02 149 5555 ถึง 60

 

“RSV” ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย (Respiratory Syncytial Virus)

“RSV” ไวรัสตัวร้าย ป้องกันได้ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย (Respiratory Syncytial Virus)

กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา เผยความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจในเด็กเล็ก พร้อมเปรียบเทียบระหว่าง RSV-ไข้หวัดใหญ่-ไข้หวัดธรรมดา ให้บรรดาพ่อแม่ได้นำไปใช้สังเกต

สำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ ลูกคือแก้วตาดวงใจ เมื่อลูกมีอาการไม่สบายแม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้กังวลใจคิด ไปต่างๆ นานา แต่ถ้าเราทำความรู้จักและเข้าใจโรคให้มากขึ้น รู้อาการ รู้แนวทางป้องกันรักษาก็น่าจะทำให้คลาย ความกังวลลงได้

พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา โรงพยาบาลนวเวช จึงได้นำความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจที่มักเกิดกับเด็กเล็กมา ให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้จัก ซึ่งหลายคนก็อาจสับสนระหว่าง RSV ไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดธรรมดา คุณหมอก็เลยมี ข้อมูลมาให้เปรียบเทียบด้วยว่าแต่ละโรคมีความแตกต่างกันอย่างไร

RSV เชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจในเด็ก

เชื้อไวรัส RSV สามารถติดต่อกันผ่านสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย ผ่านการไอ จาม และสัมผัสกันโดยตรง

อาการ

อาการเริ่มแรกเหมือนไข้หวัดทั่วไป คือ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล ซึ่งในรายที่มีอาการเล็กน้อยของทาง เดิน หายใจส่วนต้น สามารถหายได้เองภายใน 5-7 วัน

เด็กบางคนมีอาการมากกว่าไข้หวัด คือ อาการไปถึงทางเดินหายใจส่วนล่างจะมีอาการไอแบบมี เสมหะ ร่วมด้วย ไอมากจนอาเจียน อาจมีหายใจเร็ว แรง หายใจลำบาก หรือหายใจแบบมีเสียงวี๊ด (wheezing) ได้ ในรายที่มีอาการหนัก

การรักษา

ก่อนใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ ควรคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

เสิร์ฟความแข็งแรงถึงบ้าน ด้วย 5 ท่ากระชับหน้าท้อง

การรักษาอาการทั่วไป ให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำ ให้ออกซิเจน ล้างจมูก ไปจนถึงช่วยดูดระบาย เสมหะใน กรณีที่น้ำมูกหรือเสมหะอุดตันมาก

การรักษาแบบเฉพาะที่ พ่นยาขยายหลอดลม พ่นน้ำเกลือเข้มข้นชนิดพิเศษ เพื่อลดภาวะหลอดลม เกร็ง หายใจมีเสียงวี๊ด

การใช้ยา Montelukast มีส่วนช่วยในการลดความรุนแรงในช่วงแรกของการหายใจหอบเหนื่อยแบบมี เสียงวี๊ด และให้ใช้ยาต่อเนื่องเพื่อลดการกลับเป็นซ้ำของโรค

การป้องกัน

ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ดังนั้นจึงเน้นการป้องกันโดยการเพิ่มภูมิต้านทานธรรมชาติ โดยเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่

หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัด

ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง และล้างมือบ่อยๆ

ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดธรรมดา

ไข้หวัดใหญ่ต่างกับไข้หวัดธรรมดาอย่างไร?

อาการระยะเริ่มคล้ายกันมากแต่ไข้หวัดใหญ่นั้นอาการ รุนแรง กว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยมีไข้สูง (39-40 องศาเซลเซียส) ปวดศีรษะ ไอมาก อ่อนเพลียอย่างรุนแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

นอกจากนี้ไข้หวัด ใหญ่ยังติดต่อกันได้ง่ายมาก จากการหายใจเอาเชื้อที่กระจายอยู่ในละอองฝอยจากการไอ จาม หรือการอยู่ใกล้ชิด สัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนกับผู้ป่วย และนำเชื้อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สำคัญอย่างไร

ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและการเสียชีวิต สำหรับบุคคลกลุ่มเสี่ยง

ลดอัตราการลาป่วยและการเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาล

ลดอัตราการขาดงาน ขาดโรงเรียน หรือรบกวนแผนการเดินทาง

ลดการเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ต่อสมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือผู้ร่วมงานต่างๆ

7 May 2564

ที่มา โพสต์ทูเดย์

Posted By Thongpet/sty

Views, 1094

 

Preset Colors