02 149 5555 ถึง 60

 

กินผิดมีสิทธิ์ป่วยเป็น''ซึมเศร้า''

กินผิดมีสิทธิ์ป่วยเป็น''ซึมเศร้า''

โรคซึมเศร้าสามารถเกิดจากอาหารที่เรากินได้ โดยเฉพาะอาหารที่ทำให้เกิดการอักเสบ หากวิเคราะห์ปัญหาอย่างลึกซึ้งอาจช่วยลดอาการได้ถึงขั้นไม่ต้องกินยา

แนวทางการรักษาคนไข้ชาวอเมริกันที่มีอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล หมอ 80-90 เปอร์เซ็นต์จะรักษาโดยจ่ายยาให้ตรงกับอาการของคนไข้ ขณะที่แรงจูงใจที่คนไข้ไปหาหมอ ก็เพราะต้องการได้รับยาเช่นเดียวกัน แต่ข้อมูลใหม่ที่ สายสืบสุขภาพ ได้สืบค้นมาจากการสนทนาระหว่าง ดร.เคน ดี เบอรี่ กับ ดร.พอล ซาลาดิโน นายแพทย์ชาวอเมริกัน กลับมองว่าการรักษาอาการทางจิตเวช ในกลุ่มซึมเศร้าวิตกกังวล อาจต้องค้นหาสาเหตุอื่น ๆ เพื่อประกอบการวินิจฉัยอาการก่อนลงมือรักษา หมอต้องพิถีพิถันเลือกวิธีการรักษามากกว่าเลือกใช้ยาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ในความคิดเห็นของนายแพทย์ทั้งสองท่านมองว่า แม้โรคซึมเศร้าวิตกกังวลจะมีข้อมูลระบุว่าเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง แต่เมื่อวินิจฉัยอย่างจริงจังจะพบว่า มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ วิธีรักษาให้ได้ผลก็คือ ต้องเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมตามลำดับของสาเหตุนั้น ๆ

อย่างเช่นคนไข้ที่ประสบเหตุการณ์ร้าย ๆ ในชีวิต เช่น หย่าร้าง ตกงาน คนรักเสียชีวิต อาจแก้ไขได้โดยวิธีบำบัดมากกว่าการกินยา เพราะคนไข้กลุ่มนี้ต้องการให้มีคนมารับฟังความทุกข์ของเขา หรือหมออาจแนะนำให้คนไข้กลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัว ชุมชน ได้นอนหลับที่เพียงพอ หรือ ไปพบนักบำบัดอาการ

ส่วนคนไข้ที่ซึมเศร้าจากอาการของโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ไฮโปธัยรอยด์ ต่อมอรีนัล ฮอร์โมนเพศ หรืออาการป่วยของลำไส้ ปัจจัยเหล่านี้จะมีผลให้เกิดเกิดอาการซึมเศร้าได้ ฉะนั้นควรเพิ่มการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือแล็บ รวมถึงคนไข้ที่รู้อาการป่วยของตัวเอง ต้องบอกหมอเพื่อนำมาวินิจฉัยโรคและกำหนดวิธีรักษา

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ การอักเสบในสมอง หรือการอักเสบในส่วนอื่นของร่างกายที่มีผลต่อสมอง อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้า ดร.พอล และ ดร.เคน บอกว่า การรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกายของคนปกติ อาจส่งผลต่อสมอง จึงไม่แปลกที่บางคนมีชีวิตที่ปกติสุข แต่อยู่ ๆ วันหนึ่งเกิดอาการซึมเศร้า ไม่อยากตื่นมาเจอโลก อาจเป็นผลมาจากการอักเสบในสมองก็เป็นได้

ดร.เคนบอกว่า เขามักจะทดสอบทางแล็บ ก่อนจะวิเคราะห์ว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ เพราะคนไข้อาจมีต้นตอมาจากปัญหาอื่นแล้วทำให้มีอาการหลักเป็นซึมเศร้าก็ได้ ขณะที่ ดร.พอลบอกว่า บางทีเขาก็เลือกตรวจลำไส้ ตรวจค่าการอักเสบก่อนวินิจฉัย และพิจารณาว่าเกิดซึมเศร้าจากปัญหาภายในหรือภายนอก ถ้าเป็นภายนอกคือมีเหตุการณ์มากระทบ ทางแก้คือครอบครัว ชุมชน การนอนหลับ หรือพบกับนักบำบัด

ส่วนซึมเศร้าจากภายในคือชีวเคมีทำงานต่อต้านร่างกายตัวเอง ถ้าเกิดอาการอักเสบในสมองส่วนใหญ่จะเริ่มมาจากอวัยวะภายนอกสมองที่เกิดปฏิกิริยาต่อภูมิคุ้มกัน อาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน แล้วส่งผลต่อร่างกายอีกทีหนึ่ง โดยมากจะเป็น ธัยรอยด์ อดรีนัล และลำไส้ อย่างหลังมีการอักเสบมากที่สุดและสำคัญคือลำไส้เป็นที่ตั้งของระบบภูมิคุ้มกันของเรา ยิ่งมีการรบกวนลำไส้โดยเฉพาะจากอาหารที่เรากินก็จะยิ่งกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลต่อการทำงานของภูมิคุ้มกัน อาจเกิดการอักเสบและการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายก็เป็นได้

ความเชื่อในการรับประทานอาหารเพื่อลดการเชื่อมต่อให้เกิดการอักเสบในสมองจึงมีมากขึ้น ในกรณีเช่นนี้ ดร.พอลแนะนำให้กินอาหารพัฒนาเป็นลำดับขั้น คือ

ขั้นแรก ให้หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ให้กินอาหารจากธรรมชาติ

ขั้นสอง เลี่ยงธัญพืช ถั่วฝัก นม และเลือกกินอาหารพาลิโอ

ขั้นสาม กินอาหารพาลิโอที่เลี่ยงถั่วเมล็ดแห้ง ผักประเภทหัวจุกเป็นแฉก มีขนบางๆเช่น พริก บวบ แตงกวา แตงโม มันฝรั่ง มะเขือยาว มะเขือเทศ

ขั้นที่สี่ กินอาหารคีโต คือกินแป้งน้อยมาก ๆ จนร่างกายใช้ไขมันเป็นพลังงานส่งผลต่อการยืดอายุเซลล์ ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

ขั้นสุดท้ายคือกินอาหารแบบคาร์นิวอร์คือกินแต่เนื้อสัตว์อย่างเดียวปรุงด้วยเกลือ

ด้าน ดร.เคน แนะนำว่า พยายามหลีกเลี่ยงการกินน้ำตาล ธัญพืช น้ำมันพืช ถั่วฝัก เมล็ดถั่ว เพราะอาจทำให้อวัยวะภายในร่างกายเกิดการอักเสบ เช่น ลำไส้ ข้อต่อ นอกจากนี้ยังต้องเลี่ยงการกินผักที่มีหัวจุกเป็นแฉก และสุดท้ายคือกินอาหารแบบคาร์นิวอร์

ข้อมูลที่ได้จากการสนทนาของนายแพทย์ทั้งสองท่านนี้ ถือว่าใหม่มากต่อการรับรู้ของคนไทยและในวงการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจทำให้เกิดข้อถกเถียง แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นข้อคิดที่ก่อประโยชน์ต่อการดูแลผู้มีอาการซึมเศร้า อย่างน้อยก็เพิ่มทางเลือกการรักษา เพราะในบางครั้งการรับประทานยาอย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบ

1 October 2562

ที่มา เดลินิวส์

Posted By Nitayaporn/Thongpet/Kanchana

Views, 1255

 

Preset Colors