02 149 5555 ถึง 60

 

วิธีเอาชนะปัญหาสุขภาพจิตในผู้ป่วย"หัวใจล้มเหลว"

วิธีเอาชนะปัญหาสุขภาพจิตในผู้ป่วย"หัวใจล้มเหลว"

วิธีเอาชนะปัญหาสุขภาพจิตในผู้ป่วย"หัวใจล้มเหลว"

เมื่อป่วยเป็นโรค"หัวใจล้มเหลว" นอกจากปัญหาร่างกาย ยังมีปัญหาสุขภาพจิต เมื่อตกอยู่ในภาวะเครียดหรือซึมเศร้า ต้องมีวิธีการดูแลจิตใจไม่ให้ย่ำแย่ไปกว่านั้น

การใส่ใจดูแลสุขภาพจิตมีความสำคัญต่อความแข็งแรงของสุขภาพกาย รวมถึง “หัวใจ” อวัยวะที่ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ล่าสุดโครงการ Hug Your Heart โดย แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย เชิญ นายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มาให้คำแนะนำด้านการป้องกันและรักษา ปัญหาสุขภาพด้านหัวใจ ที่สามารถทำได้ด้วยการรู้จักดูแลสุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ

ปัญหาด้านสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ

ประเภทแรกคือ โรคเครียดหรือโรควิตกกังวล (Anxiety) มีความกังวลหรือความกลัวต่อโรคที่เป็นว่าจะมีอาการนักเพียงใด จะเสียชีวิตเมื่อใด หรือจะรักษาได้จริงหรือไม่

เนื่องด้วยโรคหัวใจมักมีอาการที่ซับซ้อน ทำให้ต้องเข้าออกโรงพยาบาลบ่อย ผู้ป่วยจึงมักเกิดความรู้สึกไม่มั่นคง จึงเกิดความเครียดจนเกิดอาการ อาทิ นอนไม่หลับ ปวดหัวเรื้อรัง หรือใจสั่น

โดยบางอาการก็แยกจากโรคหัวใจได้ยาก เช่น หายใจไม่อิ่ม ใจไม่ดี ตกใจง่าย หรือไม่กล้าออกจากบ้านคนเดียว

ส่วนกลุ่มที่สองคือกลุ่มที่มี Negative symptoms หรือภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ป่วยรู้สึกหมดหวัง ท้อแท้ และมองว่าตนเองไม่มีค่า

นายแพทย์รังสฤษฎ์ กล่าวว่า มากถึง 1 ใน 3 ของคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว (Heart failure) มีภาวะซึมเศร้า และกว่า 50% มีภาวะซึมเศร้าชนิดรุนแรง ขั้นคิดอยากฆ่าตัวตายหรือไม่ให้ความร่วมมือต่อการรักษาใดๆ หากคนไข้จำนวนไม่น้อยไม่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะซึมเศร้า

"หมอส่วนใหญ่จะวินิจฉัยทางกายเป็นหลัก ด้วยข้อจำกัดด้านเวลาที่ทำให้ไม่สามารถพิจารณาได้ในทุกมิติ รวมถึงคนไข้เองก็อาจจะไม่ได้เปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน”

ระบบประสาทกับปัญหาสุขภาพจิต

ระบบประสาทของมนุษย์มี 2 ระบบ คือ ระบบ Sympathetic ซึ่งทำหน้าที่เป็น “คันเร่ง” คอยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ และระบบ Para-sympathetic ทำหน้าที่เป็น “เบรก” คอยชะลอไม่ให้หัวใจทำงานหนักเกินไป

ตอนที่เกิดความเครียดหรืออาการซึมเศร้า ระบบคันเร่งจะได้รับการกระตุ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หลอดเลือดหดเกร็ง และความดันสูงขึ้น

“ความเครียดส่งผลให้ความดันขึ้น และหัวใจเต้นเร็วตามการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีเรื่องฮอร์โมนที่หลั่งออกมาส่งผลกระทบต่อหลอดเลือดและหัวใจโดยตรงอีก ทำให้หัวใจโตมากขึ้นและบีบตัวแย่ลง

กลไกเหล่านี้เร่งให้เกิดความเสื่อมทางสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ ก็ทำให้คนไข้ยิ่งต้องมาโรงพยาบาลซ้ำ และนำไปสู่อัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น สิ่งที่เกิดนี้คือวงจรอุบาท จากหัวใจที่มีสภาพแย่อยู่แล้ว เมื่อมีปัญหาจิตใจที่ไม่ได้รับการแก้ไข ก็ทำให้หัวใจมีสภาพแย่ลงไปอีก” นายแพทย์รังสฤษฎ์ กล่าว

วิธีเอาชนะปัญหาสุขภาพจิตในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว

-มีความเข้าใจกับการรักษาโรคที่ถูกต้อง

โรคหัวใจล้มเหลวเป็นโรคที่รักษาได้ แม้ไม่หายขาด แต่การปฏิบัติตามแผนการรักษาจะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ดีและยืนยาวได้

-การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเป็นการดูแลแบบบูรณาการ หรือกระบวนการต่อเนื่องระยะยาว โดยมีแพทย์ให้การวินิจฉัยและมีพยาบาลให้คำแนะนำด้านการดูแลผู้ป่วย

-รักษาด้วยยาและแผนการรักษาอย่างครบถ้วน และต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์

ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวต้องได้รับการส่งเสริมจากครอบครัวให้มั่นใจที่จะกินยาและปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างถูกต้องคือครบถ้วนและต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ห้ามหยุดหรืองดกินยาเองโดยไม่มีคำแนะนำของแพทย์ โดยผู้ป่วยที่กินยาและปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ มีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่ทำตามคำแนะนำของแพทย์ ถึง 10 เท่า

28 October 2564

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 930

 

Preset Colors