02 149 5555 ถึง 60

 

โควิด-19 กับคำถามคาใจ ทำไม!อาการแตกต่างกัน-วัคซีนฉีดแล้วยังติด!

โควิด-19 กับคำถามคาใจ ทำไม!อาการแตกต่างกัน-วัคซีนฉีดแล้วยังติด!

จากประเด็นข้อสงสัย... ทำไมคนที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 จึงมีอาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน... ทำไมฉีดวัคซีนแล้วยังติดเชื้อ บทความนี้เป็นการแสดงความเห็นทางวิชาการ(ต่างมุมมอง) อย่างกระชับ เพื่อหวังสร้างความเข้าใจอย่างทั่วถึงให้มากที่สุด โดยมีหลักฐานทางวิชาการที่สามารถอ้างอิงได้

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 จำเป็นต้องเข้าไปในเซลล์ในร่างกายที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มจำนวน โดยเซลล์นั้นๆต้องมีสารทางชีวภาพบนผิวเซลล์ เช่น ACE-2 และ TMPRSS2 ให้เชื้อเข้าจับเกาะและแทรกเข้าไปในเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนได้ต่อไป ประเด็นสำคัญก็คือว่าสารชีวภาพเหล่านี้มีลักษณะผันแปรหลากหลายแตกต่างตามพันธุกรรมของแต่ละคน คนที่มี ACE-2, TMPRSS2, ฯลฯ ที่มีลักษณะเหมาะสมเท่านั้นที่เชื้อโควิด-19 สามารถจับเกาะเพื่อเข้าไปในเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนได้ ขณะที่คนที่มีลักษณะสารชีวภาพเหล่านี้ไม่เหมาะสม เชื้อไวรัสไม่สามารถเข้าจับเกาะเข้าเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนได้ ดังนั้น เมื่อเราแต่ละคนได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือตรวจพบเชื้อไม่ได้หมายความว่าเราทุกคนมีการติดเชื้อเสมอไป เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นจะกระตุ้นเซลล์ต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างสารต่างๆ หลายชนิดที่เรียกรวมๆ ว่าไซโตไคน์เพื่อต่อต้านแต่ขณะเดียวกันก็กลับทำความเสียหายต่ออวัยวะนั้นๆ ด้วย จนทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะล้มเหลวโดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ (ไม่ได้เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตรง)

ปกติแล้วเมื่อร่างกายได้รับเชื้อใดๆ ก็ตามจะมีการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเป็นต้องมี “สาร HLAs หรือสารพันธุกรรมทางภูมิคุ้มกัน” มาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นเมื่อเชื้อโควิด-19 เข้ามาในร่างกายก็ไม่ใช่ว่าทุกๆคนสามารถตอบสนองต่อเชื้อไวรัสได้ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า “ทีเซลล์” (ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการกำจัดเซลล์ติดเชื้อไวรัส) จำเป็นต้องมีโมเลกุล HLAs ชนิดที่เหมาะสม โดย HLAs ก็มีความหลากหลายสูงมากเช่นกัน (ทั้งนี้ โอกาสที่แต่ละคนจะมีสาร HLAs เหมือนกันมีน้อยมากโดยมักพบได้จากคนที่เป็นฝาแฝดไข่ใบเดียวกัน) การที่เราแต่ละคนมีสาร HLAs ที่แตกต่างกันจึงทำให้การสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 ของแต่ละคนมีความแตกต่างกันไป ขึ้นกับความจำเพาะของไวรัสโควิด-19 กับชนิดของ HLAs ในแต่ละคนว่าจะรวมตัวกันได้หรือไม่เพื่อกระตุ้นเม็ดเลือดขาว “ทีเซลล์” ให้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา

16 September 2564

ที่มา สยามรัฐ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 1976

 

Preset Colors