02 149 5555 ถึง 60

 

อุทาหรณ์เด็กฆ่าตัวตาย คนต่างวัย กับแรงกดดันยุคสมัยเลี้ยงดูที่ต่างกัน

อุทาหรณ์เด็กฆ่าตัวตาย คนต่างวัย กับแรงกดดันยุคสมัยเลี้ยงดูที่ต่างกัน

กลุ่มสื่อจีน รายงานว่าเมื่อไม่กี่วันมานี้ ข่าวนักเรียนวิ่งออกจากรถยนต์ขณะเถียงกับแม่ และกระโดดฆ่าตัวตายสะพานในเซี่ยงไฮ้ ตาย กลายเป็นประเด็นการถกเถียงกันมากในประเทศจีน เกี่ยวกับการรับมือกับความขัดแย้ง และกดดันในชีวิตของคนแต่ละรุ่นที่อาจจะต่างกัน

ภาพจากเด็กชายอายุ 17 ปี ที่กระโดดจากสะพานสูงข้ามแม่น้ำหวงผู่ ในเซี่ยงไฮ้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้จุดประกายการอภิปรายอย่างร้อนแรงในหมู่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยการวิพากษ์วิจารณ์มาตรฐานการเลี้ยงดูของครอบครัวชาวจีนมากมาย ดึงดูดความคิดเห็นนับหมื่นบนเวยปั๋ว เว็บไซต์ทวิตเตอร์ของจีน

ก่อนที่เด็กหนุ่มจะวิ่งกระโดดสะพาน เขานั่งอยู่ที่เบาะหลังฝั่งซ้ายของรถยนต์ และแม่ของเขาซึ่งเป็นคนขับได้หยุดรถกลางสะพาน เดินออกจากที่นั่งคนขับฝั่งซ้าย มายืนพูดกับลูกชายของเธอในรถ

แต่แมื่อแม่กลับไปที่ที่นั่งคนขับ เด็กก็ออกจากรถแล้ววิ่งไปที่ราวสะพานและกระโดดออกไป แม่ของเด็กตกใจ รีบวิ่งไล่จับเขาไว้แต่คว้าขาไว้ไม่ได้

รายงานกล่าวว่า ก่อนที่เขาจะฆ่าตัวตาย แม่ได้ตำหนิลูกกชายของเธอซึ่งเป็นนักเรียนในโรงเรียนเทคนิคแห่งหนึ่งในเมือง เรื่องความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมชั้น

เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้คนต่างวัยจำนวนมาก ต่างแสดงความคิดให้ตามประสบการณ์ของตนอย่างหลากหลาย หลายคนประณามการอบรมลูกของครอบครัวจีน จากประสบการณ์ฝังใจของตัวเอง

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายหนึ่งเขียนไว้พร้อมกับความคิดเห็นของเขาที่ได้คนสนับสนุนมากกว่า 1,000 ไลค์ ว่า “ ชแม่ของเขาจะรู้สึกผิดไปตลอดชีวิตที่เหลือของเธอ การตัดสินใจของเด็กหนุ่มคนนั้น คงไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์ครั้งเดียว แต่คงเป็นฟางเส้นสุดท้าย”

อีกคนเขียนว่า “แม่ของเขาเหมือนของฉัน ฉันไม่สามารถปฏิเสธความรักของแม่ที่มีต่อฉันได้ แต่ฉันก็ไม่สามารถยอมรับวิธีการสอนของเธอ เมื่อตอนฉันยังเด็ก”

ผู้ใช้เวยปั๋ว คนที่สามพูดว่า "ฉันเข้าใจความรู้สึกของเด็กอย่างสิ้นเชิง เขาคงมีความขัดแย้งกับคนรอบข้างและปรารถนาที่จะได้รับความรู้สึกดี คำพูดให้กำลังใจจากครอบครัวของเขา แต่เขากลับถูกตำหนิและคำพูดที่ทำให้เสียความรู้สึก”

หลี่ อี้หนิว หัวหน้าตัวแทนสำนักงานปักกิ่งของมูลนิธิ Bill & Melinda Gates เขียนบน WeChat ว่า “เบื้องหลังวิดีโอสั้น ๆ นี้เราสามารถจินตนาการถึงการสะท้อนความรู้สึก ที่คนต่างเก็บอยู่ในใจมาหลาย ๆ ปี

อย่างไรก็ตาม กระแสความเห็นบนโลกออนไลน์ไม่ได้เป็นไปในทางเดียว เพราะบางคนกล่าวว่า เด็กวันนี้ไม่ค่อยแกร่งในความรู้สึกภายใน

“เด็ก ๆ ทุกวันนี้เริ่มอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ครูไม่สามารถพูดตำหนิพวกเขา และที่บ้านพ่อแม่ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์พวกเขา อย่างนี้พวกเขาจะทำอะไรได้เมื่อโตขึ้น” ผู้ใช้เวยปั๋วอีกคนเขียนว่า “ฉันคิดว่าถ้าคน ๆ หนึ่งไม่สามารถเรียนรู้ เพาะบ่มความสามารถหรือภูมิคุ้มกันในการจัดการกับแรงกดดัน หรือความเสียใจต่างๆ บ้าง เมื่อเขายังเด็ก เขาจะเป็นคนเผชิญปัญหาไม่เป็นหลังจากที่เขาโตเป็นผู้ใหญ่”

24 April 2562

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By ์์Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 500

 

Preset Colors