02 149 5555 ถึง 60

 

ไม่ใช่แค่สารเคมีในสมองที่ทำให้ ซึมเศร้า

ไม่ใช่แค่สารเคมีในสมองที่ทำให้ ซึมเศร้า

จิตแพทย์เผยสาเหตุของโรคซึมเศร้า นอกจากจะเกิดจากสารเคมีในสมอง หรือเป็นเรื่องทางกรรมพันธุ์ ยังมี 5 ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า

ปัจจุบันการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของชาวโลก แต่ละปีมีคนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายราว 800,000 คน และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 2 ในกลุ่มคนอายุ 15-29 ปี สำหรับประเทศไทย กรมสุขภาพจิต เผยว่า ภาพรวมอัตราการฆ่าตัวตายของทั้งประเทศอยู่ที่ 6.32 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในปีที่แล้วมีคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จ 4,137 คน เป็นชาย 3,327 คน หรือร้อยละ 80 และเป็นหญิง 810 คน ร้อยละ 20 ซึ่งเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 4 เท่า

ล่าสุดหลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์ค้นคว้าวิจัยมากว่า 2 ทศวรรษ โดยทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของสมองถึง 131 ครั้ง ในกลุ่มอาสาสมัครกว่า 12,000 คน ก็พบเครือข่ายภายในสมอง 2 ตัวที่ทำให้คนเราคิดและลงมือจบชีวิตตัวเอง ซึ่งเครือข่ายสมอง 2 เครือข่ายนี้อยู่บริเวณสมองส่วนหน้าที่เรียกว่า "กลีบสมองส่วนหน้าที่ตรงกลางและด้านข้าง" ที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสมองส่วนนี้ทำให้เกิดความคิดในแง่ลบ และเครือข่ายที่ 2 "คอร์เท็กซ์ส่วนหน้าด้านล่างและรอยนูนกลีบหน้าผากส่วนหน้าด้านล่าง" ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจและควบคุมพฤติกรรม โดยการเปลี่ยนแปลงของสมองส่วนนี้มีผลต่อการพยายามฆ่าตัวตาย

“แต๊งค์ พงศกร” โพสต์ตัดพ้อสิ้นหวังชีวิตหนัก หลังถูกแฟนทิ้ง ป่วยโรคซึมเศร้า

เช็กความต่างตามประเภทของโรคซึมเศร้า

"โรคซึมเศร้า" ภัยเงียบคุกคามสมอง

แม้จะมีข้อมูลมากมายบอกว่าสาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจากสารเคมีในสมอง หรือเป็นเรื่องทางกรรมพันธุ์ นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอดีตผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมสุขภาพจิต สะท้อนว่า ยังมีอีก 5 ปัจจัยภายนอกที่จะทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้

1.ความสัมพันธ์ห่างไกลกันมากขึ้น วิถีชีวิตของความเป็นเมือง บ้านเดียวกันต่างมีหน้าจอของตัวเอง ทำให้คนเกิดความรู้สึกเหงา ซึ่งความเหงาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้า ขณะที่โรคซึมเศร้าก็ทำให้เกิดอาการเหงาเช่นเดียวกัน

2.ค่านิยมการทำงานที่เปลี่ยนไป ทำให้ความรู้สึกภูมิใจในตัวเองลดลง กรณีเด็กและเยาวชนมีความรู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองหายไป คนจบปริญญาโทจำนวนมากที่ไม่พร้อมไปทำงาน พร้อมกับความรู้สึกไม่ภูมิใจในตัวเอง ไม่เชื่อมั่น ตำแหน่งงานใหม่ที่เกิดขึ้นก็ได้คนไม่ตรงทักษะ เรามีคนตกงานจำนวนมาก ขณะที่ยังมีตำแหน่งงานว่างเพราะทักษะไม่ตรงกับที่ตลาดแรงงานต้องการ รวมถึงความรู้สึกเปรียบเทียบกับคนอื่นในสื่อโซเซียล ทำให้ภูมิใจในตัวเองน้อยลง

3.วิถีชีวิตห่างไกลจากธรรมชาติ การกิน การนอน การออกกำลังกายเปลี่ยนไปจากเดิม ส่งผลต่อระบบชีวภาพของร่างกาย มีงานวิจัยพบว่า จุลินทรีย์ในลำไส้สัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า การกินยาปฏิชีวนะต้านเชื้อจุลินทรีย์บ่อยๆ จะส่งผลอย่างมาก4.ขาด Mindset ในการจัดการปัญหา ไม่ถูกฝึกทักษะทางความคิดและแก้ปัญหาเชิงรุก เช่น การฝึกคิดแง่บวกบ่อยๆ ว่า ทุกปัญหาจะต้องมีทางออกในที่สุด และเมื่อเราแก้ปัญหานั้นได้แล้ว เราจะเก่งขึ้น เชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น

5.การมีปมค้างในใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งสุด เกิดขึ้นในระดับบุคคลในครอบครัว เมื่อเกิดผลกระทบจากสังคม ขณะที่ครอบครัวก็ขาดความอบอุ่น ทั้งการดุด่า ละเลย ไม่มีเวลาให้ ล้วนเป็นปมค้างใจในเด็ก และส่งผลเปราะบางทางอารมณ์ รวมถึงเด็กบางคนถูกละเมิดทางเพศ หรือที่บ้านทะเลาะกัน ความรุนแรงจะกระทบที่เด็ก ความทรงจำที่ค้างในใจจะดึงเด็กเหล่านี้เข้าสู่อาการซึมเศร้าวิธีสังเกตุคือ การมีความทรงจำทางลบในเหตุการณ์และประเด็นที่ยังไม่ถูกคลี่คลาย

24 December 2562

ที่มา โพสต์ทูเดย์

Posted By Nitayaporn/thongpet/kanchana/Maneewan

Views, 1786

 

Preset Colors