02 149 5555 ถึง 60

 

ฆ่าตัวตาย 11 รายต่อวัน!! วัยรุ่น-วัยเรียนสุดอันตราย เสี่ยงความเครียดระเบิด

ฆ่าตัวตาย 11 รายต่อวัน!! วัยรุ่น-วัยเรียนสุดอันตราย เสี่ยงความเครียดระเบิด

สังคมกดดัน!เด็กมัธยมเครียดเขียนจดหมายอำลาแม้พบตัวว่าปลอดภัยแต่ไม่ได้หมายความว่าปัญหาชีวิตวัยรุ่นจะหมดไปไม่แค่นี้ยังมีกรณีสะท้อนความเครียดของวัยรุ่นอีกมากทั้งนี้สถิติพบว่าคนไทยฆ่าตัวตายประมาณ 340คนต่อเดือน ด้านโฆษกกรมสุขภาพจิตชี้ความกดดันมักมาจากสภาพแวดล้อมแนะผู้ปกครองควรรับฟังปัญหาและสังเกตความเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น

เด็กคิดสั้น!สะท้อนวัยแห่งความเครียด

จากกรณีผู้ใช้ทวิตเตอร์“@pakboongntd”ได้ทวีตตามหาเพื่อนหลังหายตัวออกไปจากบ้านและระบุว่าเป็นห่วงเพื่อนมากเพราะไม่ได้มาโรงเรียนสักพักแล้วโดยเด็กหนุ่มมัธยม น้องเอ-ภูมิชญณัฐมิตรธีรโรจน์ อายุ 17ได้โพสต์เว็บไซต์พันทิปโดยเขียนจดหมายอำลาด้วยปัญหาในชีวิตหลายอย่างทั้งมองว่าตัวเองจะเป็นภาระของพ่อแม่ที่ต้องคอยดูแลส่งเสียหรือการที่โรงเรียนไม่สนับสนุนความสามารถในเรื่องศิลปะที่ตัวเองชอบจึงเป็นเหตุผลที่ไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อ

"สำหรับข้าพเจ้าแล้วความตายคือที่สุดของความเมตตาจากธรรมชาติเป็นผู้ปลดปล่อยจากกรงจองจำเป็นความสงบเงียบในยามวิกาลที่ข้าพเจ้าดื่มด่ำเป็นทางออกของปลายอุโมงค์ที่ผู้สัญจรไม่อาจหลีกเลี่ยง”

นอกจากความอึดอัดของปัญหาในครอบครัวแล้วก็ยังมีเรื่องที่ไม่สบายใจความสิ้นหวังจากโรงเรียนที่ไม่สามารถสนับสนุนความชอบในด้านศิลปะของเขาได้ทั้งนี้การเลือกจุดจบของชีวิตเขายืนยันว่าการตัดสินใจนี้ไม่ใช่ความผิดของใคร

ทั้งนี้ผู้โพสต์ยังกล่าวว่าสาเหตุแรกที่อยากจบชีวิตเพราะรู้สึกว่าตัวเองนั้นเป็นภาระให้กับพ่อและแม่ซึ่งทั้งคู่ต่างก็มีปัญหากันอยู่แล้วโดยที่พ่อของผู้โพสต์ต้องการที่จะไปบวชตลอดชีวิตส่วนแม่ก็ต้องการที่จะไปอยู่ต่างประเทศความอึดอัดที่เกิดขึ้นกับเขาตลอดระยะเวลาหลายปีได้สร้างความเจ็บปวดในใจเช่นกัน

หลังจากที่มีการโพสต์ตามหาตัวของหนุ่มคนนี้ทางด้านนักแสดงสาว ป๊อก-ปิยะธิดามิตรธีรโรจน์ ก็โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่าน้องเอเป็นหลานของตั๊ก-นภัสรัญชน์มิตรธีรโรจน์ สามีของตนโดยล่าสุดหลานชายของทั้งคู่ก็ได้กลับมาที่บ้านอย่างปลอดภัยแล้วเรียบร้อย

ทว่ากรณีปัญหาการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วไม่ว่าจะเป็น กรณีเด็กม.1ใช้เชือกแขวนตัวเองจนเสียชีวิตโดยเหลือสอบแค่วันสุดท้ายก็ย้ายไปอยู่กับพ่อและแม่คาดว่าลูกจะเป็นโรคซึมเศร้าและอีกกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นคือนักเรียนหญิงอายุ 15ปี ยิงตัวตายหลังถูกพ่อแม่ดุเรื่องติดโซเชียลฯ

ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เด็กเกิดความเสี่ยงคิดฆ่าตัวตายต่างมีหลายเหตุผลที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตทั้งปัญหาในด้านการเรียนครอบครัว ความรัก เพื่อน ฯลฯจนเกิดเป็นเรื่องที่มีผลทางด้านจิตใจต่อวัยรุ่นจำนวนมาก เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับความเครียดของเด็กวัยรุ่นในยุคปัจจุบันทีมข่าว 1.ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น โดยเป็นเหตุการณ์ที่เข้ามาในช่วงสอบเช่น การสอบเข้าที่เรียนใหม่ๆการคิดเรื่องการเรียนต่อ

มหาวิทยาลัย

2.ปัจจัยที่มีอยู่เดิม เป็นปัจจัยเบื้องหลังตัวเองซึ่งแต่ละคนมีความคาดหวังที่ไม่เหมือนกันบางคนอยู่ในช่วงสอบแต่ไม่ได้คาดหวังหรือกดดันตัวเองมากนักก็อาจจะไม่เกิดปัญหาในขณะเดียวกันบางคนที่มีความคาดหวังกับตัวเองสูงรู้สึกว่าตนเองผิดพลาดไม่ได้ความเครียดก็เกิดได้ง่ายมากขึ้นบุคลิกภาพตัวเองเดิมอาจเป็นคนที่เครียดง่ายอยู่แล้วและไม่ค่อยผ่อนคลายเมื่อมีความเครียดเข้ามาจึงมีโอกาสที่จะไม่สามารถปรับตัวได้

ขณะเดียวกันสัญญาณเตือนของคนที่เป็นโรคซึมเศร้าก็มีตั้งแต่เรื่องอารมณ์เบื่อหน่ายท้อแท้มากขึ้นโดยจะมีอาการเป็นตลอดเกือบทั้งวันติดต่อกันนานเกิน 2สัปดาห์ มีความคิดที่ช้าลงเสียสมาธิ มีปัญหาเรื่องการกินการนอน หรือความเบื่อหน่ายอยากตายไม่อยากมีชีวิตอยู่โดยที่ทั้งหมดทำให้การสูญเสียความสามารถในการทำงานการเข้าสังคมอาการเหล่านี้จึงสามารถเป็นสัญญาณบอกได้ว่าเราอาจจะเข้าขั้นการป่วยมีปัญหาด้านสุขภาพจิตได้และในช่วง 10ปีที่ผ่านมามีอัตราคนไทยฆ่าตัวตายประมาณเกือบ40,000 รายตัวเลขการฆ่าตัวตายอยู่ที่ประมาณ340 คนต่อเดือนซึ่งจำนวนนี้เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 4 เท่า

สภาพแวดล้อมกดดันให้เกิด “โรคซึมเศร้า”

โฆษกกรมสุขภาพจิตยังชี้แจงว่าการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความกดดันบีบบังคับ เช่นมีฐานะทางบ้านไม่ดีหรือมีความคาดหวังสูงจากคนรอบตัวโอกาสที่เด็กจะเกิดความเครียดเมื่อมีเหตุการณ์เข้ามาก็สูงขึ้นเช่นเดียวกันปัจจัยอื่นๆ ในวัยรุ่นยังมีปัญหาอื่นๆ อีกเช่นเรื่องเพื่อนไม่ใช่เรื่องเรียนอย่างเดียววัยรุ่นยังมีความเครียดความสับสนต่างๆหรือการจะพัฒนาเป็นผู้ใหญ่แบบไหนวัยรุ่นช่วงนี้ยังมีความสับสนอยู่

“สิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงบริการก็ยังคงเป็นเรื่องเดิมๆเช่น การมองว่าการพบจิตแพทย์เป็นเรื่องที่แปลกเรื่องที่ประหลาดกลัวถูกมองว่าเป็นคนบ้าคนเสียสติเลยมาพบจิตแพทย์แต่ปัจจุบันนี้ผมเชื่อว่าวัยรุ่นใหม่ๆเริ่มเห็นแล้วว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมาคุยกับจิตแพทย์แต่คนรอบข้างผู้ใหญ่เองที่อยู่ในครอบครัวก็ควรจะปรับความคิดให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปการคุยกับจิตแพทย์ก็เหมือนคุยกับที่ปรึกษาคนหนึ่ง

การไปวิพากษ์วิจารณ์การฆ่าตัวตายของคนที่เป็นโรคซึมเศร้าต้องอย่าลืมว่าปัญหาของแต่ละคนแม้ว่าจะคล้ายกันแต่มันไม่มีทางที่จะเหมือนกัน100เปอร์เซ็นต์นะครับเราคิดว่าเราอาจจะเข้าใจคนๆหนึ่งแล้วเราเลยพิมพ์สิ่งที่พูดไปทั้งที่จริงเราอาจจะไม่เข้าใจเขาเลยก็ได้เพราะเราไม่รู้ว่าเบื้องหลังเข้ามีเรื่องอื่นๆอะไรอีกบ้างเพราะฉะนั้นการที่จะให้ความช่วยเหลือคนที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตายควรเน้นที่การรับฟังมากกว่าเน้นที่การสอนหรือการต่อว่า

