02 149 5555 ถึง 60

 

กรมสุขภาพจิตคาดการณ์ เด็กดาวน์เกิดใหม่ลดลง

กรมสุขภาพจิตคาดการณ์ เด็กดาวน์เกิดใหม่ลดลง

กรมสุขภาพจิต เร่งรณรงค์ส่งเสริมศักยภาพเด็กกลุ่มอาการดาวน์ “ลดเหลื่อมล้ำ-สร้างความทัดเทียม” จัดงบ 100 ล้าน เปิดบริการเจาะเลือดหญิงตั้งครรภ์ 35 ปีขึ้นไปครอบคลุมทุกสิทธิ์

สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต จัดงาน “ดาวน์ดวงนี้ที่สร้างได้” รณรงค์เนื่องในวันดาวน์ซินโดรมโลก ประจำปี 2562 ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มี.ค. ภายใต้แคมเปญ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เพื่อส่งเสริมการรับรู้ และเปิดโอกาสสร้างความเท่าเทียมกันในทุกด้านของสังคม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นเด็กกลุ่มนี้พร้อมที่จะแสดงศักยภาพโชว์ความสามารถที่ทัดเทียม หรืออาจจะมากกว่าคนทั่วไป ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์และยอมรับในความสามารถของพวกเขา

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมมาแต่กำเนิด ส่งผลต่อการพัฒนาของเด็กตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ต่อเนื่องไปจนหลังคลอดและตลอดชีวิต เกิดขึ้นกับทารกประมาณ 1 ใน 800 คน เด็กจะบกพร่องในการเรียนรู้ การใช้ภาษาและการเคลื่อนไหวของร่างกายตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงมาก ประเทศไทยในช่วงปี 5 ปีหลัง มีแนวโน้มพบทารกดาวน์เกิดใหม่ลดลง ประมาณปีละ 500 คน หรือวันละ 1-2 คน ทั้งนี้รัฐบาลทุ่มงบ 100 ล้านบาท เปิดให้บริการตรวจคัดกรองเจาะเลือดตรวจในกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไป ครอบคลุมทุกสิทธิ์ทั่วประเทศ ช่วยให้หญิงตั้งครรภ์เข้าถึงข้อมูลเพื่อตัดสินใจและเตรียมความพร้อมเพิ่มขึ้น ทำให้พ่อแม่ทราบภาวะของลูกและเตรียมพร้อมรองรับ

พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล เปิดเผยว่า แม้เด็กที่เกิดมาจะมีพัฒนาการล่าช้า ไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50 มีปัญหาสุขภาพมากกว่าเด็กปกติ แต่คุณค่าต่อสังคมไม่ได้น้อยลงเลย เนื่องจากเด็กทุกคนมีศักยภาพพัฒนาไปจนถึงการดูแลช่วยเหลือตนเอง ได้รับการยอมรับและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม อีกทั้งเด็กกลุ่มอาการดาวน์เป็นเด็กที่มีความน่ารัก อารมณ์ดีและเป็นมิตร ซึ่งจำนวนมากยังขาดโอกาสในการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

จากข้อมูลการฟื้นฟูสมรรถภาพปี 2561 ทั่วประเทศ มีจำนวนผู้ใช้สิทธิ Early intervention เพียง 22,681 คน 49,218 ครั้ง ข้อมูลจากระบบลงทะเบียนเด็กพิการแต่กำเนิดพบว่า เด็กในเขต กทม. เพียงร้อยละ 10-15 ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ทั้งประเทศ ส่วนอีก 85% อยู่นอกเขต กทม. สะท้อนให้เห็นว่าการส่งเสริมสุขภาพและกระตุ้นพัฒนาการในเด็กกลุ่มนี้ยังขาดความครอบคลุม ระบบสาธารณสุขต้องรองรับจุดนี้ ทางสถาบันราชานุกูลจึงได้จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มอาการดาวน์ นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กขาดโอกาสเข้ารับการศึกษาทั้งในโรงเรียนการศึกษาพิเศษหรือโรงเรียนร่วม อย่างไรก็ตามสามารถเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้เรื่องดาวน์ซินโดรมได้ที่

21 March 2562

ที่มา เดลินิวส์

Posted By Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 937

 

Preset Colors