02 149 5555 ถึง 60

 

นักจิตวิทยาเผยอีกสาเหตุของภาวะสมองหยุดชะงัก "ยืนงง...

นักจิตวิทยาเผยอีกสาเหตุของภาวะสมองหยุดชะงัก "ยืนงง...

นักจิตวิทยาเผยอีกสาเหตุของภาวะสมองหยุดชะงัก "ยืนงงหน้าประตู ไม่รู้มาทำอะไรที่นี่"

นักจิตวิทยาเผยอีกสาเหตุของภาวะสมองหยุดชะงัก "ยืนงงหน้าประตู ไม่รู้มาทำอะไรที่นี่"

นักจิตวิทยาเผยอีกสาเหตุของภาวะสมองหยุดชะงัก “ยืนงงหน้าประตู ไม่รู้มาทำอะไรที่นี่” – BBCไทย

คุณก็เคยใช่ไหม เดินไปอีกห้องหนึ่งหรือเอื้อมมือเปิดตู้เย็น แล้วจู่ ๆ ก็ลืมเสียสนิทว่าจะมาทำอะไร หรือต้องการหยิบสิ่งใดกันแน่ ? ภาวะสมองว่างเปล่ากะทันหันแบบนี้เรียกว่า “ปรากฏการณ์ปากประตู” (doorway effect)

เดิมทีผลวิจัยทางจิตวิทยาในอดีตชี้ว่า ภาวะนี้เกิดจากระบบประสาทอ่อนล้า หรือสมองล้างความทรงจำเพื่อการใช้งานเฉพาะหน้า (working memory) ให้ว่างเปล่าเมื่อเปลี่ยนสถานที่ เพื่อให้พร้อมรับข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ดี ทำให้เกิดอาการได้หน้าลืมหลังไปเสียอย่างนั้น

แต่อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาล่าสุดของมหาวิทยาลัยบอนด์ในออสเตรเลียกลับพบว่า การที่เราสูญเสียความจำไปชั่วขณะเมื่อเคลื่อนย้ายตำแหน่งที่อยู่นั้น อาจไม่ได้เกิดจากการที่สมองรับรู้ว่ามีการเปลี่ยนฉาก

“กฎธรรมชาติ” ที่เรายังไม่รู้จัก สร้างสมองมนุษย์กับจักรวาลให้คล้ายกันอย่างน่าประหลาด

รายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร BMC Psychology ระบุว่า ทีมนักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยบอนด์ได้ทดลองให้อาสาสมัคร 74 คน ใช้อุปกรณ์จำลองโลกเสมือนจริงหรือวีอาร์ (VR) เดินผ่านห้องสามมิติที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นหลายห้อง โดยพยายามจดจำวัตถุต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในห้องที่ผ่านมาให้ได้

ผลปรากฏว่าอาสาสมัครทั้งหมดไม่มีอาการหลงลืม หรือเกิดปรากฎการณ์ doorway effect ขึ้นอย่างที่ควรจะเป็นแต่อย่างใด ทว่าเมื่อลองให้อาสาสมัครทำงานที่ยากขึ้น เช่นให้นับเลขถอยหลังไปด้วยขณะที่เดินผ่านห้องและจดจำวัตถุต่าง ๆ ผลปรากฏว่าเริ่มมีอาการหลงลืมเกิดขึ้นกับอาสาสมัครจำนวนมาก

ดร. โอลิเวอร์ บอมานน์ ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า “ผลการทดลองดังกล่าวชี้ว่า การเปลี่ยนสถานที่เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะสมองว่างเปล่ากะทันหัน แต่อาการหลงลืมจะเกิดขึ้นเมื่อสมองอยู่ในภาวะที่ต้องแบกรับข้อมูลจำนวนมากเกินไป หรืออยู่ในภาวะที่ไม่พร้อมและอ่อนแอ จนไม่อาจบริหารความคิดความจำได้ดี”

“นอกจากนี้ การเปลี่ยนฉากที่ตามองเห็นจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งที่คล้ายกัน เช่นเดินจากห้องที่อยู่ไปยังห้องถัดไปซึ่งมีการตกแต่งไม่ต่างกันมากนัก มักจะไม่ทำให้เกิด doorway effect ขึ้น แต่การเปลี่ยนฉากสถานที่ไปเป็นที่อื่นซึ่งดูต่างกันอย่างสิ้นเชิงในช่วงเวลาสั้น ๆ จะทำให้เกิดอาการหลงลืมกะทันหันได้มากกว่า”

“เวลาที่คุณอยู่ในห้างสรรพสินค้า การขึ้นลงบันไดเลื่อนเพื่อเปลี่ยนชั้น ไม่ได้ทำให้คุณหลงลืมอะไรไปมากนัก เท่ากับการเดินออกจากแผนกสินค้าสุดท้ายไปยังลานจอดรถ ซึ่งเหตุการณ์ขณะนั้นจะทำให้คุณลืมซื้อของบางอย่างที่ต้องการไปได้”

“สมองเก็บข้อมูลและเรียกใช้ความทรงจำโดยแบ่งมันออกเป็นส่วน ๆ วิธีนี้ทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็มีข้อเสียหากสมองเริ่มคิดว่าตนเองอยู่ในบริบทแวดล้อมที่ต่างออกไป ทำให้ไปเรียกคืนข้อมูลความจำจากส่วนอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ตั้งใจจะทำแต่แรก”

“หากคุณไม่ต้องการจะตกอยู่ในภาวะสมองว่างเปล่ากะทันหันแบบนี้อีก ให้พยายามตั้งสมาธิจดจ่อกับงานตรงหน้าจนกว่ามันจะสำเร็จลุล่วงไปทีละอย่าง จะเป็นการดีกว่า” ดร. บอมานน์ กล่าว

15 March 2564

ที่มา ข่าวสด

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 2046

 

Preset Colors