02 149 5555 ถึง 60

 

ติด "โควิด" แล้ว หาเตียงไม่ได้ หรือเตียงเต็ม ต้องทำอย่างไร มีช่องทางไหนบ้าง

ติด "โควิด" แล้ว หาเตียงไม่ได้ หรือเตียงเต็ม ต้องทำอย่างไร มีช่องทางไหนบ้าง

คำถามยอดฮิตติด "โควิด" ต้องทำอย่างไรกลับมาอีกครั้ง หาเตียงไม่ได้ หรือ เตียงเต็ม ต้องทำอย่างไร มีช่องทางไหนบ้าง เช็คได้เลย

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ดูเหมือนจะเริ่มกลับมาวิกฤติอีกครั้ง หลังจากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" ที่แพร่อย่างรวดเร็ว ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากข้อมูลของเพจ "เส้นด้าย" ที่ส่งสัญญาณว่า มีการโทรเข้ามาประสานขอเตียงเพิ่มขึ้น "คมชัดลึกออนไลน์" จึงได้รวบรวมข้อมูล ถ้าหาติดโควิดแล้วต้องทำอย่างไร ติดต่อที่ไหน และหากไม่มีเตียงรองรับจะทำอะไรได้บ้าง

หากรู้ว่าติดเชื้อโควิด-19 ควรทำอย่างไร

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า หากผลตรวจ ATK เป็นบวก สามารถโทรเข้าสายด่วน 1330 เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาได้ทันที

เตรียมเอกสารที่จำเป็น เช่น บัตรประจำตัวประชาชน และเอกสารผลตรวจเชื้อโควิด-19

โทรเบอร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการหาเตียง แจ้งช่องทางการติดต่อให้กับหน่วยงาน หรือแอดไลน์ @sabaideebot (สบายดีบอต) เพื่อกรอกข้อมูล

กักตัวเพื่อรอเตียง พยายามดูแลตนเองตามขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ระหว่างรอเตียง

ซึ่งเป็นคำแนะนำจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในการวิธีดูแลตนเองในขณะที่กำลังรอเตียงผู้ป่วย

กักตัวในห้องส่วนตัว ไม่อยู่ร่วมกับผู้อื่น แต่หากจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นหรือไม่มีห้องส่วนตัวแยก ให้เปิดหน้าต่างไว้ เพื่อให้อากาศถ่ายเทมากที่สุด

หากระหว่างกักตัวจำเป็นต้องออกมานอกห้องหรือต้องเข้าใกล้ผู้อื่น ควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ไม่กดลิฟต์ด้วยมือโดยตรง ควรใช้ปากกาหรือวัสดุอื่น ๆ เป็นที่กดลิฟต์ และไม่ยืนพิงลิฟต์หรือสัมผัสลิฟต์

กรณีอยู่คอนโด อพาร์ทเมนท์ หรือที่พักที่มีผู้อื่นร่วมด้วย ให้แจ้งเรื่องการติดเชื้อโควิด-19 กับนิติบุคคล

ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น แยกของใช้ส่วนตัว เช่น อุปกรณ์รับประทานอาหาร แก้วน้ำ หากสั่งสินค้า Delivery ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อย ๆ ทุกครั้ง ไม่ควรรับส่งของโดยตรงกับผู้อื่น

แยกขยะ หากเป็นไปได้ควรแยกการใช้ห้องน้ำกับผู้อื่น แต่ในกรณีที่แยกไม่ได้ ให้พยายามใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และล้างห้องน้ำหลังใช้ทุกครั้ง

ล้างมือด้วยสบู่ น้ำสะอาด และใช้เจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยเฉพาะหลังขับถ่าย

ดูแลตนเองให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อวัน ทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง พยายามทำจิตใจให้สบาย เพื่อลดความวิตกกังวล

หากมีอาการเจ็บป่วยมากหรือรุนแรงขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ให้ติดต่อสายด่วน 1669 สายด่วน 1668 หรือโหลดแอปพลิเคชัน EMS 1669 เพื่อกดเรียกรถพยาบาลกรณีฉุกเฉิน

การดูแลตนเองเมื่อติดโควิด-19 แต่เตียงเต็ม ต้องทำอย่างไร

หากมีไข้สูงตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส ควรดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้ได้ 7 ชั่วโมงขึ้นไป ทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ทุก 4-6 ชั่วโมง ร่วมกับเช็ดตัว

หากมีอาการไอ ให้ทานยาที่ช่วยบรรเทาอาการไอ พยายามนอนตะแคงหนุนหมอนสูง เลี่ยงการนอนราบ

คลื่นไส้อาเจียนท้องเสีย ถ้าทานอาหารได้น้อย ให้ลดปริมาณ แต่เพิ่มมื้ออาหาร งดอาหารจำพวกนม โยเกิร์ต หรืออาหารที่ย่อยยาก

หายใจไม่สะดวก หายใจลำบาก ทำให้ห้องมีอากาศถ่ายเท ค่อย ๆ หายใจทางจมูกและปาก พยายามนั่งตัวตรง หากมีอาการสามารถเอนตัวไปด้านหน้า มือวางบนหน้าขา และพยายามหายใจลึก ๆ ยาว ๆ จะสามารถช่วยได้

สำหรับผู้ที่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อโควิด-19 แนะนำให้ประเมินอาการตนเองเบื้องต้นก่อนว่า มีภาวะเร่งด่วนหรือภาวะฉุกเฉิน เช่น หอบเหนื่อยระหว่างสนทนาพูดไม่เป็นประโยค แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจเร็ว หายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบาก เวลาไอแล้วเหนื่อย หายใจไม่สะดวกขณะทำกิจกรรม หายใจแล้วเจ็บหน้าอก หมดสติ สับสน ไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถสื่อสารด้วยตนเองได้ (กรณีผู้อื่นแจ้งแทน) ถ้ามีอาการเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่ง สามารถโทรติดต่อไปที่ 1669 ซึ่งเป็นสายสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินทันที เพื่อความรวดเร็ว

ในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที

ส่วนกรณีเป็นผู้ป่วยรายใหม่ ไม่เคยโทรประสานเตียง 1668 มาก่อน สามารถ add line ID : @1668.reg กรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มใน Google Sheet เจ้าหน้าที่จะดำเนินการจัดหาเตียงได้ทันที โดยไม่ต้องโทรเข้าสายด่วน 1668 ส่วนผู้ป่วยที่เคยโทรมาประสานหาเตียงแล้ว เจ้าหน้าที่จะโทรติดตามอาการวันละ 1 ครั้ง จนกว่าจะสามารถประสานหาเตียงได้

นอกจากนี้ หากอาการไม่รุนแรง จะถูกจัดเป็นผู้ป่วยที่สามารถรักษาแบบ Home Isolation ซึ่งสามารถรักษาได้ที่บ้านภายใต้คำแนะนำ และการดูแลจากแพทย์

6 January 2565

ที่มา คม-ชัด-ลึก

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 2446

 

Preset Colors