02 149 5555 ถึง 60

 

4 ปัจจัย สำคัญพิจารณาวัคซีนโควิด-19

4 ปัจจัย สำคัญพิจารณาวัคซีนโควิด-19

ความก้าวหน้าของการวิจัยวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก (25 มกราคม 64) มีวัคซีนเฟส 1 จำนวน 38 ชนิด เฟส 2 จำนวน 24 ชนิด และ เฟส 3 จำนวน 20 ชนิด วัคซีนในสัตว์ทดลอง 90 ชนิด แม้จะมีการฉีดฉุกเฉินไปในหลายประเทศ แต่หลายคนยังคงกังวลและสับสนในด้านความปลอดภัย

หากหากย้อนกลับไปประวัติศาสตร์โลก ปี 2461 ไข้หวัดสเปน ระบาด 2 ปี มีผู้เสียชีวิตกว่า 20-80 ล้านคนทั่วโลก ขณะที่โรคเอดส์ ที่ระบาดในปี 2525 ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีน ดังนั้น การที่จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันทั่วโลก หรือการผลิตวัคซีน จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและต้องคำนึงถึงความปลอดภัย เพื่อให้ประชากรโลกเกิดภูมิคุ้มกัน และลดอัตราการเสียชีวิต ด้วยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด

“ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยลีพรรณ” สมาชิกวุฒิสภา อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวภายในการประชุมวิชาการสรีรวิทยา-พยาธิสรีรวิทยา ครั้งที่ 38 โดยระบุว่า ประชากรทั่วโลกมีอยู่ราว 7,500 ล้านคน หากจะฉีดวัคซีนให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ จะต้องฉีดราว 4,500 ล้านคนหรือ 60% ของประชากรโลก (เท่ากับ 9,000 ล้านเข็ม)

ทั้งนี้ ภูมิคุ้มกันแต่ละโรคไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความสามารถของโรคนั้นๆ ว่าแพร่ได้มากน้อยแค่ไหน โควิด-19 มีความสามารถในการแพร่เชื้ออยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่ โรคหัด ความสามารถในการแพร่เชื้อ คือ 1 ต่อ 16 คน แต่ความโชคดี คือ ไทยฉีดวัคซีนป้องกันหัดได้ 98% (ตามเกณฑ์คือฉีด 90%)

“หากคำนวนว่า ทุกบริษัทที่ผลิตวัคซีนโควิด-19 รวมกัน จะถึง 9,000 ล้านเข็มเมื่อไหร่ และหากผลิตได้ ความสามารถในการฉีด จะฉีดได้รวดเร็วขนาดไหน เมื่อนำ 2 ปัจจัยนี้มาคำนวณ พบว่า จะผลิตได้ไม่เร็วกว่า ธันวาคม ปีนี้ เพราะฉะนั้น ภูมิคุ้มกันหมู่จะไม่เกิดในปี 2564 ยกเว้นจะมีโรงงานที่ตั้งขึ้นใหม่ แต่ไม่ใช่ว่าใครจะมาฉีดกันเล่นๆ ได้ ต้องฉีดโดยสถานพยาบาล”

สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย

ปัจจุบัน ประเทศที่มีวัคซีนเฟส 3 ทั้งหมด 7 ประเทศ ได้แก่ จีน 6 ชนิด , สหรัฐฯ 4 ชนิด , รัสเซีย 2 ชนิด , อังกฤษ 1 ชนิด , แคนาดา 1 ชนิด , อินเดีย 2 ชนิด และ คาซัคสถาน 1 ชนิด

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาวัคซีน หากมีให้เลือกมากกว่า 1 ชนิด ต้องพิจารณา 4 ปัจจัย คือ “ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค” แต่ต้องทำความเข้าใจว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีประสิทธิภาพ 50-70% ดังนั้น องค์การอนามัยโลก WHO จึงกำหนดให้วัคซีนที่จะฉีดต้องมีประสิทธิภาพ 50% ขึ้นไป

ถัดมา “ความปลอดภัย” หรือผลข้างเคียง โดยเฉพาะคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง “ความสะดวกในการเก็บรักษาและขนส่ง” เพราะวัคซีนเมื่อผลิตนอกประเทศ เวลาขนส่ง ต้องมีระบบควบคุมความเย็น ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บในอุณหภูมิ 2 – 8 องศา แต่ก็มีบางชนิดที่ต้องเก็บในอุณหภูมิ -70 องศา คือ ไฟเซอร์-ไบโอนเทค และ โมเดอร์นา เก็บในอุณหภูมิ -20 องศา อาจทำให้การขนส่งลำบาก และทำให้ประสิทธิภาพลดลง หากระบบควบคุมความเย็นทำได้ไม่ดี สุดท้าย คือ “ราคาค่าใช้จ่าย”

ด้าน “จอห์น แคลร์” รองประธานฝ่ายบริหาร หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ประเทศไทยและอินโดจีน (เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว) บริษัท ดีเคเอสเอช ในฐานะภาคเอกชน ที่มีส่วนในการขนส่งกระจายยาและวัคซีน อาทิ วัคซีนไข้หวัด ให้แก่สถานพยาบาล ในช่วง 8-10 ปีที่ผ่านมา มากกว่า 40 ล้านโดส ให้ความเห็นในแง่ของการขนส่งว่า สิ่งสำคัญ ในการกระจายขนส่งวัคซีนและผลิตภัณฑ์ยา คือ การควบคุมคุณภาพให้ไปถึงจุดหมายปลายทาง โดยเฉพาะวัคซีน แน่นอนว่าอุณหภูมิเป็นเรื่องสำคัญ ต้องไม่เกิน 2 – 8 องศา การใช้ระบบขนส่งแบบยาเย็น (Cold Chain) จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ยายังคงคุณภาพและอยู่ในระบบอุณหภูมิที่ถูกต้องโดยไม่แปรปรวน

สำหรับกรณีวัคซีนที่ต้องอยู่ในอุณหภูมิ -70 องศา อย่างไฟเซอร์-ไบโอนเทค “จอห์น” ระบุว่า ถือเป็นข่าวดีที่ไฟเซอร์-ไบโอนเทค เป็นวัคซีนตัวเดียวที่ต้องเก็บในอุณหภูมิ -70 องศา ขณะที่ วัคซีนที่ทางรัฐบาลสั่งเข้ามาขณะนี้อยู่ในระดับ 2 – 8 องศา

2 February 2564

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 956

 

Preset Colors