02 149 5555 ถึง 60

 

นักวิจัยกรมวิทย์ฯ ยันตรวจหาโควิด ที่แม่นยำสุดต้องจบที่ RT- CPR

นักวิจัยกรมวิทย์ฯ ยันตรวจหาโควิด ที่แม่นยำสุดต้องจบที่ RT- CPR

17 มิ.ย.64-นายแพทย์อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การเลือกใช้เครื่องมือการตรวจโควิด-19 รูปแบบต่างๆ ทางห้องปฏิบัติการให้สอดรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดนั้น ทางบุคลากรทางแพทย์สามารถเลือกใช้ได้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ ตรงตามนโยบาย และอาจประเมินจากพื้นที่ระบาด ประวัติความเสี่ยงของแต่ละบุคคลหรือการสัมผัสผู้ป่วย ร่วมกับอาการแสดงที่อาจมีมากหรือน้อย ไปจนถึงไม่มีอาการเลยก็ตาม โดยการตรวจการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทางห้องปฏิบัติการ แบ่งได้ 2 แบบ ดังนี้ 1. การตรวจหาไวรัสหรือส่วนของไวรัสในสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ประกอบด้วย 1.1 การตรวจสารพันธุกรรม Nucleic Acid Amplification Testing (NAAT) วิธีมาตรฐานคือ Real-Time Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) 1.2 การตรวจหาแอนติเจนแบบรวดเร็ว และ 2. การตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกัน (แอนติบอดี) ต่อไวรัส โดยผู้ที่อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค (Patient Under Investigation : PUI) ต้องได้รับการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 โดยวิธีมาตรฐาน RT-PCR

โดยการประเมินการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยคัดกรองบุคคลที่มีประวัติความเสี่ยงหรือมีการสัมผัสผู้ป่วยเพื่อตรวจหาเชื้อนั้น อธิบายได้ว่า ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยที่มี “ความเสี่ยงสูง” แนะนำให้รับการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 โดยวิธีมาตรฐาน RT-PCR ในสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจในช่วงที่สงสัยว่าสัมผัสเชื้อมาแล้ว 3-5 วัน รวมถึงกักตัว 14 วัน หากเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง แต่ได้รับการตรวจคัดกรองโดยชุดทดสอบแอนติเจนแบบรวดเร็วก่อนแล้วผลเป็นลบ จะต้องทำการยืนยันด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR ขณะเดียวกันผู้สัมผัสที่มี “ความเสี่ยงต่ำและความเสี่ยงต่ำมาก” ให้สังเกตอาการ 14 วัน โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO มีคำแนะนำในการจัดการ สามารถใช้ชุดทดสอบแอนติเจนแบบรวดเร็วในการทดสอบก่อน หากเป็นบวก ให้ทำการตรวจยืนยันต่อโดยวิธีมาตรฐาน RT-PCR และกรณีที่ต้องการทราบผลการตรวจเร็วในเบื้องต้นก่อน เช่น คนไข้จำเป็นต้องผ่าตัดด่วน สามารถใช้ชุดตรวจแอนติเจนแบบรวดเร็วก่อนที่จะได้รับผล RT-PCR กรณีนี้แม้ได้ผลเป็นลบ บุคลากรทางการแพทย์ยังคงต้องจัดการด้วยความระมัดระวังสูงสุด

นายแพทย์อาชวินทร์ กล่าวเสริมว่า การใช้ชุดตรวจหาไวรัสยังสามารถใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก (Active Case Finding) โดยแบ่งตามการระบาด ดังนี้ การระบาดในวงจำกัด เช่น โรงงาน เรือนจำ ตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR การระบาดในวงกว้าง มีผู้เสี่ยงติดเชื้อจำนวนมาก เป็นแหล่งพื้นที่สีแดง มีความชุกของโรคสูง สามารถตรวจโดยชุดทดสอบแอนติเจนแบบรวดเร็วก่อน หากผลเป็นลบ ให้ทำตามนโยบายของพื้นที่หรือจัดการตามความเสี่ยงของบุคคลตามข้อมูลเบื้องต้น หากผลเป็นบวกให้ทำการยืนยันด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR และหากต้องการใช้น้ำลาย อาจใช้การตรวจน้ำลายแบบรายบุคคล หรือจัดการคัดกรองด้วยเทคนิคอื่น โดยผลบวกควรยืนยันด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR และเฝ้าระวังผู้ได้ผลลบ

ขณะเดียวกัน การตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกัน (แอนติบอดี) ต่อไวรัส สามารถใช้ชุดตรวจวินิจฉัยร่วมหากเกิดการตรวจ RT-PCR ให้ผลลบ และตรวจซ้ำแล้วยังคงได้ผลลบ แต่มีอาการทางคลินิคที่เข้ากันได้กับโควิด-19 เพราะในรายที่มาพบแพทย์ล่าช้าอาจมีปริมาณไวรัสต่ำลงกว่าขีดจำกัดของการตรวจพบได้ ในกรณีนี้สามารถแปลผลว่าผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้การระบาดในวงจำกัด ยังสามารถพิจารณาใช้การตรวจแอนติบอดีเข้ามา โดยตรวจแอนติบอดี 2 ครั้ง คือเมื่อครบวันที่ 14 และวันที่ 28 โดยการตรวจหาภูมิคุ้มกันในครั้งแรก หากผลเป็นบวก แปลผลได้ 2 แบบคือเพิ่งติดเชื้อหรือติดเชื้อมานานแล้ว ส่วนการตรวจหาภูมิคุ้มกันครั้งที่ 2 หากผลเป็นบวกแสดงว่าเพิ่งติดเชื้อภายใน 1 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ การใช้งานและการแปลผลต้องทำโดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ห้ามประชาชนนำมาตรวจด้วยตนเอง เนื่องจากจะต้องใช้วิธีการตรวจและการแปลผลโดยผู้เชี่ยวชาญและหากผิดพลาดจะเป็นอันตรายต่อตนเองและการควบคุมการระบาดของโรคได้ นายแพทย์อาชวินทร์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในขั้นตอนการตรวจโควิด-19 ที่สำคัญคือ ผลการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการที่รวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับ “น้ำยา” และ “เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ” อันมีส่วนช่วยในการรักษาผู้ป่วยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบัน คิว ไบโอซายน์ ตัวแทนจำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงและเทคโนโลยีอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก แนะนำ “SARS-CoV-2 Solution” (ซาร์ส โควี ทู โซลูชัน) นวัตกรรมทางการแพทย์ ประกอบด้วย

4 หมวดสำคัญ ดังนี้ 1. ชุดจัดเก็บสิ่งส่งตรวจ 2. การตรวจหาเชื้อไวรัส 3. การตรวจภูมิคุ้มกันด้วยชุดทดสอบรวดเร็ว และ 4. ชุดควบคุมคุณภาพการทดสอบ ตัวช่วยสำคัญในการพัฒนาห้องปฏิบัติการของบุคลากรทางการแพทย์ ในการรุกตรวจเชื้อไวรัส โควิด-19 ให้กับประชาชนซึ่งมีอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมช่วยให้ระบบการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น ภายใต้การทำงานที่มีข้อจำกัดทั้งด้านเครื่องมือทางการแพทย์ เวลา และจำนวนบุคลากร

18 June 2564

ที่มา ไทยโพสต์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 5046

 

Preset Colors