02 149 5555 ถึง 60

 

ปฏิวัติวิธีเรียนรู้ สมอง ได้ดีช่วงเวลาไหน

ปฏิวัติวิธีเรียนรู้ สมอง ได้ดีช่วงเวลาไหน

ถ้าเข้าใจเรื่อง"สมอง" ก็จะทำให้การเรียนรู้ดีขึ้น สมองคนสูงวัยจะเรียนรู้ได้ดีช่วงเช้า ส่วนคนหนุ่มสาวไม่ว่าเช้าหรือบ่ายก็ยังกระฉับกระเฉง นอกจากนี้สมองยังต้องพัก เมื่อเรียนรู้เรื่องใดแล้ว นอนหลับสักพัก ก็จะทำให้การเรียนรู้ดีขึ้น

งานวิจัยใหม่ๆ เกี่ยวกับสมองและวิธีการเรียนรู้ ทำให้เราได้ทราบว่า วิธีการเรียนบางอย่างที่เราทำอยู่นั้น แม้จะไม่รู้เหตุผลเบื้องหลัง แต่ก็ใช้งานได้จริงตามที่เคยเชื่อกัน แต่ในทางตรงกันข้าม วิธีการอีกหลายๆ อย่างก็ยังไม่ถูกต้อง ควรต้องมีการปรับปรุงกันยกใหญ่ หรือยกเลิกวิธีเก่าๆ เสีย

ธุรกิจโฆษณา

ความรู้ใหม่ๆ ก็เช่น สมองคนแต่ละช่วงอายุจะทำงานได้ดีที่สุดในช่วงเวลาของวันที่แตกต่างกันออกไป การศึกษาของนักวิจัยที่สถาบันวิจัยร็อตแมน (Rotman Research Institute) ประเทศแคนาดา พบว่าคนวัยทองอายุ 60–82 ปี มีสมองแบบ “บานเช้า” เพราะทำงานได้อย่างมีสมาธิ ไม่หลุดวอกแวกง่ายๆ ในช่วง 8:30–10:30 น. เมื่อเทียบกับช่วง 13:00–17:00 น.

ผลการสแกนสมองด้วยเครื่อง fMRI (การตรวจสมองและร่างกายแบบพิเศษเพื่อที่จะสร้างภาพการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองหรือในไขสันหลังในมนุษย์หรือในสัตว์)พบว่า ในช่วงบ่ายสมองของ สว. เหล่านี้จะเข้าโหมด “เฉื่อย” และทำงานไปตามโปรแกรมอัตโนมัติที่ตั้งมาแต่โรงงาน เอ้ย ตั้งแต่เกิด โดยมีการฝันกลางวัน เป็นตัวอย่างสำคัญที่พบได้บ่อย

ในทางกลับกัน พวกคนหนุ่มสาวจะยังคงแอกทีฟ แม้จะเข้าในช่วงบ่ายแล้ว

การทดลองอีกชุดหนึ่งที่ทำในมหาวิทยาลัยไฟร์บวร์ก (Freiburg University) ประเทศเยอรมนี ทดสอบเปรียบเทียบการท่องจำข้อมูลของวัยรุ่นอายุ 16–17 ปี ในช่วงเวลาบ่าย 3 โมงกับตอน 3 ทุ่ม พบว่าตอนบ่ายเวิร์คกว่ามาก แต่เรื่องน่าสนใจก็คือ หากเป็นการฝึกทักษะที่ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ตอนเย็นๆ กลับทำได้ดีกว่า

คำแนะนำของนักวิจัยคือ น่าจะใช้เวลาช่วงบ่ายเป็นตารางเรียนพวกภาษา ที่ต้องอาศัยการท่องจำมากสักหน่อย ขณะที่พอถึงช่วงเย็นๆ ให้เข้าคลาสเปียโนหรือเครื่องดนตรีอื่นๆ ก็น่าจะดี

อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ พบกันว่าการนอนหลังจากเรียนเนื้อหาหรือทักษะใหม่ๆ ช่วยให้จำได้ดีขึ้น นอกจากนี้ การนอนที่จะช่วยในแบบนี้ ก็ใช้เวลาไม่เท่ากันด้วย โดยหากเป็นการนอนหลังฝึกทักษะจะใช้เวลาแค่แป้บๆ ต่างกับการนอนหลังร่ำเรียนเนื้อหา เชื่อกันว่าเวลาที่ใช้ไปคือ เอาไป “จัดระเบียบ” ข้อมูลในสมองให้เป็นระเบียบ จะได้จดจำได้นานและดียิ่งขึ้นนั่นเอง

ถ้าการนอนช่วยจัดระเบียบความจำจริงๆ การหยุดพักระหว่างเรียนเป็นระยะๆ จะช่วยอะไรหรือเปล่า ? มีนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กสงสัย ก็เลยทดลองดูครับ เขาจับเอาอาสาสมัครมาดูภาพไปชุดใหญ่ๆ ก่อนให้พักทำสมองให้โล่ง คิดอะไรเรื่อยเปื่อยได้ตามใจชอบ

ขณะทดลองที่ว่าก็สแกนสมองไปด้วย ทำให้พบว่าในช่วงพักนั้น สมองส่วน “ฮิปโปแคมปัส” ที่เกี่ยวกับความจำทำงานเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับสมองส่วน “คอร์เทกซ์ (cortex)” ที่ทำหน้าที่คิด

8 December 2563

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

Posted By Thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 770

 

Preset Colors