02 149 5555 ถึง 60

 

รู้จัก"Social addiction" โรคจดจ่อมือถือติดโซเชียลฯ

รู้จัก"Social addiction" โรคจดจ่อมือถือติดโซเชียลฯ

สัปดาห์นี้พาไปรู้จักปัญหา “Social addiction” โรคติดสื่อสังคมออนไลน์ แนะเช็ก 7 อาการเสพติดจดจ่อสมาร์ตโฟน ตีกรอบเวลาท่องโลกโซเชียลฯ ก่อนถลำลึกคุมไม่ได้เสี่ยง “วิตกกังวล-ไบโพลาร์-ซึมเศร้า”

ปฏิเสธได้ยากว่า...ในปัจจุบัน “เทคโนโลยี” ไม่ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา และหากจะพูดว่า “สมาร์ตโฟนเปรียบเสมือน...ปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์” ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร

เนื่องจากว่าทุกวันนี้สมาร์ตโฟนสามารถทำให้เราเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว รวมถึงเข้าถึงโลกของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social media) อื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นการที่เราเข้าถึงโซเชียลมีเดียได้ง่ายขึ้น และด้วยธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม ซึ่งต้องการการยอมรับจากผู้คนรอบข้าง จึงทำให้มีความเสี่ยงในการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ได้ง่ายขึ้นมากตามไปด้วย

แต่ลักษณะพฤติกรรมและความรุนแรงที่เป็นผลลัพธ์จากการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์จะเป็นอย่างไร ร.อ.หญิง พญ.กานติ์ชนิต ผลประไพ จิตแพทย์ รพ.พระรามเก้า บอกว่า เราสามารถสังเกตตัวเองว่ามีอาการของ Social addiction หรือโรคติดสื่อสังคมออนไลน์นี้ได้ จากลักษณะอาการหลายประการที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะพบปัญหาการติด Social media และอาจก่อให้เกิดภาวะของโรคซึมเศร้า โรคเครียด วิตกกังวล สมาธิสั้น และไบโพลาร์ได้

เพราะการจดจ่ออยู่กับสมาร์ตโฟน หรือท่องอยู่แต่ในโลกโซเชียลฯ เป็นเวลานานตลอดทั้งวัน แน่นอนว่าจะไปเบียดเวลาพักผ่อนให้ลดน้อยลง และที่สำคัญจะมีพฤติกรรมเกิดการฝั่งตัวเองในโลกออนไลน์มากเกินไป ส่งผลให้ตัดขาดจากผู้คนรอบข้าง

ผู้ป่วยบางราย ใช้ชีวิตในโลกสมมุติมากกว่าโลกแห่งความเป็นจริงเสียอีก” ร.อ.หญิง พญ.กานติ์ชนิต ยกตัวอย่างให้ฟัง

เราสามารถเริ่มต้นเช็กอาการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social addiction ได้ดังนี้

1.อยู่กับโซเชียลฯ มากกว่าที่ตั้งใจไว้

2.ช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้โซเชียลฯ มักจะมีอาการกระวนกระวายใจหรือหงุดหงิด

3.พยายามที่จะควบคุมการเข้าถึงโซเชียลฯ ของตัวเอง แต่ไม่สามารถควบคุมได้

4.คิดถึงโซเชียลฯ อยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม

5.ทุกครั้งที่เครียดมักจะใช้โซเชียลฯ คลายเครียด

6.โกหกหรือปิดบัง เพื่อที่จะได้เล่นโซเชียลฯ

7.โซเชียลฯ เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการทำงานหรือความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม ลักษณะอาการเหล่านี้เป็นตัวชี้บอกได้ว่า...สื่อสังคมออนไลน์ กำลังเริ่มมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ซึ่งเราสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดสื่อสังคมออนไลน์ได้ในเบื้องต้น ได้แก่ พยายามจำกัดเวลาการใช้โซเชียลฯ ให้ลดลง หรือกำหนดเวลาให้แน่ชัด

โดยสามารถใช้การตั้งเตือนก่อนที่จะครบเวลาที่กำหนด และพยายามหากิจกรรมอื่นทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น งานอดิเรกที่สนใจ การออกกำลังกาย การพบปะเพื่อนหรือญาติ การไปท่องเที่ยว การหากิจกรรมคลายความเครียด

ดังนั้นหากพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีอาการของ Social addiction แล้วไม่สามารถจัดการกับตัวเองด้วยวิธีเบื้องต้นได้ ก็ควรนัดหมายเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาปัญหา Social addiction และโรคร่วมอื่น ๆ ทางจิตเวชต่อไป.... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/757982

24 February 2563

ที่มา เดลินิวส์

Posted By Nitayaporn/thongpet/kanchana

Views, 4732

 

Preset Colors