02 149 5555 ถึง 60

 

รู้หรือไม่?... วันที่ 6 สิงหาคมของทุกปี คือ “วันสมาธิโลก”

รู้หรือไม่?... วันที่ 6 สิงหาคมของทุกปี คือ “วันสมาธิโลก”

เพื่อรำลึกถึงโศกนาฏกรรมทางประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ “สงครามโลกครั้งที่ 2” และเตือนใจชาวโลก หันมาสร้างสันติภาพด้วยวิถีทางที่สงบปราศจากความรุนแรง

“วันสมาธิโลก” (World Meditation Day) ถูกกำหนดขึ้นโดย “องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก” (ยพสล.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยกำหนดให้เป็นวันที่ 6 สิงหาคม ของทุกปี เนื่องจากวันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2488 เกิดเหตุการณ์อันเป็นโศกนาฏกรรมทางประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเครื่องบินของสหรัฐอเมริกา ทิ้งระเบิดปรมาณูลงที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในคราวเดียวถึงกว่า 200,000 คน เป็นความเจ็บปวดอย่างที่สุดของมวลมนุษยชาติเท่าที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์

ทำให้เหตุการณ์นี้ เป็นเครื่องเตือนใจกับชาวโลกได้เป็นอย่างดีว่า มนุษย์ควรอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข จึงได้มีการจัดตั้งองค์กรกลางขึ้นมา เพื่อรักษาสันติภาพให้แก่ประชาคมโลกนั่นคือ “องค์การสหประชาชาติ” โดยในการประชุมขององค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ได้เห็นความสำคัญของการทำสมาธิ ทั้งนี้เพราะการทำสมาธิ แม้จะเป็นธรรมปฏิบัติในพระพุทธศาสนา แต่ก็เป็นของสากลที่ศาสนิกชนอื่นก็สามารถปฏิบัติได้

ดังนั้นจึงกำหนดเอาวันที่ 6 สิงหาคม เป็นวันสมาธิโลก เพื่อกระตุ้นเตือนให้ชาวโลก หันมาสร้างสันติภาพด้วยวิถีทางที่สงบปราศจากความรุนแรง และรณรงค์ให้ชาวโลกหันมาให้ความสำคัญ กับการนั่งสมาธิ เพื่อสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในจิตใจของมวลมนุษยชาติ อันจะเป็นทางมาของการอยู่ร่วมกันในโลกใบนี้ได้อย่างผาสุกสืบไป

ปัจจุบันการแพทย์ ได้ให้ความสำคัญการบำบัดโรคทางร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี มีสุขภาวะสมบูรณ์ทั้งทางกาย จิต และสังคม ตามที่องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายไว้ โดยขณะนี้หลายประเทศทางตะวันตกได้นำสมาธิ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวพุทธไปฝึกปฏิบัติ เช่นที่สหรัฐอเมริกา พบว่า คนอเมริกันร้อยละ 26 ปฏิบัติสมาธิเป็นเทคนิคช่วยผ่อนคลาย ใช้แก้ไขปัญหาความเครียดและคลายความทุกข์ ส่วนที่แคนาดา มีผลการวิจัยในกลุ่มที่มีประกันสุขภาพในนครควิเบคฝึกสมาธิ 1,418 ราย เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ฝึกในจำนวนเท่ากัน พบว่ากลุ่มที่ฝึกสมาธิใช้จำนวนวันของการรักษาลดลงและน้อยกว่า สามารถลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ในการดูแลสุขภาพลงได้ถึงร้อยละ 14

สำหรับใคร ที่ยังไม่เคยและอยากลองสัมผัส ความสุขเล็กๆ และประโยชน์ดีๆ จากการนั่งสมาธิ วันนี้มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่จะทำให้การฝึกนั่งสมาธิของคุณเป็นเรื่องง่ายมาฝากกัน

1. จัดท่าทางให้ถูกต้อง ก็นั่งตัวตรง หัวตรง ให้ร่างกายของเราสัมพันธ์กับจิตใจ หากคุณนั่งตัวงอแล้วละก็ จิตใจของคุณก็จะล่องลอยไป ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว แต่ไม่ต้องนั่งเกร็งมากให้นั่งเหมือนเรากำลังผ่อนคลายดีที่สุด

2. เปิดตานั่งสมาธิ บางครั้งการนั่งสมาธิ ไม่จำเป็นต้องหลับตาเสมอไป คุณสามารถเปิดตาไว้ แต่ปรับระดับสายตาให้มองต่ำลง โดยกำหนดจุดให้เพ่งรวบรวมสมาธิไว้

3. กำหนดรู้ลมหายใจ เป็นการกำหนดที่ตั้งของสติ เพื่อให้จิตเราอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

4. นับลมหายใจเข้า-ออก โดยเมื่อหายใจออกก็ให้เริ่มนับหนึ่งในใจ ต่อไปก็เป็นสองสามสี่ตามลำดับ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าความคิดกำลังล่องลอย ให้กลับมาตั้งต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง เพื่อให้นำจิตกลับมาที่เดิม

5. ควบคุมความคิดไม่ให้เข้ามารบกวน ค่อยๆ ขจัดความคิดเหล่านี้ออกไป อย่าพยายามหยุดความคิดในทันที เพราะมันจะทำให้ฟุ้งซ่านและไม่สามารถกลับเข้าสู่สมาธิได้อีก

6. กำจัดอารมณ์ให้หมดสิ้น ให้จัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นนี้โดยกำหนดลมหายใจไปที่ความรู้สึกของร่าง กายที่ควบคุมอารมณ์ส่วนนั้น เพราะจะทำให้ไม่คิดถึงเรื่องราวที่ทำให้กลัว หรือโกรธอีก

7. เวลาในการนั่งสมาธิ อาจจะลองนั่งก่อนประมาณสัก 10 นาที และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าจิตเริ่มนิ่งมากขึ้น แต่อย่าบังคับให้นั่งนานเกินไปหากยังไม่พร้อม

8. สถานที่ในการนั่งสมาธิ การนั่งในห้องพระจะช่วยให้จิตใจสงบและรู้สึกเป็นสมาธิมาก หรืออาจจะวางสิ่งเล็กๆ ที่ชอบ หรือช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายไว้รอบๆ...

6 August 2563

ที่มา เดลินิวส์

Posted By Nitayaporn/thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 1167

 

Preset Colors