02 149 5555 ถึง 60

 

ว่ายน้ำ กีฬาฝึกสมองและฟื้นฟูความจำ

ว่ายน้ำ กีฬาฝึกสมองและฟื้นฟูความจำ

“การว่ายน้ำ” เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ที่ดีที่สุดสำหรับสมองของคุณ และไม่ใช่ความลับอีกต่อไป สำหรับการออกกำลังกายแบบแอโรบิก สามารถช่วยป้องกันความเสื่อมโทรมของวัยได้ แต่ผลการวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่า การว่ายน้ำอาจช่วยเพิ่มสุขภาพสมองได้ เพราะการว่ายน้ำเป็นประจำช่วยเพิ่มความจำ การทำงานของสมอง การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน และอารมณ์ การว่ายน้ำอาจช่วยซ่อมแซมความเสียหายจากความเครียด และสร้างการเชื่อมต่อทางประสาทใหม่ๆ ในสมอง แต่นักวิทยาศาสตร์ยังคงพยายามหาคำอธิบายว่าทำไม การว่ายน้ำจึงส่งผลต่อสมองของเราได้

ขณะนี้มีหลักฐานชัดเจนว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (ว่ายน้ำ, ปั่นจักรยาน, กระโดดเชือก, เดิน) สามารถนำไปสู่การสร้างเซลล์ประสาทและมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยย้อนกลับหรือซ่อมแซมความเสียหายต่อเซลล์ประสาท และการเชื่อมต่อของระบบประสาท ทั้งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและปลา

ข้อมูลจากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายในรูปแบบของแอโรบิกนั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมอง ซึ่งเป็นการเพิ่มระดับของโปรตีนในสมอง อย่าง neurotrophic ที่ช่วยพัฒนาเซลล์ในระบบประสาท และยังสร้างความยืดหยุ่นของระบบประสาท พูดง่ายๆ ว่าสมองเกิดการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่โปรตีนดังกล่าวทำงาน นั่นจึงเพิ่มการทำงานขององค์ความรู้ รวมถึงการเรียนรู้และหน่วยความจำ

จากการศึกษาในคนพบความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน ระหว่างความเข้มข้นของปัจจัยโปรตีน neurotrophic ที่ได้รับจากสมอง ซึ่งไหลเวียนอยู่ในสมอง กับการเพิ่มขนาดของฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นบริเวณสมองที่รับผิดชอบการเรียนรู้และความจำ อีกทั้งระดับที่เพิ่มขึ้นของโปรตีน neurotrophic ที่ได้รับจากสมอง ยังแสดงให้เห็นว่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความรู้ความเข้าใจ และช่วยลดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ในทางตรงกันข้าม นักวิจัยสังเกตเห็นความผิดปกติ ทางอารมณ์ดังกล่าวในผู้ป่วย จากการที่โปรตีน neurotrophic ซึ่งได้รับจากสมองมีค่อนข้างน้อย จึงเป็นสาเหตุของความผิดปกติของอารมณ์ข้างต้นได้

ทั้งนี้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกยังส่งเสริมการปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า สารสื่อประสาท หนึ่งในนั้นคือสารเซโรโทนิน ซึ่งเมื่ออยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งสารเซโรโทนินยังเป็นที่ทราบกันดีว่า ช่วยลดภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล และปรับปรุงอารมณ์

งานวิจัยส่วนใหญ่ทำขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจว่า การว่ายน้ำส่งผลต่อสมองอย่างไรในหนู หนูเป็นแบบอย่างที่ดีในห้องปฏิบัติการ เพราะมีความคล้ายคลึงกันทางพันธุกรรมและกายวิภาคของมนุษย์ และจากการศึกษาหนึ่งในหนู การว่ายน้ำช่วยกระตุ้นทางเดินของสมอง ที่ยับยั้งการอักเสบในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นสมองส่วนความทรงจำและการเรียนรู้ และยับยั้งการตายของเซลล์ในสมองส่วนดังกล่าวเช่นกัน การศึกษายังแสดงให้เห็นว่า การว่ายน้ำสามารถช่วยสนับสนุนการอยู่รอดของเซลล์ประสาท และลดผลกระทบด้านความรู้ความเข้าใจจากการแก่ตัวลง หรือแม้อายุมากแต่ความทรงจำยังดี แม้ว่านักวิจัยยังไม่มีวิธีที่จะเห็นภาพการตายของเซลล์อย่างเป็นระบบ และการอยู่รอดของเซลล์ประสาทในคนก็ตาม แต่พวกเขาก็สังเกตเห็นผลลัพธ์ด้านความรู้ความเข้าใจที่คล้ายคลึงกันได้

นักวิจัยได้ฝึกให้หนูว่ายน้ำเป็นเวลา 60 นาทีทุกวัน เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อระบุว่าผลประโยชน์จะคงอยู่ได้นานแค่ไหน จากนั้นทีมได้ทดสอบความจำของหนู โดยให้พวกมันว่ายผ่านเขาวงกตในน้ำ โดยวางแขนรัศมีที่แตกกิ่งออกเป็น 6 แขน และมีอีกหนึ่งแขนที่ซ่อนอยู่ในน้ำ ทั้งนี้หนูว่ายน้ำอย่างอิสระถึง 6 ครั้ง และก็ได้พยายามค้นหาแขนวงรัศมีที่ซ่อนอยู่ 1 แขน หลังจากฝึกว่ายน้ำได้เพียง 7 วัน นักวิจัยพบว่าความทรงจำทั้งระยะสั้นและระยะยาวดีขึ้น โดยอิงจากข้อผิดพลาดที่หนูทำในแต่ละวันที่เริ่มลดลง นักวิจัยแนะนำว่าการเพิ่มการทำงานขององค์ความรู้นี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานที่ว่า การว่ายน้ำสามารถนำไปใช้เพื่อการซ่อมแซมการเรียนรู้ และความเสียหายของหน่วยความจำที่เกิดจากโรคทางจิตเวชในมนุษย์ได้.

8 September 2564

ที่มา ไทยโพสต์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 2356

 

Preset Colors