของเชื้อโควิดยังไม่ทราบว่าค่าไตเติลจะต้องมี 1 ต่อเท่าไร แต่ตามหลักเชื้อโรคทั่วไปจะต้องอยู่ที่ 1 ต่อ 10 ก็จะป้องกันโรคได้ ดังนั้นเมื่อผลออกมาพบว่าคนที่ฉีดวัคซีน 2 เข็มไม่ว่าจะเป็นสูตรใดก็ตามพบค่าไตเติลขึ้นมาปริ่มๆ ไม่ได้สูงมากนัก ป้องกันโอมิครอนได้ไม่มาก โดย

ไฟเซอร์ 2 เข็ม ขึ้นมา 19.17 แอสตร้าฯ 2 เข็ม ขึ้นมา 23.81สูตรซิโนแวค + แอสตร้าฯ ขึ้นมา 12

สูตรซิโนแวค + ไฟเซอร์ขึ้นมา 21 สูตร แอสตร้าฯ+ไฟเซอร์ ขึ้นมา 21

ส่วนกรณีผู้ที่ฉีดวัคซีน 3 เข็ม ไม่ว่าจะเป็นซิโนแวค 2 เข็ม ตามด้วยแอสตร้าฯ สูตรซิโนแวค 2 เข็ม ตามด้วยไ

“อันนี้คือตัวเลขภูมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์ แต่กลไกการต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นไม่ได้มีแค่ภูมิในน้ำเลือดเท่านั้น แต่ยังมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่จดจำไวรัสได้ก็จะออกมาช่วยกันจัดการ เมื่อเทียบการจัดการเชื้อเดลตา กับโอมิครอนนั้นลดลงไป อย่างเช่น สูตรซิโนแวค+แอสตร้าฯ เดิมเคยจัดการกับเดลต้าได้ 201 พอเป็นโอมิครอนเหลือเพียง 12 เท่ากับว่าหายไป 17 เท่า ลดลงค่อนข้างเยอะ ดังนั้นจึงต้องมีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อให้ภูมิคุ้มกันมากพอที่จะลดการแพร่เชื้อและลดการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสูตรไหนก็ตาม ส่วนสูตรไหนจะอยู่ไหนก็ต้องติดตามต่อไป ส่วนกรณีโอมิครอนกำลังรวบรวมข้อมูลปัจจุบันอยู่ ตอนนี้กำลังจะเก็บตัวอย่างคนฉีดสูตรไขว้ ทั้งซิโนแวค+แอสตร้าฯ+แอสตร้าฯ หรือไฟเซอร์ นอกจากนี้ ยังพบว่าโอมิครอนมีการเพิ่มจำนวนช้าด้วยเช่นกัน” นพ.ศุภกิจ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีโอมิครอนเพิ่มจำนวนช้า จะมีผลต่อระยะเวลาการติดเชื้อหรือไม่ นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ปกติไวรัสที่มีปัญหามากๆ ก็น่าจะเพิ่มจำนวนได้เร็ว เพื่อทำอันตรายของร่างกาย แต่จากข้อสังเกตตรงนี้ทางกรมวิทย์ฯจะหารือกับแล็ปอื่นๆว่า เจอแบบนี้หรือไม่ แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าการเพิ่มจำนวนช้าจะทำให้ติดเชื้อยาวกว่า หรือสั้นกว่าแต่อย่างไร

“การศึกษาชัดเจนว่า โอมิครอน มีผลต่อวัคซีนทุกสูตรทุกชนิด เพราะหลบวัคซีนได้มากกว่าเดลตา แต่ตัวเลขสะสมติดโอมิครอนเกือบหมื่นรายแล้ว แต่ผู้เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งขณะนี้เรากำลังสุ่มเป็นสัดส่วนมากขึ้น โดยข้อมูลจากการสุ่มสำรวจสถานการณ์จริงของโอมิครอนในไทย เมื่อเทียบกับเดลตา มีลักษณะอย่างไร คาดว่า 1-2 วันจากนี้จะทราบผลชัดเจน” นพ.ศุภกิจ กล่าว

นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันยังมีคนเรียกร้องไม่ฉีดวัคซีน แต่หลักฐานเชิงประจักษ์ชัดเจนว่า วัคซีนช่วยลดความรุนแรงได้จริง สถานการณ์โลกก็เช่นกัน โดยแน่ๆ ช่วยลดความป่วยหนัก เสียชีวิตได้ และเมื่อเป็นเข็ม 3 ก็ลดการติดเชื้อ ลดการแพร่เชื้อได้ด้วย จึงต้องถามสังคมว่า เราอยู่ด้วยกันในสังคม หากจะปล่อยให้คนฉีดหรือไม่ฉีดตามใจชอบก็จะเป็นปัญหากับคนอื่นได้ แต่หากท่านอยู่คนเดียวก็ไม่เป็นไร จะฉีดหรือไม่สุดแล้วแต่ แต่หากต้องทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น ในหลักการควบคุมโรค การใช้กติกาว่า จะร่วมกิจกรรมมีโอกาสแพร่เชื้อเยอะๆ หากติดกันมาก รอรักษาอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะโอกาสการกลายพันธุ์ยิ่งติดมากเท่าไหร่ ก็จะกลายพันธุ์ง่ายขึ้น เราไม่ประสงค์เห็นพันธุ์อื่นๆอีก

“ขอฝากให้มาฉีดวัคซีนกัน เพราะลดความรุนแรงได้จริง อย่างผู้ป่วยเสียชีวิตเริ่มลดลง ซึ่งมาจากการฉีดวัคซีนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง” นพ.ศุภกิจ กล่าว

18 January 2565

ที่มา แนวหน้า

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 384

 

Preset Colors