02 149 5555 ถึง 60

 

สธ.ชี้กักตัวที่บ้านส่งผลดี เตียงผู้ป่วยโควิดเริ่มดีขึ้น แต่เตียงไอซียูยังขาด

สธ.ชี้กักตัวที่บ้านส่งผลดี เตียงผู้ป่วยโควิดเริ่มดีขึ้น แต่เตียงไอซียูยังขาด

วันที่ 26 สิงหาคม 2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์แถลงข่าวในประเด็นการบริหารจัดการเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ว่าสถานการณ์เตียงในต่างจังหวัดเริ่มตึง แต่ปัญหามีไม่มากการบริหารค่อนข้างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในแต่ละจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด แพทย์สาธารณสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สามารถรวมพลังในจังหวัดและขยายเตียงไปที่โรงพยาบาลชุมชนได้ แต่กรุงเทพฯรวมของการแยกกักตัวที่บ้าน Home Isolation (HI) ยอดสะสมอยู่ที่ 86,188 รายช่วงต้นๆมีความติดขัดบ้าง แต่ตอนนี้ระบบค่อนข้างไหลลื่นแล้ว มีการขยายคู่สายเป็น 2-3 พันคู่สาย หาสถานพยาบาลที่มารับผู้ป่วย HI ค่อนข้างมาก มีทั้งโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร กรมการแพทย์ รวมถึงคลินิกชุมชนอบอุ่น เพราะฉะนั้นจำนวนผู้ป่วยที่อยู่ใน HI ก็จะมากขึ้นทุกวัน โดยเฉลี่ยแต่ละวันตอนนี้ เฉพาะผู้ป่วยใหม่ในกรุงเทพฯประมาณวันละ 4 พันคน มีผู้ป่วยที่ยินยอมทำ HI วันละพันกว่าคน

ส่วนศูนย์พักคอย Community Isolation (CI) ในกรุงเทพฯ เปิดดำเนินการแล้ว 64 แห่ง มีจำนวนเตียง 8,694 เตียง จำนวนครองเตียง 3,410 เตียงคงเหลือ 5,284 เตียง รับผู้ป่วยใหม่ 251 ราย สะสม 15,749 ราย ส่วนที่เหลือก็จะเข้าไปรักษาในฮอสพิเทล หรือเข้าโรงพยาบาล ทั้งนี้จากการทำ HI และ CI ทำให้จำนวนการรอคอยเตียงลดลงอย่างชัดเจน ระยะเวลาการรอคอยเตียงดีขึ้น รอคอยเกิน 24 ชม.มีไม่มากนัก

"สถานการณ์สีเหลืองดีขึ้นเยอะ ส่วนสีแดงยังมีต้องรอคอยอยู่ โดยจากที่คนไข้กรุงเทพฯเกินพันขึ้นไป ทำให้เรากลัวว่าเตียง ICU ไม่พอ นำเรียนว่าเตียง ICU ตอนนี้ยังบริหารจัดการค่อนข้างยาก ต้องดูวันต่อวัน แต่จำนวนที่รอคอยเกิน 24 ชม.ดีขึ้น อย่างไรก็ตามมีประชาชนที่อยู่ HI จากสีเขียวก็จะไปอยู่ในกลุ่มที่เหลืองอ่อนได้ เราก็บอกว่าให้มาโรงพยาบาล หรือฮอสพิเทล เพราะเรามีเครื่องออกซิเจน แต่ปรากฎว่ามีหลายท่านขอไม่มา เพราะเขารู้สึกว่าอยู่ที่นั่นแล้วเขาปลอดภัยดี ยาก็ได้แล้ว และอาการไม่มาก เรียนว่าถ้าคุณหมอแนะนำยังอยากให้มาก เพราะเตียงเหลืองเราบริหารจัดการค่อนข้างดีขึ้น ต้องขอบคุณทางเอกชนที่หลายส่วนแปลงฮอสพิเทลให้สามารถให้ออกซิเจนได้ คนไข้สีเหลืองก็ได้รับการดูแลดีขึ้น ถ้าเป็นสีเหลืองต้องเริ่มให้ออกซิเจนขอให้มา อย่าอยู่บ้าน แม้กระทั่งสีแดงมีบางส่วนที่ปฏิเสธมีคนไข้ที่ติดบ้าน ติดเตียง มีโรคร่วมเช่นมะเร็งระยะสุดท้าย ที่ขอเสียชีวิตที่บ้าน ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ว่าทำไมเตียงสีแดงจึงลดลงไปด้วย "นพ.สมศักดิ์ กล่าว

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ทั้เราได้รับความร่วมมือจากหลายส่วนอาทิโรงพยาบาลตามสิทธิ สำหรับผู้ป่วยทางจิต มีโรงพยาบาลศรีธัญญา และโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลสนามเพื่อคนพิการ อาทิ โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ นอกจากนี้เราก็ทำ CI สำหรับโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีและสำหรับเด็กอายุ 7-15 ปี ที่ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ที่เกียกกาย

27 August 2564

ที่มา แนวหน้า

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 1694

 

Preset Colors