อีกประเด็นหนึ่งที่ผมอยากพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับกระทู้พันทิปนี้อยากแนะนำว่าบางทีเนื้อหาในกระทู้ที่อยู่ตามโลกโซเชียลฯต่างๆบางทีมันค่อนข้างสะเทือนใจมันคือความทุกข์ของคนๆ หนึ่งมันเป็นความเศร้าของคนๆหนึ่งเพราะฉะนั้นถ้าเกิดเรารู้สึกว่าตัวเราเองก็มีความเครียดอยู่หรือไม่พร้อมที่จะรับเรื่องความเศร้าเพิ่มเติมให้พยายามหลีกเลี่ยงนะครับให้คนที่เขาพร้อมในขณะนั้นสภาพจิตใจดีในขณะนั้นเป็นคนให้ความช่วยเหลือจะดีที่สุด”

หากเด็กอายุต่ำกว่า18 ปีต้องการพบแพทย์ตอนนี้ก็จะมีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นตามโรงพยาบาลในเครือของกรมสุขภาพจิตเองเช่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์หรือโรงพยาบาลศรีธัญญาเองก็มีแผนกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

และสถาบันสมเด็จเจ้าพระยา

“ปัจจุบันมีเด็กและวัยรุ่นหลายคนที่มาเองซึ่งตรงนี้สามารถทำได้และยังไงก็ตามมาปรึกษาก่อนแล้วค่อยมาดูกันว่าสาเหตุที่เขาไม่สามารถพาคุณพ่อคุณแม่มาได้คืออะไรถ้าเกิดเป็นสาเหตุที่เราสามารถแก้ไขปัญหาได้ทางกรมสุขภาพจิตก็จะช่วยแก้ไขตรงนี้”

ไม่เพียงเท่านี้หากเด็กที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะการเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิมผู้ปกครองจะต้องให้ความสำคัญกับเด็กวัยรุ่นให้ชัดเจนพร้อมเรียนรู้ให้กำลังใจกับปัญหาของลูกหลานดังนี้

1.สร้างบรรยากาศที่มีความเข้าอกเข้าใจกันมีการรับฟังกันในครอบครัวเพราะวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะพูดคุยกับพ่อแม่น้อยลงพูดคุยกับเพื่อนมากขึ้นบางครั้งอาจจะไม่ได้สื่อสารกันหรือบางทีเกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างพ่อแม่กับลูกวัยรุ่นซึ่งพยายามจะเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

2.สังเกตความเปลี่ยนแปลงของลูกพูดคุยรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นการปรับตัวกับโรงเรียนกับเพื่อนไม่ได้ต้องรับฟังก่อนอย่าเพิ่งด่วนตัดสินหรือด่วนต่อว่า

3.ลดความคาดหวัง เช่นเป้าหมายสำคัญในการให้ลูกใช้ชีวิตอยู่ได้ในอนาคตคือเขาต้องมีความสุขเด็กอาจจะประสบความสำเร็จแต่ไม่มากแต่เขาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเป็นคนที่ดีของสังคมรวมถึงสอนให้เขารู้จักดูความคาดหวังในตัวเองให้เขารู้สึกชื่นชมไปกับความพยายามที่เขาได้ทำตัวพ่อแม่เองก็ต้องชื่นชมด้วย

“ช่วงนี้มีข่าวการฆ่าตัวตายเยอะยังไงก็ตามใช้โอกาสนี้ให้เป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวทั้งช่วยกันหาความรู้เกี่ยวกับด้านสุขภาพจิตให้มากขึ้นความช่วยเหลือที่มีการเข้าถึงซึ่งปัจจุบันมีการประชาสัมพันธ์เรื่องการช่วยเหลือมากมายควรเรียนรู้การช่วยเหลือให้มากขึ้นถ้าเกิดตัวเองสภาพจิตใจดีแล้วก็ควรพยายามยื่นความช่วยเหลือให้คนรอบข้างมากขึ้นคนรอบข้างที่เขามีปัญหาไม่เห็นทางออกให้เราช่วยเป็นหนึ่งในทางออกของเขานอกจากนั้นก็ยังมีกรมสุขภาพจิตที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือกับคนที่รู้สึกว่าตอนนี้ไม่มีทางออกซึ่งสามารถติดต่อมาได้ทางสายด่วนกรมสุขภาพจิต1323”

19 March 2562

ที่มา ผู้จัดการ ออนไลน์

Posted By ์์Nitayaporn/Bungon/Thongpet/Kanchana

Views, 6928

 

Preset Colors