02 149 5555 ถึง 60

 

แนะงีบหลับช่วงพักเที่ยง ช่วยความจำดีสมองแล่น

แนะงีบหลับช่วงพักเที่ยง ช่วยความจำดีสมองแล่น

หลายคนอาจมองว่าแอบงีบนอนหลับระหว่างวันไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากพันธุกรรม และไม่ควรเป็นพฤติกรรมที่ควรเอาเป็นแบบอย่าง หรือไม่ใช่เรื่องดี โดยเฉพาะการแอบงีบในที่ทำงาน แต่ล่าสุดข้อมูลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า จากการตรวจสอบยีนของคนอังกฤษเกือบครึ่งล้านคน พบว่าประชากรเมืองผู้ดีชอบแอบงีบหลับในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งว่ากันว่าเป็นการพักหลับเพื่อเอาแรง ที่อาจส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะความจำ และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง

นักวิจัยจากโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ระบุว่า “ยีนของประชากรอังกฤษราว 123 ภูมิภาค มีความเกี่ยวข้องกับการงีบหลับในตอนกลางวัน อีกทั้งเมื่อเจาะลึกลงไปในข้อมูล คนอังกฤษบอกว่าเหตุผลที่ทำให้พวกเขาต้องแอบนอนหลับในช่วงเวลาพักกลางวันนั้นมีด้วยกัน 3 ประการ สำหรับเหตุผลข้อแรก ผู้ที่ตอบคำถามเกี่ยวกับการนอนหลับกลางวัน 2 คน เพราะนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยคนแรกบอกว่าทั้งนอนไม่หลับและต้องตื่นแต่เช้าตรู่ ส่วนอีกรายหนึ่งบอกว่าเขานอนตอนใกล้สว่าง ส่วนเหตุผลข้อที่สามนั้น ประชากรเมืองผู้ดีบอกว่า เหตุผลที่ชอบงีบเวลากลางวันเกี่ยวข้องกับความต้องการในการนอนของแต่ละคนว่าจะมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้ามีมากจึงเป็นสาเหตุของการแอบหลับในที่ทำงานนั่นเอง”

ด้าน ดร.ดาชิตบอกว่า “จากข้อมูลข้างต้นนั้นสะท้อนให้เห็นว่า การที่คนแอบงีบหลับในช่วงเวลากลางวันนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขามีแรงที่จะทำงานต่อ หรือที่เรียกว่าเป็นกระบวนการขับเคลื่อนทางร่างกายเพื่อตอบสนองต่อการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม หรือพฤติกรรมของการลอกเลียนแบบซึ่งกันและกัน”

ทั้งนี้ นักวิจัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างมักสร้างความกังวลเกี่ยวกับการเชื่อมโยงด้านสุขภาพ เช่น โรคอ้วนและโรคความดันโลหิตสูง ที่น่าสนใจนั้น ผู้ที่มีกรรมพันธุ์หรือยีนที่เกี่ยวข้องกับการงีบหลับ หรือฮอร์โมนโอเร็กซิน (orexin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการกินอาหารและการนอนหลับ หากร่างกายมีภาวะฮอร์โมนโอเร็กซิน (orexin) ต่ำ ก็จะทำให้รู้สึกง่วงและแอบงีบหลับในช่วงเวลากลางวัน หรือเป็นโรคนั่งหลับในเวลากลางวัน ( narcolepsy )

ด้าน “ไอยา เดกเลจ” นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากโรงเรียนแพทย์ ม.ฮาร์วาร์ด บอกว่า “จากข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า การที่คนมีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ อาจทำให้ป่วยเป็นโรคนั่งหลับในเวลากลางวันได้ หรือไม่สามารถควบคุมการนอนหลับได้ อีกทั้งการที่มนุษย์มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ก็อาจจะทำให้เป็นผู้ที่ชอบแอบงีบหลับมากกว่าคนอื่น”

สำหรับขั้นตอนในการทดสอบข้างต้นนั้น ทางทีมวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมของคนอังกฤษ จำนวน 452,633 คน ซึ่งเป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมจาก Biobank หรือศูนย์ฐานข้อมูลและแหล่งข้อมูลการวิจัยทางชีวการแพทย์ขนาดใหญ่ ที่มีข้อมูลทางพันธุกรรมและสุขภาพในเชิงลึกจากผู้เข้าร่วมกว่าครึ่งล้านคนในสหราชอาณาจักร โดยผู้เข้าร่วมถูกถามว่า พวกเขางีบหลับบ่อยแค่ไหนในระหว่างวัน และอยู่ในกรณีไหน 1 ใน 3 และถ้าอยู่ในข่ายทั้ง 3 ดังกล่าวนั้น ความถี่ในการแอบงีบหลับเวลากลางวันนั้นบ่อยหรือไม่ หรือบ่อยแค่ไหน และบางคนถูกขอให้สวมเครื่องมือเพื่อติดตามการทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน เพื่อตรวจหาความถี่ในการแอบงีบหลับ เพื่อให้นักวิจัยได้รู้ว่าผู้ที่เข้ารับการทดสอบนั้นแอบหลับบ่อยแค่ไหน และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ร่วมกับการตอบแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลของการงีบหลับในตอนกลางวันที่ถูกต้อง

ด้าน ดร.มาร์ธา การาเลต ผู้ทำการวิจัยร่วม กล่าวว่า “ในอนาคตนั้นการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการงีบหลับช่วงเวลากลางวันในแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะมีงานวิจัยที่เขียนในวารสารการแพทย์ของอังกฤษระบุว่า การงีบหลับเวลาพักเที่ยงเพียง 5 นาที ก่อนที่จะถึงเวลาบ่ายโมงตรง หรือช่วงใกล้หมดเวลาพักเที่ยง จะช่วยทำให้ความจำของคุณดีขึ้น และทำให้สมองของคุณปลอดโปร่งมากยิ่งขึ้น และคนที่งีบหลับในช่วงบ่ายเป็นประจำ ดูเหมือนว่าจะพูดได้คล่องกว่าและจำสิ่งต่างๆ ได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้นอนกลางวันด้วยการงีบหลับ”.

9 March 2564

ที่มา ไทยโพสต์

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 1232

 

Preset Colors